ข่าว

"ภาคีสีรุ้ง" เรียกร้องสภา พิจารณาพ.ร.บ. "สมรสเท่าเทียม" แทน พ.ร.บ.คู่ชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พ.ร.บ.คู่ชีวิต" ไม่ตอบโจทย์ กลุ่ม "ภาคีสีรุ้ง" เรียกร้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลักดัน พ.ร.บ. "สมรสเท่าเทียม" คืนสิทธิ คนข้ามเพศ

แทนคุณ จิตต์อิสระ คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร  รับหนังสือจากภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ พ.ศ. .... หรือ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม นำโดย พรหมศร วีระธรรมจารี

"ภาคีสีรุ้ง" เรียกร้องสภา พิจารณาพ.ร.บ. "สมรสเท่าเทียม" แทน พ.ร.บ.คู่ชีวิต

พรหมศร กล่าวว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต ทอดทิ้งให้เราเป็นพลเมืองชั้น 2 สิ่งที่เราเรียกร้องไม่ได้เกินกว่าปกติเป็นการเรียกร้องในสิ่งที่มนุษย์คนหนึ่งควรที่จะได้รับ วันนี้ได้แต่หวังว่าทุกพรรคการเมือง และ ส.ส.ทุกท่าน ตลอดจนประธานรัฐสภา จะมองเห็นและยกระดับความเป็นมนุษย์ให้พวกเรา อย่าถือว่าการให้ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเป็นของขวัญ แต่จงถือว่าการให้พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมคือการคืนสิทธิ และเติมสิทธิความคนให้กับพวกเราอย่างสมบูรณ์แบบ

การเรียกร้องให้สภาผ่านกฏหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่สิ่งที่เกินกว่าความเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ควรจะได้รับ ซึ่งกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่ใช่กลุ่มที่แตกต่างจากบุคคลอื่น มีทั้งความคิด จิตใจ ที่ต่างจากผู้ใด ซึ่งหากประชาชนได้รับการดูแลจากกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเป็นเครื่องยืนยันถึงสิทธิความเป็นมนุษย์ได้ ซึ่งในต่างประเทศ แม้ยังมีอคติเรื่องเพศอยู่แต่ก็มีการพิจารณาออกกฎหมายเข้ามารองรับความหลากหลายทางเพศให้สามารถอยู่ได้โดยปกติ

 

ความสำคัญของการสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เพียงการให้คน 2 คนรักกัน แต่หมายถึงการดำรงอยู่ได้โดยปกติสุข โดยส่วนตัวได้อ่านรายละเอียดในร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตของรัฐบาลมาแล้วหลายรอบพบว่ามีหลายอย่างที่ขาดหายไป เช่น การเซ็นยินยอม หรือ การจัดงานศพที่ไม่สามารถจัดงานให้ผู้ที่อยู่กินกันมา ทั้งนี้หากประเทศไทยมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะไม่ใช่เพียงการเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQ แต่เป็นสิ่งยืนยันว่าประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มรูปแบบ ถึงแม้จะไม่มั่นใจว่าวันนี้จะได้รับข่าวดี หรือข่าวร้ายกลับบ้านไป แต่สิ่งสำคัญวันนี้คือมาเพื่อยึดประเด็นว่ากำลังทำอะไรอยู่ จะกำลังทำอะไรต่อไป

ทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล คณะทำงานด้านความหลากหลายทางเพศ พรรคไทยสร้างไทย
กล่าวถึงการผลักดัน พ.ร.บ. คู่ชีวิต ของรัฐบาลว่าเป็นลูกเล่นทางการเมืองที่น่าอาย และใช้ธงรุ้งกับความหลากหลายเป็นเครื่องมือตลอดระยะเวลาที่ยาวนานของการเรียกร้องประชาธิปไตยที่ยืนบนหลักความหลากหลาย ประเด็นในเรื่องเพศ ถูกยกมาเป็นหัวข้อในการเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสียงอย่างชัดเจนว่า สิทธิในเรื่องเพศ เท่ากับสิทธิมนุษยชน 

 

"ภาคีสีรุ้ง" เรียกร้องสภา พิจารณาพ.ร.บ. "สมรสเท่าเทียม" แทน พ.ร.บ.คู่ชีวิต


สังคมไทยเป็นสังคมปิตาธิปไตยอย่างเข้มข้น ผ่านกฎหมายที่อุ้มชูเพศชายในโครงสร้างใหญ่ของประเทศ ส่งผลผลักให้เพศอื่นๆ ต้องอยู่ในบทบาทที่เพศชายเป็นผู้กำหนดเพียงเท่านั้น การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ จึงควรกลับไปแก้ที่โครงสร้างทางกฎหมาย ในส่วนของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมาตราที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดคือมาตรา 1448 ที่ว่าการสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ก่อให้เกิดช่องโหว่มากมายของการเลือกปฏิบัติทางเพศ ไม่ครอบคลุมความหลากหลายที่เพิ่มขึ้นมากในสังคม และทำให้เกิดมาตรฐานที่ไม่เท่าเทียมกัน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ