ต้องยอมรับความจริงร่วมกันก่อนว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของนักเรียน นิสิต นักศึกษา แต่ที่เป็นปัญหาและน่าเป็นห่วง คือนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นม.6 รวมถึงการอาชีวะศึกษา ระดับปวช. และปวส. โดยเฉพาะนักเรียนในชนบทห่างไกลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเข้าไปไม่ถึง
ประกอบกับการเลื่อนปิด-เปิดเทอม ภาคเรียนที่1 / 2564 จากเดิม 16 พฤษภาคม ออกเป็น 1 มิถุนายน และเลื่อนอีกครั้งเป็น 14 มิถุนายน แต่เพราะพิษโควิด-19 สถานศึกษาเปิดเรียนแบบเต็มรูปแบบได้ไม่ถึงครึ่ง เมื่อเกิดการระบาดระลอกใหม่ จำนวนสถานศึกษาที่เปิดสอนจริงๆ ลดเหลือแค่ 2,000 โรงเรียน จากทั้งหมด 34,887 แห่ง
“ครูเหน่ง” ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) และ “ครูโอ๊ะ” ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.) รู้หรือไม่ว่าสถานศึกษาไม่สามารถเปิดเรียนได้
เมื่อทั้งคุณครูและนักเรียนหลายพื้นที่กลายเป็นผู้ป่วยโควิด-19 การเรียน การสอนเต็มรูปแบบจึงไม่มีอยู่จริง
“ครูเหน่ง-ครูโอ๊ะ” รู้ไหม การเรียนการสอนในสถานศึกษาไม่มีอยู่จริง เมื่อเด็กต้องหยุดเรียนอยู่บ้านกับพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งตกงานขาดรายได้มาเลี้ยงครอบครัว แต่ลูกต้องเรียนออนไลน์ ต้องมีอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ อย่างน้อยคือมือถือ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง