ข่าว

"ข่าวปลอม" ฉีด "Az" ครบโดส แต่สถานฑูตไม่รับรอง กต.ระบุ เงื่อนไขแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ข่าวบิดเบือน" ฉีด"แอสตราเซเนกา" ครบโดส แต่สถานฑูตไม่รับรอง กระทรวงการต่างประเทศ ระบุ เงื่อนไขแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูล การเดินทางไปยังประเทศไอร์แลนด์ ของหญิงไทยรายหนึ่ง ซึ่งได้มีการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนก้าครบโดสแล้ว แต่ทางสถานทูตต่างประเทศไม่รับรอง โดยระบุว่า ล็อตที่ผลิตในประเทศไทยถือว่าไม่ได้ฉีด ทาง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แจ้งว่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง กับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน และได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ

 

 

"ข่าวปลอม" ฉีด "Az" ครบโดส แต่สถานฑูตไม่รับรอง กต.ระบุ เงื่อนไขแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

 

1. การรับรองวัคซีนของบริษัท AstraZeneca โดยบริษัท AstraZeneca ได้ยื่นขอรับรองวัคซีนของบริษัทฯ กับองค์กรยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicine Agency – EMA) เฉพาะวัคซีนจากแหล่งผลิตที่มีแผนจะใช้ในสหภาพยุโรปเท่านั้น (โดยใช้ชื่อว่า Vaxzevria) และได้รับการรับรองโดย EMA ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ซึ่งขณะนี้ สิงหาคม 2564 บริษัท AstraZeneca อยู่ระหว่างการยื่นขอการรับรองวัคซีน AstraZeneca ที่ผลิตในประเทศไทย และแหล่งผลิตอื่นกับ EMA และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) ทั้งนี้ บริษัท AstraZeneca ยืนยันว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทมีคุณภาพเท่าเทียมกันในทุกแหล่งการผลิต

และเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 บางประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ผ่อนปรนมาตรการควบคุมด้านสาธารณสุขให้กับผู้เดินทางที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca ที่ผลิตในไทย เช่นเดียวกับผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca ที่ผลิตจากแหล่งอื่น แม้ว่าวัคซีน AstraZeneca ที่ผลิตจากไทย ยังอยู่ในกระบวนการขอรับการรับรองจาก EMA และ WHO ในขณะที่บางประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น ไอร์แลนด์ ยังยึดเกณฑ์วัคซีนที่ได้รับการรับรองจาก EMA หรือ WHO เท่านั้น

 

sinopharm.cra.ac.th "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" แนะ เร่งเข้าจอง-จ่ายเงิน ภายใน 13 ส.ค.นี้

WHO เตรียมทดสอบยาอีก 3 ตัว หวังช่วยรักษา โควิด-19

2. มาตรการของไอร์แลนด์ ผู้ที่จะเดินทางเข้าไอร์แลนด์ ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่รับรองโดย EMA โดยมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า ฉีดวัคซีนดังกล่าวแล้ว หรือมีหลักฐานการรักษาหายจากการป่วยด้วยโรคโควิด-19 ภายในระยะเวลา 180 วันที่ผ่านมา จะได้รับการยกเว้นการกักกันโรค และยกเว้นการตรวจหาเชื้อ เมื่อเดินทางถึงไอร์แลนด์ ทั้งนี้ ต้องฉีดวัคซีนโดสสุดท้ายก่อนเดินทางมาถึงไอร์แลนด์ ตามเวลาที่กำหนด ดังนี้ Pfizer-BioNtech (ครบ 2 โดส 7 วันก่อนเดินทาง) Moderna (ครบ 2 โดส 14 วันก่อนเดินทาง) และ Johnson & Johnson/Janssen ( 1 โดส 14 วันก่อนเดินทาง) ซึ่งผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน ที่ยังไม่ได้รับการรับรองโดย EMA เช่น AstraZeneca ที่ผลิตในประเทศไทย จะต้องแสดงผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR ที่เป็นลบภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทางถึงไอร์แลนด์ และเข้ารับการกักกันโรค 14 วัน และหากได้รับการตรวจเชื้อในวันที่ 5 นับจากวันที่เดินทางถึงไอร์แลนด์ และมีผลเป็นลบ จะถือว่าการกักกันโรคสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ผู้เดินทางเข้าไอร์แลนด์จากต่างประเทศต้องกรอก Passenger Locator Form ก่อนเดินทางด้วย นอกจากมาตรการเข้าเมืองแล้ว ทางการไอร์แลนด์ยังใช้มาตรการด้านสาธารณสุขภายในประเทศที่เชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีน กล่าวคือ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน จะได้รับเอกสารรับรองอิเล็กทรอนิกส์เรียกว่า EU Digital COVID Certificate (DCC) หรือบัตร HSE Vaccination Card โดยผู้ใช้บริการสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ และศูนย์อาหาร จะต้องแสดงเอกสารรับรองการฉีคซีนอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น จึงจะเข้าใช้บริการได้ ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการล้างมือ การว้นระยะห่าง และการสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ปิด

 

3. ภาพรวมมาตรการประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป หลายประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ผ่อนปรนมาตรการควบคุมด้านสาธารณสุข สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสที่กำหนด เช่น การแสดงผลตรวจเชื้อโควิด-19 ที่เป็นลบ และการกักกันโรค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศสมาชิก มีข้อกำหนดเกี่ยวกับชนิด และรายละเอียดของวัคซีนที่แตกต่างกัน โดยเกณฑ์การฉีดวัคซีนที่แต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปใช้ เพื่อผ่อนปรนมาตรการควบคุมด้านสาธารณสุข ในการเดินทางเข้าประเทศ มีหลายรูปแบบ บางประเทศใช้เกณฑ์วัคซีนที่ได้รับการรับรองโดยองค์กรยาแห่งสหภาพยุโรป EMA เพียงอย่างเดียว บางประเทศใช้เกณฑ์วัคซีนที่ได้รับการรับรองจาก EMA หรือองค์การอนามัยโลก WHO และบางประเทศใช้เกณฑ์ของตนเอง ซึ่งมาตรการควบคุมด้านสาธารณสุขของแต่ละประเทศ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศต้นทาง และประเทศปลายทาง ผู้เดินทางจึงจำเป็นต้องตรวจสอบมาตรการของประเทศที่ต้องการจะเดินทางไปอย่างใกล้ชิด

ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการต่างประเทศ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mfa.go.th หรือโทร 02 2035000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นการใช้ข้อความพาดหัวข่าวที่อาจสร้างความเข้าใจผิด โดยมาตรการควบคุมด้านสาธารณสุข สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสที่กำหนดของแต่ละประเทศมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไป ซึ่งบริษัท AstraZeneca อยู่ระหว่างยื่นขอการรับรองวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยและแหล่งผลิตอื่นกับ EMA และองค์การอนามัยโลก และยืนยันว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทมีคุณภาพเท่าเทียมกันในทุกแหล่งการผลิต

ที่มา: กรมสารนิเทศ กระทรวงต่างประเทศ

         Anti-Fake News Center Thailand

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ