ข่าว

ฉีด"วัคซีน COVID-19" อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ป้องกันไม่ได้ แต่ลดความรุนแรงได้" แนะวิธีสังเกตอาการ ข้อพึงปฏิบัติ พร้อมละเว้นเหตุต้องห้าม ก่อนและหลังฉีด "วัคซีน COVID-19" ให้ปลอดภัยคลายกังวลที่สุด

ช่วงนี้หลายคนเริ่มฉีด "วัคซีน COVID-19" เข็มที่ 2 กันแล้ว แต่ยังมีอีกไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับการฉีดครั้งแรกเลย อย่างไรก็ตาม มีเพื่อนๆ ชาวโซเชียล พร้อมใจกันรีวิวอาการหลังฉีด "วัคซีน COVID-19" กันอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพื่อบันทึกประสบการณ์แรกในชีวิต ขณะที่บางคนก็อยากจะเป็นตัวอย่างให้คนที่ยังไม่ได้ฉีด ได้สังเกตตัวเองไปพร้อมๆกันด้วย 

 

ฉีด\"วัคซีน COVID-19\" อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด 

 

อย่างที่ทราบกันดีว่า COVID-19 ไม่สามารถป้องกันได้ แต่การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องฉีดวัคซีน สิ่งที่ต้องรู้คือการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน และการสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีน จะได้ไม่รู้สึกกังวลจนเกินไป  
 

สำหรับอาการข้างเคียงหลังฉีด วัคซีน COVID-19 ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง แต่ก็ควรเฝ้าระวังหลังจากฉีดไปแล้ว 30 นาทีแรก ถ้ามีอาการแพ้รุนแรง มักจะเกิดอาการภายใน 15 นาที เท่าที่พบ มีตั้งแต่ชนิดไม่รุนแรง เช่น ปวด บวม แดง ร้อน คัน บริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย 

 

ฉีด\"วัคซีน COVID-19\" อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด 

 

ส่วนอาการข้างเคียงชนิดรุนแรง เช่น มีไข้สูง ใจสั่น หนาวสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีจุดเลือดออกจำนวนมาก ผื่นขึ้นทั้งตัว ตุ่มน้ำพอง หน้าบวม คอบวม หรือบวมทั่วร่างกาย มีอาการอาเจียนไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง ท้องเสีย ชัก หมดสติ ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที หรือถ้ามีอาการภายหลังจากที่กลับบ้านไปแล้ว ให้รีบมาพบแพทย์ หรือโทรมาที่สายด่วน 1669  ได้ตลอดเวลา 

 

ฉีด\"วัคซีน COVID-19\" อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด 

 

นอกจากนี้ มีสิ่งที่ควรรู้ในข้อจำกัดการฉีดวัคซีน COVID-19 ก็คือ ห้ามฉีดในคนอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามฉีดในคนที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีน แพ้ยา หรือคนที่เคยถ่ายเลือด พลาสมา ผลิตภัณฑ์จากเลือด ส่วนประกอบของเลือด อิมมูโนโกลบูลิน ยาต้านไวรัส หรือแอนติบอดีสำหรับรักษา COVID-19 ภายใน 90 วันที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้ ยังห้ามฉีดในคนที่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ช่วง 10 วันที่ผ่านมาอีกด้วย แต่สามารถรับวัคซีนหลังติดเชื้อ COVID-19 ได้อย่างน้อย 3 เดือน ส่วนคนที่มีโรคประจำตัวที่อาการยังไม่คงที่ และควบคุมอาการไม่ได้ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หอบ เหนื่อย ใจสั่น ฯลฯ ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ก่อนฉีดเท่านั้น รวมทั้งคนที่มีอาการเกี่ยวกับสมองหรือระบบประสาทอื่นๆ  คนที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือวางแผนตั้งครรภ์ คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนฉีดวัคซีน

 

ฉีด\"วัคซีน COVID-19\" อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด 

 

ข้อจำกัดนี้ยังรวมไปถึง คนที่มีภาวะเลือดออกง่ายหรือหยุดยาก เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด คนที่มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือนอนรักษาตัวและออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน  หรือกำลังมีอาการป่วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก อ่อนเพลียกล้ามเนื้อ เป็นต้น ต้องเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน แต่ถ้าเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถฉีดวัคซีนได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน

 

 

  ฉีด\"วัคซีน COVID-19\" อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด 
 


เนื่อจาก วัคซีน COVID-19 เป็นวัคซีนใหม่ ดังนั้นการฉีดในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากมีอาการผิดปกติหลังการฉีด สามารถเฝ้าระวังเพื่อสังเกตอาการ และให้การช่วยเหลือได้ทันที 
และแม้จะฉีดวัคซีนไปแล้ว ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่สามารถป้องกันโรครุนแรงได้เกือบทั้งหมด จึงต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือให้บ่อย เพื่อป้องกัน COVID-19 ในระยะยาวได้ 

 

ฉีด\"วัคซีน COVID-19\" อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก รศ.พญ.พรรณพิศ สุวรรณกูล 
คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ