ข่าว

ทำความรู้จักกับ "การุณยฆาต" การจากไปอย่างไม่ต้องทรมาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก การุณยฆาต การจากไปอย่างไม่ทรมาน เมื่อถึงจุดที่การรักษาไปต่อไม่ได้

การุณยฆาต การตัดสินใจจบชีวิตตัวเองให้หลุดพ้นความทรมาน เมื่อโรคที่เป็นอยู่ ไม่สามารถรักษาให้หาย ต้องเลือกระหว่างอยู่ต่อหรือจากไป กับข้อถกเถียงเรื่องศีลธรรม หลายประเทศยังไม่ยอมรับ

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2562 เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ระบุใจความว่า

การุณยฆาตมีรากศัพท์มาจากคำว่า euthanasia ความหมายโดยรวมคือ ความตายที่ดี หรือความตายที่สงบ โดยเป้าหมายคือการทำให้ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานแสนสาหัส หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถตัดสินใจจากไปอย่างสงบอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

การการุณยฆาต ต่างจากการฆ่าตัวตาย คือ การฆ่าตัวตายนั้น บ่อยครั้งเกิดจากอาการป่วยโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง ทำให้สารสื่อประสาทในสมองแปรปรวนจนคิดฆ่าตัวตายทั้งที่ความจริงไม่ได้อยากตาย ส่วนการการุณยฆาต เป็นการตัดสินใจของคนไข้อย่างมีสติ ต้องมีการประเมินอาการของคนไข้จากทั้งแพทย์และจิตแพทย์ ว่าไม่มีทางรักษา หรือ ไม่ควรยื้อคนไข้ให้รับความทุกข์ทรมานให้ยาวนานไปกว่านี้อีกต่อไป

 

 

ปัจจุบัน การการุณยฆาต มี 2 แบบ คือ Active Euthanasia คือ การเตรียมเครื่องมือฉีดยาให้คนไข้จากไปอย่างสงบด้วยตัวเอง หรืออาจจะมีคนช่วยเหลือ ซึ่งยังไม่เป็นที่ถูกกฎหมายในหลายประเทศ กับอีกแบบคือ Passive Euthanasia คือ การหยุดรักษาตามความต้องการของญาติหรือผู้ป่วยเอง และปล่อยให้คนไข้ค่อย ๆ จากไป

สำหรับประเด็นเรื่อง การุณยฆาต เป็นที่ถกเถียงในสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยในยุคปัจุบัน มีการผลักดันประเด็นนี้ให้ถูกกฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐวอชิงตัน โอเรกอน โคโรลาโด ฮาวาย เวอร์มอนท์ และวอชิงตัน ดีซี โดยมีเหตุผลสนับสนุนการุณยฆาต คือ ทุกคนต้องมีทางเลือกที่จะตัดสินใจชะตากรรมในชีวิตของตัวเอง, การช่วยเหลือด้วยการ การุณยฆาต เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยพนักหลุดพ้นจากทุกข์ได้ เป็นต้น นอกจากนี้หนึ่งใน 5 เหตุผลหลักของผู้ที่เลือกทำ การุณยฆาต คือการไม่อยากอยู่อย่างสูญเสียศักดิ์ศรี และกลัวที่จะต้องภาระของผู้อื่น

 

ทว่า การกระทำการุณยฆาตนั้น ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม จริยธรรม โดยเว็บไซต์บีบีซี ได้เผยแง่มุมที่น่าสนใจของประเด็นนี้ ด้วยการตั้งคำถามว่า เป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ ที่จะช่วยจบชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องทรมานหนักจากความเจ็บปวด, ในสถานการณ์ใด ที่เราควรกระทำการการุณยฆาต และมีความแตกต่างกันในด้านศีลธรรมหรือไม่ ระหว่างการลงมือช่วยให้ตาย กับปล่อยให้คนไข้ค่อย ๆ ตายไปเอง ?

โดยบางแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับการ การุณยฆาต แม้จะถูกกฎหมายในบางประเทศ เพราะมองว่าเป็นความทารุณ และการการุณยฆาต อาจใช้เป็นข้ออ้างในการจงใจฆาตกรรมได้ ขณะที่ ขณะที่ในอีกแง่มุมก็อาจจะมองว่าเป็นการฆ่าโดยเมตตาเพื่อให้อีกฝ่ายหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ และบางครั้งอาจถือเป็นการบรรเทาความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน

ปัจจุบันประเทศที่อนุญาตให้ การุณยฆาต ถูกกฎหมาย กระกอบด้วย แคนาดา, สหรัฐฯ (ในบางรัฐ), โคลอมเบีย, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ลักแซมเบิร์ก, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย (ในบางรัฐ) และญี่ปุ่น

 

คลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม

 

อ่านข่าว : บันทึกของคุณก๊อป ผู้เลือกจบชีวิตตัวเองด้วยวิธีการุณยฆาต

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Drama-addict , BBC , Wikipedia , KAPOOK

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ