ข่าว

ผนึกกำลัง"ปฏิรูปสาธารณสุข " จากโควิด กทม. เข้าถึงบริการสุขภาพยากกว่าชนบท

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลายภาคส่วนจับมือ ปฏิรูปสาธารณสุข พบเขตชนบเข้าถึงง่ายขึ้น ขณะที่ กทม. เร่งพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิจากชุมชนให้เข้มแข็ง ก่อนส่งต่อโรงพยาบาล นำร่อง2พื้นที่ รักษาแบบแซนด์บ็อก ส.ค.นี้

เมื่อวันที่ 4 ส.ค. ที่โรงแรมเดอะสุโกศล เขตราชเทวี มีการร่วมงานแถลงข่าวก้าวต่อไปของการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข Big Rock1: Health security โดยมีหลายภาคส่วนเข้าร่วมงาน ทั้ง กระทรวงสาธารณสุข , การกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกรุงเทพมหานคร 


โดยนพ.อุดม คชินทร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กล่าวว่า  การจัดประชุมปรึกษาหารือฯ ในครั้งนี้ ยังคงกำหนดประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การปฏิรูปและสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร 2. การพัฒนา Digital Health/Health Information Systems 3. การสร้างความเข้มแข็งของ NRA (National Regulatory Authority) โดยเฉพาะการ  จัดให้มีรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรแบบใหม่
 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวว่า  ช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ประเทศไทยได้พลิกวิกฤตและความท้าทายเป็นโอกาสในด้านต่างๆ สร้างความร่วมมือกันจนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทั่วโลกได้ชื่นชมการบริหารสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินในการรับมือโควิดของไทยว่า เกิดจากความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน อสม. ภาคส่วนต่างๆ ที่ผ่านมาเขตชนบทมักเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข แต่ปัญหาขณะนี้เปลี่ยนไป เนื่องจากพื้นที่ชนบทมีระบบ อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชน ทำงานเชื่อมโยงกัน ต่างจากชุมชนเมือง เช่น ในกรุงเทพมหานคร ที่ต้องพัฒนารูปแบบใหม่ของบริการสุขภาพปฐมภูมิให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ซึ่งมีข้อเสนอจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขในการพัฒนาการแพทย์ปฐมภูมิ เช่น การพัฒนากลุ่มอาสาสมัครในกรุงเทพมหานคร, การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพมาช่วยเพิ่มศักยภาพการบริการให้กับประชาชน การนำนวัตกรรม เช่น ระบบ Telemedicine แอปพลิเคชัน Smart อสม. ฯลฯ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา โดยกระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุนตามที่กรุงเทพมหานครร้องขอ 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ขณะที่นายชัชชาติ กล่าวว่า ในส่วนของ กทม. ไม่มีเวลาไหนที่เหมาะกับเวลานี้ เพราะมีบทเรียนที่สำคัญเรื่องโควิด โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.ที่หนักมากกว่า ดังนั้นเรื่องสำคัญคือการบริหารด้านข้อมูล การจัดสรรทรัพยากรยังมีปัญหาในการร่วมมือกัน อย่างกทม.มีเตียงอยู่กว่า40% จากเตียงทั้งหมด และกทม.ไม่มีหน่วยหน้า มีศูนย์สาธารณสุขอยู่69แห่ง แต่ก็ยังรับไม่ไหว เพราะทุกอย่างไหลไป โรงพยาบาลหลักหมด เพราะไม่ไว้ใจศูนย์สาธารณสุข ทุกคนไม่ไว้ใจปฐมภูมิ ดังนั้นจึงเป็นการแก้ไขที่สำคัญ ที่จะทำให้ปฐมภูมิมีความเข้มแข็ง และจะมีการนำเทคโนโลยี ระบบเทเลเมด ลงมาถึงชุมชน เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ไปถึงหมอที่โรงพยาบาลโดยหมอไม่ต้องลงไปถึงชุมชน และกรุงเทพมี อสส.ที่มีอัตราส่วนที่น้อยมา จึงต้องมี อสท.หรืออาสาสมัครเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ โดย มองว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของคนได้อย่างชัดเจน

 

นายชัชชาติ กล่าวเติมเติมว่า การปฏิรูประบบสาธารณสุขนั้น ในนโยบาย 216 ข้อ เรื่องสาธารณสุข มีความสอดคล้อง กับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข โดยการสร้างระบบปฐมภูมิให้ดี และให้ทุกคนสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดนักการแพทย์กรุงเทพมหานครได้ทุกคน รวมถึงคนไร้สัญชาติที่ไม่สามารถเบิกสิทธิค่ารักษาในระบบสาธารณสุขได้ แต่กรุงเทพมหานครกำลังพัฒนา ระบบที่จะให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 และขณะนี้กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการทำแซนด์บ็อกในการรักษา 2 ที่คือ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ที่จะมีกำหนดเปิด 26 ส.ค.นี้  และ ดุสิตโมเดล ของเขตดุสิต และหากทุกอย่างดำเนินการไปอย่างเต็มที่ เชื่อว่าระบบการคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้แยกผู้ป่วยออกจากชุมชนมารักษาได้โดยเฉพาะ

 

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

 

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่   

(https://awards.komchadluek.net/#)

ผนึกกำลัง"ปฏิรูปสาธารณสุข " จากโควิด กทม. เข้าถึงบริการสุขภาพยากกว่าชนบท

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ