ข่าว

เปิดตำนาน "หม่าล่า" น้ำจิ้มจัดจ้าน ต้นฉบับ แดนมังกร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดตำนาน "หม่าล่า" น้ำจิ้มจัดจ้าน ต้นกำเนิดจากประเทศจีน รสชาติเผ็ดควันออกหู เหมือนพ่อตา โกรธลูกเขย

หลายคนอาจจะยังฉงน และรู้สึกแปลกใจ กับร้านปิ้งย่าง ที่ระยะหลังมักเปิดกันเป็นจำนวนมาก โดยมักใช้ชื่อร้านนำหน้าว่า "หม่าล่า" วันนี้ มุมสบายๆ จะขอเข้ามาไขข้อข้องใจ เกี่ยวกับชื่อร้าน ที่ใช้ภาษาแปลกๆ เหล่านี้ 

 

 

เปิดตำนาน "หม่าล่า"  น้ำจิ้มจัดจ้าน ต้นฉบับ แดนมังกร

คำว่า "หม่าล่า" แท้จริงแล้ว ไม่ใช่อาหาร แต่เป็นรสชาติ ที่มีรากศัพท์มาจากอักษรจีน 2 ตัวด้วยกัน คือ “หม่า” คือ การทำให้ชา และ "ล่า" คือ เผ็ดฉุน ฉะนั้น เมื่อนำทั้ง 2 คำมารวมกันแล้ว จึงตีความได้ว่า "รสชาติที่มีความเผ็ด และฉุน จนทำให้ปากและลิ้นชา" โดยมาจากเครื่องเทศที่มีรสรสเผ็ด 

 

 

เปิดตำนาน "หม่าล่า"  น้ำจิ้มจัดจ้าน ต้นฉบับ แดนมังกร

 

 

สำหรับต้นกำเนิดของ "หม่าล่า" มาจากมณฑลเสฉวน และในตลาดกลางคืน ที่ครัวของท่าเรือในนครฉงชิ่ง ซึ่งถูกปกครองในรูปแบบมหานคร ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน  

 

 

ไม่ว่าจะมาจากตลาดใน “มณฑลเสฉวน” หรือจะมาจากตลาดกลางคืน ที่ครัวของท่าเรือในนครฉงชิ่ง ก็ตาม คำว่า “หม่าล่า” ก็คงหนีไม่พ้น รสชาติตามแบบฉบับของความจัดจ้าน ชนิดที่คนไทยมักเรียกกันว่า "เผ็ดแบบควันออกหู" เหมือกับ ว่าที่พ่อตา กำลังโกรธ ว่าที่ลูกเขย ที่แอบฉุดลูกสาวมาเป็นเมีย อะไรทำนองนี้  

 

 

เปิดตำนาน "หม่าล่า"  น้ำจิ้มจัดจ้าน ต้นฉบับ แดนมังกร

 

 

ซึ่งความเผ็ดที่ว่านั้น มาจากพริกฮวาเจียว มีรูปร่างคล้ายพริกไทย โดยนำมาผสมกับเครื่องเทศอีกหลายอย่างเข้าด้วยกัน พร้อมกับนำมาคั่วด้วยน้ำมัน จนกลายเป็นซอสพิเศษ ที่คนจีนเรียกกันว่า "หม่าล่า" 

 

 

และขณะที่นำ เนื้อ , ขาแกะ , หรือวัตถุดิบต่างมาปิ้งย่าง บางร้านก็จะนำซอสที่ปรุงไว้ มาทาในระหว่างปิ้งย่างไปด้วย ทำให้ส่วนผสมเข้ากันอย่างลงตัว หลังจากย่างเสร็จ ก็จะราดซอสซ้ำ เพื่อให้เกิดความชุ่มฉ่ำ ก่อนที่จะเสริฟแบบร้อนๆ 

      

 


สำหรับ “พริกฮวาเจียวต้าหงพ่าว” ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ใน “เมืองหานเฉิง” เป็นอำเภอหนึ่งของเมืองเว่ยหนาน และ “เมืองหานเฉิง” นี้เอง ยังได้รับอานิสงส์จากแม่น้ำเหลือง ทำให้มีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ “ฮวาเจียวต้าหงพ่าว” อีกด้วย

 

 

ฉะนั้น เจ้าพริกฮวาเจียว จึงเป็นส่วนผสมรสจัดจ้าน และกลายเป็นส่วนผสมสำคัญของอาหารจีนเสฉวน โดยเฉพาะอาหารในนครฉงชิ่ง ของประเทศจีน จนกระทั่งเกิดการแพร่หลาย กลายเป็นที่นิยมเข้ามาในประเทศไทย

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ