ข่าว

เมื่อแอนิเมชั่นจีนผงาดในเวทีโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อแอนิเมชั่นจีนผงาดในเวทีโลก

โดย - ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

ขอสวัสดีปีใหม่ผู้อ่านทุกท่านครับ ... วันนี้เราจะไปรู้จักธุรกิจแอนิเมชั่นโลก และเจาะลึกถึงแอนิเมชั่นจีนที่กำลังพุ่งทะยานกัน
ในยุคดิจิตัล แอนิเมชั่นถือเป็นธุรกิจใหญ่ในอุตสาหกรรมบันเทิง แต่ “ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว” มิได้จำกัดอยู่เฉพาะวงการบันเทิงผ่านภาพยนตร์ โทรทัศน์ สื่อโฆษณา และสวนสนุก แต่ได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในวงการอื่นในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การผลิตการส่งออก แพทย์ ทหาร และอื่นๆ 

อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นโลกจึงมีขนาดใหญ่มากกว่าที่หลายคนคาดคิดไว้มาก โดยในปี 2019 ตลาดแอนิเมชั่นโลกมีมูลค่ากว่า 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของขนาดเศรษฐกิจโดยรวมของไทย และว่าจ้างแรงงานฝีมือคุณภาพสูงเป็นจำนวนมาก 

                    เมื่อแอนิเมชั่นจีนผงาดในเวทีโลก

                        ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

ยิ่งหากนับรวมสินค้าที่เกี่ยวข้องที่เรียกกันว่า “เมอร์แชนไดซ์ซิ่ง” ด้วยแล้ว มูลค่าก็พุ่งสูงถึง 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 
สหรัฐฯ เป็นผู้นำในธุรกิจนี้ โดยครองสัดส่วนทางการตลาดอยู่ที่ราว 1 ใน 3 ของมูลค่าตลาดโดยรวม  ขณะที่ญี่ปุ่นตามมาเป็นอันดับ 2 ของโลก มีสัดส่วนราว 10% ของทั้งหมด และครองตลาดในเชิงปริมาณด้วยสัดส่วนที่สูงถึง 60% ของตลาดโลก อีกรายที่สำคัญก็ได้แก่ เกาหลีใต้ที่เน้นขายแอนิเมชั่นออนไลน์ก็มียอดจำหน่ายพุ่งขึ้นจนกระโดดขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ของโลก
แล้วแอนิเมชั่นจีนล่ะอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร จุดเด่นในด้านใด และจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำโลกได้หรือไม่ อย่างไร 
เพื่อให้เข้าใจอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นจีนในปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาในอนาคต ผมขอเสนอภาพรวมของการพัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงก่อนทศวรรษ 1960 ... ยุคเด็กแบเบาะ ปี 1918 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแอนิเมชั่นยุคใหม่ของจีนเมื่อ “Out of the Inkwell” แอนิเมชั่นสัญชาติอเมริกันแพร่ภาพที่นครเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก และในช่วงทศวรรษ 1920 จีนก็เริ่มสร้างเกมส์การ์ตูนและคลิปการ์ตูนงานโฆษณาสินค้าจีนเป็นครั้งแรก แต่มุ่งเน้นความเป็นจีนเป็นสำคัญ
ในปี 1935 จีนผลิตและเปิดตัว “The Camel's Dance” ภาพยนตร์แอนิเมชั่นสั้นพร้อมเสียงในตลาดจีนเป็นครั้งแรก แอนิเมชั่นที่ผลิตขึ้นในเวลาต่อมามีความยาวและคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยลำดับ และในปี 1941 จีนผลิต “Princess Iron Fan” ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องแรกของเอเชีย 
ในทศวรรษ 1950 Shanghai Arts and Film Production Company ได้ถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลกลางของจีน กิจการดังกล่าวประสบความสำเร็จในยุคแรกของจีน และกลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมฯนี้ของจีนยังมีขนาดเล็ก และต้องการทรัพยากรและเวลาในการพัฒนาอีกมาก
ปี 1960-1978 ... ยุคตกต่ำ พัฒนาการของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นหยุดชะงักลงเมื่อจีนเข้าสู่ทศวรรษของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปี 1966 ผู้ผลิตและนักวาดการ์ตูนในวงการถูกสั่งให้หยุดประกอบการ วัฒนธรรมอันดี นิทาน และเรื่องราวที่น่าสนใจซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญของอุตสาหกรรมฯ ได้ถูกกดไว้และสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมฯ แทบต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ กอปรกับการขาดการพัฒนาคนและเทคโนโลยี ทำให้อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นของจีนในยุคก่อนเปิดประเทศนับว่าล้าสมัย เมื่อเทียบกับของต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนภายใต้การนำของท่านประธานเหมา เจ๋อตง ก็มิได้เปิดตลาดแอนิเมชั่นแก่ต่างชาติ ฮ่องกงที่ถูกบริหารโดยรัฐบาลอังกฤษตามสัญญาเช่าเกาะนับเป็นแหล่งเดียวที่นำเข้าภาพยนตร์การ์ตูนจากต่างประเทศ เป็นผู้บริโภครายย่อยมากกว่าผู้ผลิต โดยการนำเข้าในยุคนั้นส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่น และสหรัฐฯ  
ปี 1979-1999 ... ยุคฟื้นคืนชีพ การเปิดประเทศสู่โลกภายนอกของท่านเติ้ง เสี่ยวผิงเปรียบเสมือนการฉีดยาปลุกวิญญาณอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นจีนขึ้นมาอีกครั้ง 
ขณะเดียวกัน ความสำเร็จในการพัฒนาพัฒนาประเทศจนเป็นผู้นำของเอเซียตะวันออก และการต่อยอดการ์ตูนโทรทัศน์เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นอย่าง “Astro Boy” ของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1980 ได้กระตุ้นให้รัฐบาลจีนหันกลับมาให้ความสนใจในการพัฒนาแอนิเมชั่นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบนครเซี่ยงไฮ้ 
ในช่วงเวลาดังกล่าว วงการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ทำให้สามารถผลิตผลงานได้สะดวก รวดเร็ว และมีคุณภาพดีขึ้น 
แอนิเมชั่นจีนที่ผลิตขึ้นในยุคนี้จึงมีเนื้อหาและใช้เทคนิคการผลิตที่หลากหลายมากขึ้น แต่อุตสาหกรรมฯ ก็ยังคงพัฒนาไปอย่างช้าๆ ภายใต้การคุมเข้มของส่วนกลาง
Shanghai Animation Film Studio ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ และสตูดิโออื่นพยายามปรับแต่งเนื้อหาจากเค้าโครงจากนิทานจีนยอดนิยม โดยลดโทนความเป็นจีนลง ซึ่งนำไปสู่รางวัลประกาศเกียรติคุณจำนวนมากจากสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ 
ปี 2000-2014 ... ยุควัยคะนองศึก อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นจีนเริ่มกลับมามีชีวิตชีวานับแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000 ทั้งนี้ นับแต่ปี 2006 รัฐบาลจีนตระหนักว่าแอนิเมชั่นเป็นพื้นฐานสำคัญของอัตลักษณ์ชาติและการพัฒนาวัฒนธรรมจีน
รัฐบาลจีนมีจุดยืนที่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศมากกว่าการนำเข้า พร้อมออกมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมฯ ตามมา โดยตั้งเป้าให้มีบทบาทเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1% ของจีดีพีภายใน 5 ปีข้างหน้า
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้มีผู้ประกอบการสนใจลงทุนมากขึ้น ในช่วงระหว่างปี 2006-2010 จำนวนผู้ผลิตแอนิเมชั่นโทรทัศน์เพิ่มขึ้นเป็น 200 ราย ขณะที่กิจการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ขึ้นทะเบียนไว้ก็เพิ่มขึ้นเป็นราว 70 ราย
ผู้ผลิตเหล่านี้ต่างหวังเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเศรษฐกิจที่เติบโตในอัตราเฉลี่ยถึง 10% ต่อปี และขนาดของตลาดเด็กและวัยรุ่นจีนที่มีจำนวนราว 400 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรของสหรัฐฯ หรือแม้กระทั่งทุกประเทศในสหภาพยุโรปรวมกันเสียอีก 
ในยุคนี้ สตูดิโอจีนสามารถผลิตแอนิเมชั่นได้มากและหลากหลายขึ้น ทำให้ได้รับการยอมรับจากชาวจีนมากยิ่งขึ้น หนึ่งในผลงานได้แก่  ภาพยนตร์เรื่อง “Happy Sheep 2” หรือ “สี่หยางหยาง” ภาค 2 ที่สามารถทำรายได้จากค่าบัตรผ่านประตูสูงถึง 12.5 ล้านหยวนในตลาดจีน ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมถึง 3 เท่าตัว 
แอนิเมชั่นยังถูกใช้ในงานใหญ่ที่จีนเป็นเจ้าภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 2008 ที่ปักกิ่ง และมหกรรมโลกในปี 2010 ที่เซี่ยงไฮ้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นจีนกลับมามีความหวังขึ้นอีกครั้ง
แต่การผลิตแอนิเมชั่นของจีนก็ยังห่างไกลจากคำว่าอิ่มตัว เพราะนอกจากขีดความสามารถในการผลิตจะต่ำกว่าอุปสงค์ภายในประเทศแล้ว ยังมีคุณภาพต่ำในเวทีระหว่างประเทศ
เพื่อให้สามารถปลุกกระแสความนิยม และเพิ่มการส่งออกแอนิเมชั่นให้มากกว่าเพียง 2-3 ชิ้นงานต่อปี จีนจึงมีการบ้านข้อใหญ่ในการพัฒนาระบบนิเวศให้พรั่งพร้อมขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง และเสริมสร้าง “ซอฟท์พาวเวอร์” ในเวทีระหว่างประเทศ แอนิเมชั่นจีนยังต้องพัฒนาด้านเทคโนโลยี บุคลากร และหุ้นส่วนทางธุรกิจ รวมทั้งคอนเท้นต์ที่ได้รับการยอมรับจากซีกโลกตะวันตก 
ในปลายยุคนี้ จากข้อมูลของ State Administration of Radio, Film and Television (SARFT) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมฯ ระบุว่าจีนมีผู้ผลิตแอนิเมชั่นที่มีผลงานเป็นประจำอยู่ราว 30 รายในปลายยุคนี้
ขณะเดียวกัน กิจการของต่างชาติได้เริ่มเข้ามาร่วมลงทุนกับกิจการของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DreamWorks Animation จับมือกับ China Media Capital ก่อตั้ง Oriental DreamWorks ซึ่งต่อมาก็สร้างผลงานระดับอินเตอร์อีกหลายชิ้นในยุคต่อมา
ปี 2015-ปัจจุบัน ... ยุคพุ่งทะยาน แม้ว่าจะเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศช้ากว่าผู้นำในวงการอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น แต่จีนก็นับว่าเป็นผู้ตามที่ดี ทั้งในแง่การผลิตและการบริโภค
ในด้านอุปทาน จีนต่อยอดจากยุคก่อนได้เป็นอย่างดี การส่งเสริมของรัฐบาลจีน และการพัฒนาผู้ผลิตในวงการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำให้ระบบนิเวศด้านแอนิเมชั่นของจีนเติบใหญ่ 
ผู้ผลิตแอนิเมชั่นจีนเพิ่มจำนวน แตกไลน์ ขยายการลงทุน พัฒนาความร่วมมือกับต่างชาติ และปรับกลยุทธ์ใหม่ๆ ตามระดับการแข่งขันของตลาดจีนที่สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา และส่งผลให้จีนพัฒนาเป็นผู้ผลิตแอนิเมชั่นที่แข็งแกร่งขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยขยายตัวเฉลี่ยถึง 15% ต่อปี และยกระดับคุณภาพโดยลำดับ
ผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง Enlight Media, Wanda Media, Light Chaser, BaseFX, Fantawild และ Original Force เป็นสตูดิโอหลักที่ผลิตผลงานป้อนตลาดภาพยนตร์และโทรทัศน์จีน ขณะที่ Pearl Studio และ Huayi Wink Animation เน้นรับงานช่วงจากรายใหญ่ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมของรัฐบาลจีนยังขยายต่อไปถึงกิจการหน้าใหม่ ส่งผลให้สตาร์ตอัพแดนมังกรสามารถยกระดับการผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ และนำเสนอผลงานที่มีคุณภาพสูงสู่ตลาดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ขณะที่ช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยเฉพาะสตรีมมิ่งแพล็ตฟอร์มรายใหญ่อย่าง iQiyi, Youku, Tencent, NetEase และ Bilibili ขณะเดียวกัน สตาร์ตอัพก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ พยายามแข่งขันด้วยกลยุทธ์ที่แปลกใหม่ ซึ่งนำไปสู่ผลงานแอนิเมชั่นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น แพล็ตฟอร์ม u17.com ก็เคยสร้างเครือข่ายนักเขียนการ์ตูนของจีนถึง 14,000 คนมาเพื่อผลิตผลงานถึงกว่า 40,000 ชิ้นงานภายในปีเดียว 
นอกจากสตูดิโอเหล่านี้ผลิตแอนิเมชั่นในจีนเพื่อตลาดจีนแล้ว ก็ยังพยายามมองหาโอกาสทางธุรกิจจากตลาดต่างประเทศ โดยพยายามนำเสนอสาระในเชิงวัฒนธรรม เลือกใช้กลยุทธ์ที่แตกต่าง และใช้ประโยชน์จากนโยบายของภาครัฐอีกด้วย
Light Chaser เคยประสบความสำเร็จกับแอนิเมชั่น “White Snake” ด้วยการนำเสนอนวนิยายยอดฮิตที่แฝงไว้ด้วยข้อคิด คติธรรม และความรักในรูปแบบที่ทันสมัยและน่าสนใจ 
นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า ผู้ผลิตของสหรัฐฯ เน้นตลาด “การ์ตูนโรง” ขณะที่สตูดิโอของจีนเน้นจับตลาดการ์ตูนทีวีและออนไลน์เป็นเป้าหมายหลัก 
ในยุคนี้ จีนให้ความสำคัญกับคุณภาพและพยายามปรับสาระให้เป็นอินเตอร์ควบคู่ไปกับการปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อให้แอนิเมชั่นจีนเข้าไปอวดโฉมในตลาดต่างประเทศ และทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในช่วงหลายปีหลังนี้
ปัจจุบัน แอนิเมชั่นจีนกระจายสู่ตลาดต่างประเทศในหลายช่องทาง รวมทั้งผ่านแพล็ตฟอร์มดังอย่าง Netflix และยังได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมากขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในช่วงหลายปีหลัง
โดยปี 2015 อาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของอนาคตที่รุ่งโรจน์ของแอนิเมชั่นจีนในเวทีโลก เมื่อ Shanghai Animation Film Studio นำเสนอ “Monkey King: Hero Is Back” และสามารถทำบ็อกซ์ออฟฟิศกว่า 900 ล้านหยวน ซึ่งเป็นสถิติรายได้สูงสุดเท่าที่เคยมีมาในยุคนั้น 
แต่สถิติดังกล่าวก็ถูกโค่นในปีถัดมาเมื่อ “Kung Fu Panda 3” ที่รังสรรค์ผลงานจีนแนวใหม่ได้อย่างลงตัวโดย Oriental DreamWorks สามารถทำรายได้กว่า 1,000 ล้านหยวนเป็นครั้งแรก ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของแอนิเมชั่นของสหรัฐฯ 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว 
“Boonie Bears” ซีรีย์จากค่าย Fantawild Animation แห่งเซินเจิ้นที่นำเสนอในจีนภาคแรกนับแต่ปี 2014 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการปรับหน้าตาแอนิเมชั่นจีนให้ดูเป็นอินเตอร์ อาทิ การแปลและทำโปสเตอร์โฆษณาในหลายภาษา อาทิ อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส และโปรตุเกสจนสามารถสร้างกระแสความนิยมในกว่า80 ประเทศรวมทั้งบนแพล็ตฟอร์มของ Disney, Sony, Netflix และ Discovery Kids 
ขณะเดียวกัน โดยที่ตลาดจีนที่ใหญ่และเต็มไปด้วยศักยภาพ แต่ไม่เปิดกว้าง ทำให้ผู้ผลิตต่างชาติ อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ สนใจที่จะขยายความร่วมมือกับกิจการจีน ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก 
ข้อจำกัดดังกล่าวได้ผันตัวเองเป็นปัจจัยเชิงบวกที่เพิ่มความร่วมมือระหว่างจีนและต่างชาติ และยกระดับผลงานของแอนิเมชั่นสัญชาติจีนได้อย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีหลัง อาทิ “Abominable” ที่ร่วมผลิตระหว่าง DreamWorks และ Pearl Studio จากเซี่ยงไฮ้ และ Wish Dragon ที่ BaseFX จากปักกิ่งจับมือกับ Sony Pictures Animation
ล่าสุดในปี 2019 Enlight Media ก็ร่วมมือกับต่างชาติอีกครั้งด้วยการนำเสนอ “Ne Zh

โปรลาซาด้า

     เมื่อแอนิเมชั่นจีนผงาดในเวทีโลก

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ