ข่าว

"ช้างไทย" วิจัยฝุ่น "โควิด-19" ทำตกงานเพียบ วอนรัฐบาลเร่ง "เยียวยา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พิษ "โควิด" ระบาด ทำ "ช้างไทย" ตกงานเพียบ วอนรัฐบาลเร่งช่วยเหลือ และออกมาตราการ "เยียวยา" 6 เดือน พร้อมอุดหนุนสินค้าเกษตรช่วยช้าง

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ร่วมด้วยทีมงานนายคุณากร ปรีชาชนะชัย ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ "ช้างไทย" เพื่อพูดคุยรับเรื่องร้องทุกข์จากพี่น้องคนเลี้ยงช้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ "โควิด-19" ที่ทำให้มีการปิดสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วประเทศ  ปางช้างไม่สามารถแบกรับภาระค่าเลี้ยงดูช้างและควาญช้างได้  โดยอยากให้หามาตรการ "เยียวยา"

 

"ช้างไทย" วิจัยฝุ่น "โควิด-19" ทำตกงานเพียบ วอนรัฐบาลเร่ง "เยียวยา"

 

 

โดยพบว่า ที่ อ.ท่าตูม มี"ช้างไทย"ตกงานกลับภูมิลำเนามาอย่างน้อยกว่า 300 เชือก และยังมีช้างรวมถึงควาญช้างจากหลายจังหวัดเมืองท่องเที่ยวมาพักอยู่ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ จำนวนมาก  จากเดิมที่ช้างและควาญช้างทำงานเป็นคู่กัน มีรายได้เดือนละประมาณ 9,000-15,000 บาทต่อคู่

 

"ช้างไทย" วิจัยฝุ่น "โควิด-19" ทำตกงานเพียบ วอนรัฐบาลเร่ง "เยียวยา"

 

ทั้งนี้ เมื่อประเทศไทยปิดการท่องเที่ยวเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี 6 เดือน "ช้างไทย" ควาญช้างขาดรายได้อย่างหนัก และไม่สามารถเปลี่ยนไปทำงานเสริมอย่างอื่นได้ เพราะต้องอยู่กับช้างตลอดทั้งวัน จึงไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารให้กับช้างได้  

 

นายชนินทร์ กล่าวว่า  แม้ศูนย์คชสารจะได้งบประมาณอุดหนุนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่เมื่อมีช้างกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก งบประมาณจึงไม่เพียงพอ จึงอยากให้รัฐออกมาตรการ "เยียวยา" ช่วยเหลือ ดังนี้

 

1. จ่ายเงินเยียวยาให้คนเลี้ยงช้างที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ เดือนละ  5,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากขาดรายได้มากกว่า 1 ปี 6 เดือน โดยปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนช้างแบบฝัง micro-chip กับกรมปศุศัตว์ราว 3,700 เชือก 

 

2. สร้างกลไกตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่มีมากอยู่ในตลาด เช่น สับปะรด หรือข้าวโพด มาสนับสนุนเป็นอาหารให้แก่ช้างที่ตกงานอยู่ในปัจจุบัน

 

3.หารือร่วมกับหน่วยงานเกษตรท้องที่ ในการจัดหาพื้นที่ของรัฐในระยะใกล้เคียงที่ไม่ได้ใช้งาน นำมาเร่งปลูกหญ้า เพื่อใช้สลับเป็นอาหารช้างสนับสนุน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

4.เพิ่มงบประมาณส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ช้าง “กินอยู่กับช้าง” ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ดึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของคนเลี้ยงช้างมาถ่ายทอด เพื่อต่อยอดการสร้างงานให้ควาญช้างและช้างตกงานที่กลับมาบ้าน

 

“โควิด-19" เป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบทุกหย่อมหญ้า การช่วยเหลือเยียวยาต้องเข้าถึงครอบคลุมทุกกลุ่มและต้องทันการณ์ หากปล่อยให้สถานการณ์บานปลายนอกจากพรากชีวิตคน ช้างไทยที่เป็นมรดกของชาติ และสัตว์คู่บ้านคู่เมือง อาจล้มหายตายจากไปด้วย” นายชนินทร์กล่าว

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ