ข่าว

ด่วน รัฐบาลไม่ต่อ "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" หลัง 30 กันยายน นี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มติที่ประชุม ครม.เห็นชอบ พ.ร.ก.ควบคุมโรคติดต่อ ใช้คุมระบาดโควิด แทน "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" รองโฆษกรัฐบาล ยันไม่ใช่นิรโทษกรรมฝ่ายการเมือง ระบุมีผลให้หลัง 30 ก.ย.ปีนี้รัฐบาลไม่ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้ยุบ "ศบค." อัตโนมัติ

วันที่ 21 ก.ย. 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า มติที่ประชุมครม. เห็นชอบ ร่างพระราชกำหนดควบุคมโรคติดต่อ หรือ พ.ร.ก.โรคติดต่อ โดยเป็นการปรับปรุงสาระสำคัญจาก พ.ร.บ.โรคติดต่อปี 2558

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

นางสาวรัชดา อธิบายว่า ซึ่งพ.ร.ก.โรคติดต่อฉบับดังกล่าว จะครอบคลุมการดูแลโรคระบาด โดยไม่ต้องประกาศ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 

 

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่าไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับฝ่ายการเมือง ฝ่ายนโยบาย ตามที่มีกระแสในโซเชียลมีเดียอย่างใด

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบ ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ….. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ให้เป็นร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ…. เพื่อกำหนดให้มีมาตรการที่จำเป็น และมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ระงับ ควบคุม หรือขจัดโรคติดต่อที่มีการระบาดในกรณีปกติและในกรณีที่มีความรุนแรงให้ยุติหรือบรรเทาลงโดยเร็ว

 

 

รวมทั้งเพิ่มหมวดเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เพื่อแยกการจัดการกรณีโรคติดต่อในสถานการณ์ปกติ ออกจากโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง

 

 

ที่มีลักษณะของการเป็นโรคอุบัติใหม่หรือโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ซึ่งต่อไปจะได้ไม่ต้องประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)

 

 

ในส่วนบทบัญญัติคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ร่าง พ.ร.ก.ฯ กำหนดให้ยกเว้นความรับผิดให้แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใด ซึ่งได้รับมอบหมายหรือได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ “ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข”

 

 

เช่นเดียวกับในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (ครอบคลุมไปถึง ผู้ช่วย อสม. พนักงานกู้ภัย) นับตั้งแต่วันที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คือ วันที่ 26 มีนาคม 2563

 

 

ทั้งนี้ การประกาศใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ และไม่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้น ส่งผลให้เป็นการยกเลิกการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปโดยอัตโนมัติและยังทำให้ ศบค.ซึ่งตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 7 วรรคห้า ต้องมีอันสิ้นสภาพไป 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ