ข่าว

ไขคำตอบ ควรงด "ยาคุม" ก่อนฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ อธิบายถึงการเกิดลิ่มเลือดอุตันในปอด หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเสียชีวิต พบมีประวัติกินยาคุมกำเนิด

จากกรณีมีการนำเสนอข่าว ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพข้อความบอกเล่าประสบการณ์หลังฉีดวัคซีน โควิด-19 โควตาบุคลากรทางการแพทย์ วูบเป็นลม ปั๊มหัวใจ พบลิ่มเลือด เสียชีวิต พบประวัติทานยาคุมกำเนิด จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนกระทั่ง นพ.พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ เผยว่า ผู้เสียชีวิตรายนี้ได้มาฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลหาดใหญ่จริง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ส่วนการหาสาเหตุว่าเสียชีวิตจากเหตุใด ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำลังพิสูจน์ว่ามาจากสาเหตุใดกันแน่
ส่วนจะเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่ต้องรอผลการสอบสวนที่แน่ชัด

อ่านข่าว : ผอ.รพ.หาดใหญ่ เผยปมหญิงสาวเสียชีวิต หลังมาฉีดวัคซีนโควิดได้ 2 อาทิตย์

ซึ่งในสังคมเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ และตั้งคำถามถึงการเสียชีวิตของหญิงสาวรายดังกล่าว หลังจากฉีดวัคซินโควิดและมีประวัติทานยาคุมกำเนิด ล่าสุด นาย จิตรภณุ ภูมิฉัฏฐ์มงคล ได้สัมภาษณ์พิเศษ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ พร้อมทั้งสอบถามถึงการเกิดลิ่มเลือดในปอดหลังจากฉีดวัคซีนโควิด มีส่วนเกี่ยวข้องจากการกินยาคุมกำเนิดหรือไม่ 

ผู้หญิงคนนี้กินยาคุมกำเนิดอยู่ แล้วไปฉีดวัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนเชื้อตาย หลังจากนั้น 5 วัน ไม่สบายและอีก 7-8 วัน หัวใจหยุดเต้น พบเจอลิ่มเลือดอุดตันในปอดเสียชีวิต มันก็เป็นเหตุการณ์ร่วม แต่ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นผลจากการฉีดวัคซีน เพราะ

1.ผู้หญิงมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ ประมาณ 1 ใน หมื่น แต่ถ้าไปกินยาคุมกำเนิดจะเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่า ยาคุมกำเนิดทำให้เลือดแข็งตัวมากขึ้น มันก็เกิดลิ่มเลือดที่หลอดเลือดในขา และหลุดไหลอุดในปอด ทำให้เกิดอาการ เหนื่อย เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ถ้าอุดตันขนาดใหญ่มากเลือดจะไม่สามารถรับออกซิเจนได้ หัวใจหยุดเต้นเสียชีวิตได้ ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ 
อาจไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนเลย 

เป็นปัจจัยเสริมกันมั้ย ว่าจะทำให้มีภาวะการเกิดลิ่มเลือดมากขึ้นหลังได้รับวัคซีน ขณะที่กินยาคุมกำเนิด ? 

อันนี้เราก็ไม่รู้ เพราะว่าโอกาสลิ่มเลือดเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนซิโนแวค อาจจะ 1 ในล้าน แต่จากการกินยาคุมกำเนิดอาจจะ 1 ในหมื่น
อาจจะมาเสริมกันไม่มีใครรู้ แต่ก็ต้องดูว่ามันเกิดจากสาเหตุหลักก็คือยาคุมกำเนิด 

แล้วถ้าเปลี่ยนวัคซีน ไม่ใช่ซิโนแวค อาจจะเป็นแอสตราเซเนกา โอกาสจะเป็นอย่างไร ?

ถ้าเป็นแอสตราเซเนกามีโอกาสเกิดลิ่มเลือด แต่กลไกของการเกิดลิ่มเลือด มันแตกต่างจากการกินยาคุมกำเนิดกลไกของการเกิดลิ่มเลือดของแอสตรามันจะเป็นที่ตำแหน่งผิดกันด้วย ยาคุมกำเนิดทำให้เกิดลิ่มเลือดที่ขา ลิ่มเลือดที่ปอดของแอสตราจะเป็นที่สมอง และหลอดเลือดดำในช่องท้อง อาการจะไม่เหมือนกัรอาการก็จะปวดหัวตาม แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดมันน้อยมันจะไปที่อื่นมากกว่า 
 

ทำไมเราถึงได้ยินข่าวว่าการฉีดวัคซีนแล้วทำให้เกิดลิ่มเลือด มันมีกลไกการทำงานยังไงทำให้เกิดลิ่มเลือด ?

ของแอสตรามันคล้ายๆกลไกเรื่องของภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันไปทำลายเกล็ดเลือดของเราเกล็ดเลือดของเราก็จะต่ำลง ทำให้เกล็ดเลือดของเราแตกสลาย ไปกระตุ้นทำให้เกิดลิ่มเลือด การรักษาก็จะแตกต่างจากการรักษาลิ่มเลือดจากการกินยาคุมกำเนิด และการเกิดลิ่มเลือดจากแอสตราพบน้อยมาก 1 ใน แสน หรือ 1 ใน 5 แสน แต่ลิ่มเลือดจากการกินยาคุมกำเนิดมันเกิดขึ้นเยอะกว่า  4 ใน หมื่น 

แสดงว่า เราจะต้องแนะนำคนที่กินยาคุมกำเนิดอย่างไร ก่อนฉีดวัคซีน ?

ในต่างประเทศ หรือ อเมริกา เขาก็ไม่ได้บอกให้งด ก็กินต่อไป แต่ถ้าเกิดมีอาการก็ต้องรีบแจ้งให้หมอทราบ หมอจะได้รักษาอย่างถูกต้อง ถ้าลิ่มเลือดอุดในปอดจากการกินยาคุมกำเนิดก็ให้ยาตัวหนึ่ง แต่ถ้าลิ่มเลือดเกิดจากแอสตราเซเนกา ก็ต้องให้ยาอีกตัวหนึ่ง ต้องวินิจฉัยให้ได้ และต้องรักษาให้ถูกต้อง มันก็จะดีขึ้น 

ขอบคุณข้อมูล สวพ.FM91

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ