ข่าว

ย้อนแผนวิกฤติ "เตียงไม่พอ" แนวคิดติดเชื้อ "โควิด-19" กักตัวที่บ้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดแผนรับมือวิกฤติระลอกใหม่ "เตียงไม่พอ" ให้ผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" กักตัวที่บ้าน พร้อมเกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยเพื่อการแยกตัว

26 มิถุนายน 2564 เกาะติดสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ระลอกใหม่ (เมษายน 2564) ในประเทศ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงาน เมื่อเวลา 12.30 น. (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564) พบ ผู้ป่วยรายใหม่ 4,161 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 3,035 ราย ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 1,035 ราย จากเรือนจำ / ที่ต้องขัง 72 ราย ผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 19 ราย ขณะที่ ผู้ป่วยยืนยันสะสม 211,589 ราย หายป่วยแล้ว 169,249 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 51 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 1,776 ราย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 25 มิถุนายน 2564 มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 8,981,478 โดส โดยวันที่ 25 มิถุนายน 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 228,955 ราย และ เข็มที่ 2 จำนวน 95,100 ราย

ย้อนแผนวิกฤติ "เตียงไม่พอ" แนวคิดติดเชื้อ "โควิด-19" กักตัวที่บ้าน

ย้อนแผนวิกฤติ "เตียงไม่พอ" แนวคิดติดเชื้อ "โควิด-19" กักตัวที่บ้าน

ขณะที่ หลายโรงพยาบาลได้ใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่และบุคลากรในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โควิด-19 จนเต็มกำลังความสามารถที่จะรองรับผู้ป่วยเพิ่มเติมได้อีก เนื่องจากเตียงและห้อง ICU เต็มทั้งหมด และเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงของดการตรวจคัดกรองหาเชื้อ โควิด-19 ทั้ง Drive Thru Test และ Walk in จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

อ่านข่าว - สุดวิกฤติ "โควิด-19" เกินกำลัง 10 โรงพยาบาล ปรับลดงดตรวจ ICU เตียงเต็ม

ด้าน โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เผยตัดสินใจแล้วว่า ธรรมศาสตร์จะยังคงเป็นที่พึ่งของสังคมและผู้คนต่อไป จะไม่หยุดและไม่ลดการรับตรวจ โควิด-19 จะยังคง Swab ต่อเนื่องทุกวัน เพื่อตรวจยืนยันให้กับผู้คนที่มีความทุกข์จากการสัมผัสผู้ป่วย และถ้าผลออกมาเป็นบวก จะรับเข้าดูแลรักษาใน รพ.ธรรมศาสตร์ แม้อาจจะต้องใช้เวลารอเตียงบ้าง แต่เราก็จะรับเข้าดูแลรักษาทุกราย จะไม่ทอดทิ้งใครไว้ จะทำทุกอย่างที่ทำได้ อย่างเต็มกำลัง

อ่านข่าว - ซูฮก "ธรรมศาสตร์" วิกฤติเตียงเต็มไม่ทอดทิ้งใคร Swab ติดเชื้อโควิด-19 รับหมด

 

เปิดแผนรับมือวิกฤติระลอกใหม่ "เตียงไม่พอ" ให้ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 กักตัวที่บ้าน

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการบริหารจัดการผู้ป่วย โควิด-19 ต้องรอเตียง ขณะที่เกิดวิกฤติการแพร่ระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากทำให้ "เตียงไม่พอ" ว่า แนวคิดที่ให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) เนื่องจากขณะนี้มีคนป่วยที่รอเตียง และรออยู่ที่บ้านอยู่แล้ว ซึ่งการระบาดระลอก 3 มีจำนวนมากขึ้น และระดับหลักพันต่อเนื่อง แต่หากมีการระบาดระลอกใหม่ มีผู้ป่วยหลักหมื่นและเตียงไม่พอ ตอนนี้เป็นแนวคิดเตรียมล่วงหน้า ยังไม่ได้นำมาใช้ ยกเว้นคนที่รอเตียงที่บ้านว่าต้องทำตัวและปฏิบัติตัวอย่างไร

ย้อนแผนวิกฤติ "เตียงไม่พอ" แนวคิดติดเชื้อ "โควิด-19" กักตัวที่บ้าน

 

กล่าวคือ หมอต้องมีการทำ Telemonitor มีช่องทางสื่อสารกับผู้ป่วย ติดตามอาการทุกวัน และมีช่องทางติดต่อกรณีฉุกเฉินส่วนโรงพยาบาล ลงทะเบียนในระบบโรงพยาบาล เอ็กซเรย์ปอดปกติ ให้ที่วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และจัดระบบรองรับผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน

ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน (home isolation) (ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2564)

ผู้ที่ตรวจพบเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ควรได้รับการจัดแยกเพื่อการดูแลรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรือ โรงพยาบาลสนาม หรือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (hospitel) ตามความเหมาะสมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการควรแยกตัวจากผู้อื่นไม่น้อยกว่า 14 วันเช่นเดียวกัน

โรงพยาบาลอาจพิจารณาให้ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัว อาทิ บ้านเดี่ยว หอพัก หรือคอนโดมิเนียม โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่แล้ว การจัดเตรียมสถานที่เพื่อการแยกตัวอย่างเหมาะสมให้เป็นไปตามคำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วย โควิด-19 (COVID-19) ที่ไม่ได้เข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล ฉบับวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564 หากผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แนะนำให้แยกตัวต่อเนื่องจนครบ 1 เดือน

 

เกณฑ์การพิจารณาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพื่อการแยกตัว

1. เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (asymptomatic cases)

2. มีอายุไม่เกิน 40 ปี

3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

4. มีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน

5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก./ม.*2 หรือ น้ำหนักตัว มากกว่า 90 กก.)

6. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้

6.1 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

6.2 โรคไตเรื้อรัง (CKD)

6.3 โรคหัวใจและหลอดเลือด

6.4 โรคหลอดเลือดสมอง

6.5 เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

6.6 โรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

การดำเนินการของโรงพยาบาล

1. ประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อแยกตัวในสถานที่พักของตนเอง

2. ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การแยกตัวที่บ้าน (home isolation) ในระบบของโรงพยาบาล

3. ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray) หากพบความผิดปกติ แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

4. แนะนำการปฏิบัติตัว และจัดเตรียมปรอทวัดไข้ และ pulse oximeter ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ

5. ติดตาม ประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างการแยกตัวที่บ้าน ผ่านระบบสื่อสารต่างๆ อาทิ โทรศัพท์ติดตามอาการ สอบถามอาการไข้ ค่า oxygen saturation วันละ 2 ครั้ง (เช้า - เย็น) เป็นระยะเวลา 14 วัน

6. จัดช่องทางติดต่อในกรณีผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้น หรือภาวะฉุกเฉิน อาทิ มีไข้ลอย หอบเหนื่อย หายใจลำบาก

7. จัดระบบรับ - ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล

8. ให้ความมั่นใจในมาตรฐานการดูแลรักษาของที่มแพทย์และพยาบาลสำหรับผู้ติดเชื้อ

อ่านข่าว - วันนี้ 110 "คลัสเตอร์" ต้องเฝ้าระวัง ติดเชื้อสูงสุด กทม. เหลือมั้ยพื้นที่ปลอดภัย

ย้อนแผนวิกฤติ "เตียงไม่พอ" แนวคิดติดเชื้อ "โควิด-19" กักตัวที่บ้าน

CR : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ