ข่าว

สกสว. เผยทิศทางยุทธศาสตร์ พร้อมขับเคลื่อนระบบ ววน. นำร่องแก้ปัญหาพื้นที่ภาคเหนือ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รมว.อว. ลงพื้นที่จังหวัดลำปางมอบนโยบายเดินหน้าโครงการ "ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน"  ด้าน สกสว. เสนอทิศทางยุทธศาสตร์ใช้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกขับเคลื่อนองค์ความรู้ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมแก้ปัญหาพื้นที่ภาคเหนือ 

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563  ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมประชุมหารือกับส่วนราชการในจังหวัด และตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดลำปาง พร้อมมอบนโยบายแนวทางการใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนโครงการ “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ในส่วนพื้นที่จังหวัดลำปาง ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

โอกาสนี้ ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการภารกิจการจัดทำแผนงบประมาณ ดร.ฉัตรฉวี คงดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการภารกิจการจัดทำแผนงบประมาณ และผศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ 
 

สกสว. เผยทิศทางยุทธศาสตร์ พร้อมขับเคลื่อนระบบ ววน. นำร่องแก้ปัญหาพื้นที่ภาคเหนือ 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ดูแลการขับเคลื่อน โครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ในพื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดเลย โดยกระทรวง อว. ถือเป็นกระทรวงที่มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและกำลังคนที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือในการพัฒนาจังหวัดลำปางด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยี โดยปัจจุบันได้มีการตั้งคณะทำงาน อว. ส่วนหน้า โดยแต่งตั้งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เพื่อร่วมหารือแนวทางการทำงานกับทางส่วนราชการจังหวัดลำปางและเป็นศูนย์การเชื่อมต่อการทำงานของ อว. กับความต้องการของพื้นที่ เพื่อให้การทำงานของ อว. ส่วนหน้านั้นสามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ของการสนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณด้านการวิจัย โดยจังหวัดลำปางถือเป็นจังหวัดนำร่องในการขับเคลื่อนโครงการนี้ และมุ่งหวังว่า อว. ส่วนหน้าจะสามารถต่อยอดขยายผลต่อไปทั่วประเทศ

สกสว. เผยทิศทางยุทธศาสตร์ พร้อมขับเคลื่อนระบบ ววน. นำร่องแก้ปัญหาพื้นที่ภาคเหนือ 

นอกจากนี้ รมว.อว.ยังให้นโยบายในการพัฒนาจังหวัดลำปางโดยเน้นตั้งแต่การสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพตั้งแต่เด็ก เสริมสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้า นอกจากนี้ รมว.อว. ยังมีแนวคิดในการสร้างพิพิธภัณฑ์ล้านนา โดยสนับสนุนการใช้ทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง นำมาต่อยอดสร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางในการสร้างคุณค่าและความหมายให้กับจังหวัดลำปางมากยิ่งขึ้น และมอบนโยบาย "ลำปางนิยม" โดยให้สถาบันอุดมศึกษามุ่งเน้นการสร้างความภาคภูมิใจให้คนลำปาง สร้างเมืองลำปางด้วยสติปัญญาและความรัก จะทำให้สามารถพัฒนาจังหวัดลำปางในมิติต่าง โดย อว. พร้อมจะสนับสนุนความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่

สกสว. เผยทิศทางยุทธศาสตร์ พร้อมขับเคลื่อนระบบ ววน. นำร่องแก้ปัญหาพื้นที่ภาคเหนือ 
โอกาสนี้คณะผู้บริหาร สกสว. ได้นำเสนอรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ เศรษฐกิจ สังคม ยุทธศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดลำปาง สกสว. ได้ศึกษาสถานการณ์และภาพรวมงานวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาในจังหวัดลำปาง โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลผลการศึกษาและผลการสำรวจสถานการณ์ในพื้นที่ รวมถึงรวบรวมผลงานวิจัยเดิมเมื่อครั้งทำหน้าที่เป็นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการพัฒนาจังหวัดลำปางในมิติต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์มีกรอบทิศทางการพัฒนาระดับพื้นที่ที่มีความชัดเจน มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และเกิดการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  โดยที่ผ่านมามีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความสำคัญและเร่งด่วนตามกรอบประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน (Delphi ) 6 ด้าน ได้แก่ 1) สังคม 2) เศรษฐกิจ 3) สิ่งแวดล้อม 4) สันติภาพ สิทธิมนุษยชน และความยุติธรรม 5) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาภายในและระหว่างประเทศ และ 6) เทคโนโลยี องค์ความรู้ และนวัตกรรม  พบว่า ภาคเหนือยังต้องการการพัฒนาในทุกด้านภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้นประเด็นพัฒนาที่สำคัญยังคงเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สกสว. จึงมีแนวคิดพัฒนาแผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ภูมิภาค: ภาคเหนือ ในระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2565 - 2568)  มุ่งเน้นแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ 5 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย 1. การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรลดลง 2. ระบบการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมและไม่ตอบสนองท้องถิ่น 3. การพัฒนาระบบเกษตรที่ไม่เอื้อต่อความมั่นคงทางอาหาร 4. ขาดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนบนฐานนิเวศวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ 5. ค่า PM ที่สูงต่อเนื่อง เพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัยที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมตอบโจทย์แก้ไขปัญหาให้กับพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

โปรลาซาด้า

สกสว. เผยทิศทางยุทธศาสตร์ พร้อมขับเคลื่อนระบบ ววน. นำร่องแก้ปัญหาพื้นที่ภาคเหนือ 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ