ข่าว

กฟก.เร่งเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ควบคู่การฟื้นฟูอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กฟก.เร่งเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ควบคู่การฟื้นฟูอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ประธานบอร์ดบริหารฯมั่นใจมาถูกทางช่วยพี่น้องเกษตรกรไปสู่ชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน

นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร(กฟก.)กล่าวในรายการ”กฟก.ร่วมคิด ชีวิตเกษตรกรมั่นคง”ทางเนชั่น ทวี ช่อง22 เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 29 พ.ค.64 ที่ผ่านมา โดยระบุว่าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งขึ้นมาตาม พ.ร.ก.กองทุนฟื้นฟูฯเมื่อปี 2542 ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศจากทั้งหมดกว่า 5 หมื่นกลุ่มเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานงานกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อขอรับการช่วยเหลือทั้งการแก้ปัญหาหนี้และการฟื้นฟูอาชีพให้กับพี่น้องเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง  
“ กฎหมายนี้จึงมีลักษณะเฉพาะคณะกรรมการหรือบอร์ดใหญ่ของกองทุนฯมีทั้งสิ้น 41 คน ประกอบไปด้วย ตัวแทนพี่น้องเกษตรกร 20 คนและตัวแทนภาครัฐ 20 คนที่มากกว่าคือตัวประธาน  ปัจจุบันมีท่านจุรินทร์(ลักษณวิศิษฐ์) รองนรายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน”
 

                กฟก.เร่งเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ควบคู่การฟื้นฟูอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

                  นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรหรือกฟก.

นางรัชฎาภรณ์ กล่าวถึง สิ่งที่คิดคาดหวังหลังเข้ามารั้งตำแหน่งประธานบอร์ดบริหารมาเกือบ 2 ปีว่าก็เป็นไปตามพันธกิจขององค์กร ซึ่งถ้ายึดตามตัวอักษรก็เป็นไปตามวิสัยทัศน์คือให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพได้อย่างมั่นคงบนรากฐานที่เข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 “รู้สึกว่าไป ๆ มา ๆ เกษตรกรสมัยนี้ยึดหลักนี้ไม่ค่อยได้ เพราะบางทีมันมีเงินเทลงมา เงินโครงการบ้าง เงินรัฐบาลบ้าง อะไรที่ลงมาเยอะแล้วการบริหารจัดการไม่ดี ก็จะเกิดปัญหา ภาระหนี้สินก็จะตามมา เพราะฉะนั้นงานลำดับของเราควรส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมเพื่อให้เกษตรกรเข้มแข็งมีอาชีพที่มั่นคง  เมื่อเขามีอาชีพ มีรายได้ก็จะมีเงินมาใช้หนี้กองทุนฯ นี่คือสิ่งที่หวัง”

กฟก.เร่งเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ควบคู่การฟื้นฟูอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

          เกษตรกรจ.พะเยาได้รับโฉนดที่ทำกินคืนจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯหลังชำระหนี้ครบตามจำนวน

ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูฯ ย้ำด้วยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้พึ่งพาตัวเองได้และทำงานช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แม้ระยะหลังจะมีค่านิยมของสังคมทุนนิยมเข้ามาทำลายวิถีชีวิตของชาวบ้าน  ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่แบบตัวใครตัวมันมากขึ้น จึงเป็นภารกิจสำคัญของกองทุนฟื้นฟูฯที่จะพลิกฟื้นวิถีชีวิพี่น้องเกษตรกรให้กลับมาสู่ความพอเพียง มีอาชีพไม่รายได้และไม่มีหนี้ ภายใต้โครงการฟื้นฟูอาชีพและพัฒนาเกษตรกร
 “อยากจะบอกพี่น้องเกษตรกรว่า ถ้าอยากจะเป็นสมาชิกกองทุน ท่านก็รวมกันมาขึ้นทะเบียนกับเราแล้วไม่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว แม้แต่สลึงเดียว ส่วนการเขียนโครงการฯท่านจะต้องเขียนเอง พี่น้องคุยกันเอง เพราะท่านจะรู้ปัญหาดีที่สุด  หากมีปัญหาก็สามารถปรึกษากับคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดของท่านที่จะช่วยดูแลคอยให้คำปรึกษาอีกทางหนึ่ง”นางรัชฎาภรณ์กล่าวย้ำ
ขณะที่นาย ประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกล่าวเสริมว่า จากการประชุมคณะกรรมการบริหารฯล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมาที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบอนุมัติเงินกู้ยืมให้กับพี่น้องเกษตรกรในโครงการฟื้นฟูอาชีพที่ได้ยื่นขอเข้ามา จำนวนทั้งสิ้น 294 โครงการ คิดเป็นเงินกว่า 155 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามมีหลายโครงการฯที่ได้รับการอนุมัติก่อนหน้านี้และได้มีการเบิกจ่ายไปดำเนินโครงการฯเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยแล้วเช่นกัน
 “ขอบอกว่าองค์กรเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ท่านสามารถยื่นเสนอโครงการเข้ามาได้ทุกวันที่สำนักงานสาขาในจังหวัดของท่าน จึงอยากให้พี่น้องเกษตรกรที่มีความตั้งใจรีบมาใช้สิทธิ์ของท่าน แล้วจะได้ตั้งหน้าตั้งตาประกอบอาชีพต่อไป”นาย ประยงค์กล่าว
ด้านนายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหารฯสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯคนที่1 กล่าวถึงประเด็นการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรว่ากฎหมายระบุชัดว่าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯเป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการกับคนจนไม่มีทางออกในเรื่องหนี้สิน  ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯจะเข้ามาดูแลจุดบอดตรงนี้ เป็นภารกิจหลักที่ทำควบคู่ไปกับการฟื้นฟูอาชีพ 
“เราเชื่อว่าอาชีพเดิมที่พี่น้องทำกินมา เขาไม่ได้ยากจนหรอก แต่ที่ยากจนเพราะบริบทในประเทศนี้มันไม่เอื้อให้กับเขา เขาเป็นแค่คนผลิต แต่ไม่มีโอกาสเข้าไปสู่การเป็นเจ้าของผลผลิต จึงไม่มีโอกาสได้รับรู้เลยว่าเส้นทางเดินไปข้างหน้ามันเป็นอย่างไร ทำให้วังวันของหนี้สินก็ยังคงอยู่”นายยศวัจน์กล่าวถึงปัญหาความยากจนซ้ำซากของพี่น้องเกษตรกร 
 ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการหนี้ขึ้นมาเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาหนี้สินของพี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะหนี้ที่กำลังเข้าสู่ขั้นตอนการบังคับคดี 
 “เมื่อกองทุนเข้าไปซื้อหนี้นั้นมา กรรมสิทธิ์ก็จะถูกเปลี่ยนมือจากเกษตรกรมาเป็นของกองทุนฯ ข้อดีของมันคือ อาจมีเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ไปฟ้องดำเนินคดี ไปสืบทรัพย์มา ถ้าวันหนึ่งเกษตรกรไม่มีทางออก หนี้หลักพันหลักหมื่นแต่ไปยึดทรัพย์สินหลักล้าน ซึ่งมีเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ 
เพราะฉะนั้นเมื่อทรัพย์สินถูกโอนมาเป็นของกองทุนฯเจ้าหนี้ก็ไม่สามารถตามมายึดได้  เพราะมีมาตรา8 กำกับไว้ว่าทรัพย์สินใดที่ตกเป็นของกองทุนไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี”รองประธานกรรมการบริหารฯสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯคนที่1 กล่าวย้ำทิ้งท้าย
                                    

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ