ข่าว

"ติดเชื้อโควิด" เจอ 6 อาการ ผิดปกติใหม่ อย่างมีนัยยะสำคัญ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ติดเชื้อโควิด" หมอธีระ เปิดผลวิจัย เจอ 6 อาการโควิด ผิดปกติใหม่ อย่างมีนัยยะสำคัญ ตอกย้ำ โควิด ไม่กระจอก เสี่ยงโรคเรื้อรัง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ นับไม่ถ้วน จนล่าสุด การระบาดของโควิดในประเทศไทย กว่า 70% เป็นโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 นอกจากโควิดที่มีการแตกแขนงสายพันธุ์แล้ว อาการโควิด ยังเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งผลวิจัยล่าสุด พบอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด อย่างมีนัยยะสำคัญ

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ "หมอธีระ" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และกลุ่มที่ไม่ได้ติดเชื้อ

 

 

โดยศึกษาในผู้ติดเชื้อโควิด จำนวน 17,487 คนจาก 122 โรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา จนถึง 14 เมษายน 2565 สาระสำคัญคือ พบว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น จะเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติหลังจากติดเชื้อแตกต่างจากไวรัสทางเดินหายใจอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่

 

  1. ใจสั่น (palpitation)
  2. ผมร่วง (hair loss)
  3. อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า (fatique)
  4. เจ็บหน้าอก (chest pain)
  5. หอบเหนื่อย (dyspnea)
  6. และปวดข้อ (joint pain)

 

หมอธีระ ระบุว่า ผลการศึกษานี้ สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เห็นในปัจจุบันทางคลินิก ที่มีผู้ป่วย Long COVID จำนวนมาก ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติต่าง ๆ ดังกล่าว และตอกย้ำว่า โควิด-19 นั้นไม่กระจอก ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อแต่ละครั้ง เสี่ยงต่อป่วยรุนแรง เสียชีวิต และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติเรื้อรังอย่าง Long COVID ได้

ผลวิจัยโควิด

หมอธีระย้ำว่า ควรป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อโควิด หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด รวมทั้งไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนดใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ที่สำคัญมากคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

 

ขณะที่สถานการณ์โควิดประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 405,965 คน ตายเพิ่ม 922 คน รวมแล้วติดไป 660,009,316 คน เสียชีวิตรวม 6,679,574 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และฮ่องกง เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.59 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 81.67

ผลวิจัยโควิด

BF.7 ระบาดในอินเดีย

 

หากจำกันได้ เราทราบกันชัดเจนว่า การระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ที่กำลังหนักหน่วงอยู่นั้นเกิดจากไวรัส Omicron สายพันธุ์ย่อย BF.7 ล่าสุด BF.7 ได้ระบาดในอินเดียแล้วเช่นกัน ทำให้มีการติดเชื้อมากขึ้น หากดูจากเรื่องสมรรถนะของไวรัส จะพบว่าดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่า BA.4/BA.5 อยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก

 

ในขณะที่สายพันธุ์ย่อย BQ.1.x ที่ระบาดมากในยุโรปและอเมริกา และ XBB ในเอเชียนั้นจะดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่า จึงต้องระมัดระวังให้ดี

 

อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในอเมริกา

 

ล่าสุดทาง Wall Street Journal ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับอายุขัยเฉลี่ยของประชากรในอเมริกา สาระสำคัญคือ อายุขัยของประชากรในปี 2021 นั้นลดลงไปกว่า 2020 ถึงราว 20% นอกจากนี้ อายุขัยเฉลี่ยนั้นอยู่ในระดับน้อยที่สุดในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมา)

 

สาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคโควิด-19 สูงเป็นอันดับ 3 โดยพบว่า โควิด-19 ทำให้มีอัตราเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน มากกว่าโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บ เบาหวาน โรคปอด และโรคไต

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ