ข่าว

"หมอธีระ" ชี้ ระบาด"โควิด-19" ส่อลากยาว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"นพ.ธีระ วรธนารัตน์ " คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ ระบาด"โควิด-19" ส่อลากยาวไปถึงตุลาคมซ้ำด้วยระลอก 4 หนักกว่าเดิม ทางออกจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางบริหารจัดการและกลไกนโยบายและวิชาการด้านสาธารณสุข ทั้งการควบคุมป้องกันโรค รวมถึงวัคซีน 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า

 

25 กรกฎาคม 2564

 

หากไม่เปลี่ยนแปลงมาตรการเพิ่มเติมไปกว่าที่เป็นอยู่ แนวโน้มกราฟการระบาดเราจะเข้าสู่เส้นทางคล้ายอดีตของอเมริการะลอกแรกหรือคล้ายเยอรมันตอนระลอกสองที่จะมีการติดเชื้อจำนวนมากไปเรื่อย ๆ หลายเดือน และจากนั้นจะมีระบาดใหม่เข้ามาทำให้หนักขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

 

\"หมอธีระ\" ชี้ ระบาด\"โควิด-19\" ส่อลากยาว
 

 

\"หมอธีระ\" ชี้ ระบาด\"โควิด-19\" ส่อลากยาว

แต่หากเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ประเทศอื่น ๆ ที่ไทยเรามีสถานการณ์ระบาดคล้ายกันกับเค้าคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อิหร่าน

 

ทั้งนี้ตามที่เคยได้คาดการณ์ไว้คือ จะยาวไปจนถึงปลายกันยายนหรือต้นตุลาคม แล้วจะมีโอกาสหนักเป็นระลอกสี่

 

โดยเป็นผลจากอิทธิพลของการระบาดทั่วโลก โดยจะเข้ามาในจังหวะที่เปิดท่องเที่ยวเปิดประเทศพอดี

 

จำนวนการติดเชื้อใหม่ที่รายงานในแต่ละวันนั้น เข้าใจว่ายังไม่รวมจำนวนคนที่ตรวจพบโดยวิธี Rapid antigen test ซึ่งมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นสถานการณ์จริงจึงหนักกว่าที่เห็นตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ

 

\"หมอธีระ\" ชี้ ระบาด\"โควิด-19\" ส่อลากยาว

 

นอกจากนี้ จำนวนเตียงในกทม.และปริมณฑลก็เข้าขั้นวิกฤติ

 

ณ วันนี้ เตียงสนาม มี 3,114 เตียง ใช้ไป 2,635 เตียง (84.6%) เหลือเพียง 305 เตียง

 

Hospitel มี 16,582 เตียง ใช้ไป 15,529 เตียง (93.6%) เหลือ 1,053 เตียง

 

ส่วน Cohort ward มี 11,642 เตียง ใช้ไป 12,363 เตียง รับเกินกำลังถึง 106.2%

 

Isolated room มี 4,344 เตียง ใช้ไป 4,560 เตียง รับเกินกำลังถึง 105%

 

Cohort ICU (ICU รวม) มี 422 เตียง ใช้ไป 422 เตียง รับเต็ม 100%

 

ห้องดัดแปลงความดันลบ (Modified AIIR) มี 566 เตียง ใช้ไป 826 เตียง รับเกินกำลังถึง (145.9%)

 

ห้องความดันลบ (AIIR ICU) มี 297 เตียง ใช้ไป 327 เตียง รับเกินกำลัง 110.1%

 

สถานการณ์เช่นนี้ คงหลับตาแล้วเห็นภาพได้ว่า เหตุใดจำนวนผู้เสียชีวิตจึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

และเป็นหลักฐานยืนยันว่าแนวทางที่ทำมาตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานั้นไม่สามารถจัดการการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นี่ไม่ใช่สมดุลชีวิตวิถีใหม่...

 

ไม่มีทางที่จะรักษาสมดุลระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจได้...

 

แต่สถานการณ์เช่นนี้จะสั่นคลอนความมั่นคงของประเทศและคุกคามสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของทุกคนในประเทศ

 

ไม่ควรปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป

 

จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการและกลไกนโยบายและวิชาการด้านสาธารณสุข ทั้งการควบคุมป้องกันโรค รวมถึงวัคซีน 

 

ตัดสินใจเถิดครับ...

 

ด้วยรักและห่วงใย
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ