เด่นโซเชียล

กรมอุตุฯ ติดตาม "พายุโกนเซิน" ทำน้ำท่วมฉับพลัน ดูรายละเอียดตามจังหวัด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมอุตุนิยมวิทยาเปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานณ์พายุ "โกนเซิน" (CONSON) เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนประชาชนจนกว่าพายุจะคลี่คลาย เตือนระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุ "โกนเซิน" (CONSON) โดยมีว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมติดตามสถานการณ์พายุ "โกนเซิน" (CONSON)

กรมอุตุฯ ติดตาม "พายุโกนเซิน" ทำน้ำท่วมฉับพลัน ดูรายละเอียดตามจังหวัด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา พายุโซนร้อนกำลังแรง โกนเซิน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 14 5 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรืออยู่ที่ละติจูด 15.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 13 กม./ชม. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย. 64) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ 

กรมอุตุฯ ติดตาม "พายุโกนเซิน" ทำน้ำท่วมฉับพลัน ดูรายละเอียดตามจังหวัด

 

ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ 

  • วันที่ 12 กันยายน 2564 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี       ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด 
  • วันที่ 13 กันยายน 2564 บริเวณที่มีฝนตกหนักบางแห่ง ภาคเหนือ: จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก ตาก และเพชรบูรณ์           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี  ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี            ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด 

 

อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564 

 

กรมอุตุนิยมวิทยาได้ติดตามสถานการณ์พายุดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชนจนกว่าสถานการณ์พายุดังกล่าวจะคลี่คลายลง พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และติดตามข่าวของพายุลูกนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็ปไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th หรือที่ 02 399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ