ข่าว

พบโรคมือ เท้า ปาก ระบาดที่ยะลา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่โรงเรียนรัชตะวิทยา จ.ยะลา ด้วยสถานการณ์ พบโรคมือ เท้า ปาก ระบาดที่ยะลา เด็กต่ำกว่า 5 ปีพบเยอะสุด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง วันที่ 24 สิงหาคม 2563

(25 สิงหาคม 2563) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่โรงเรียนรัชตะวิทยา จ.ยะลา ด้วยสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง วันที่ 24 สิงหาคม 2563 ในพื้นที่ จ.ยะลา พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก (Hand,foot and mouth disease ) จำนวนทั้งสิ้น 82 ราย แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต

 

โดยกลุ่มอายุที่พบ โรคมือ เท้า ปาก สูงสุดคือ

 

- กลุ่มแรกเกิด - 4 ปี จำนวน 70 ราย

 

- กลุ่มอายุ 5-9 ปี จำนวน 9 ราย

 

- กลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวน 3 ราย

ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2563 พบอำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วย โรคมือ เท้า ปาก เพิ่มมากกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน ได้แก่ อ.รามัน (6 ราย) อ.เมืองยะลา (4 ราย) และ วันที่ 24 ส.ค. 2563 ได้รับรายงานจาก รพ.ยะลา พบผู้ป่วยในเขตเทศบาลนครยะลา ได้แก่ นักเรียน รร.รัชตะวิทยา (7 ราย) รร.สาธิตพัฒนา (1 ราย) รร.เทศบาล 6 (2 ราย) และศูนย์พัฒนาเด็กตักวา (1ราย) ซึ่งโรงเรียนบางแห่งได้ดำเนินการควบคุมโรคโดยปิดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่พบผู้ป่วยดังกล่าวและทำความสะอาดอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ ห้องส้วม ตลอดจนสร้างการรับรู้แก่ผู้ปกครอง และการคัดกรองนักเรียนที่มาโรงเรียนทุกวัน

 

นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงการเปิดภาคเรียน และเป็นช่วงฤดูฝน สภาพอากาศที่เย็นและชื้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและแพร่กระจายโรคมือ เท้า ปากได้ง่าย ประกอบกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีคนอยู่ รวมกันจำนวนมาก ซึ่งง่ายต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านสิ่งของใช้และของเล่นได้ ซึ่งผู้ปกครองและครูควรต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

 

โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ มีแนวโน้มพบอัตราป่วยมากที่สุด เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปทางปากโดยตรง จากการติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน หากผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการเล็กน้อย เช่น มี ไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วัน มีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปาก ที่เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น และจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชัก เกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงขอให้ผู้ปกครองและครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด คัดกรองและสังเกตอาการของเด็กก่อนเข้าเรียน

 

 

พบโรคมือ เท้า ปาก ระบาดที่ยะลา

 

 

 

พบโรคมือ เท้า ปาก ระบาดที่ยะลา

นางอังคณา หนูคง ผู้อำนวยการโรงเรียน เปิดเผยว่า อย่างการที่ได้มีการคัดกรองของนักเรียน และทราบว่าเด็กนักเรียนเป็นโรคมือ เท้า ปาก ในการยืนยันพร้อมสาธารณสุขชุมชน และได้ดำเนินการใน เรื่องของการประสานแจ้งผู้ปกครองให้ดูแลลูกหลาน นำเด็กไปที่สถานพยาบาลในวันนั้น หลังจากนั้นก็ทราบก็ได้ และสั่งปิดโรงเรียนเลยนั่นก็คือ หนึ่งห้องเรียนอนุบาล 1/1

 

พอหยุดเสาร์-อาทิตย์ ได้ประสานกับคุณครูและผู้ปกครองนักเรียนทุกคน ถามถึงอาการเด็กมีอาการป่วยเพิ่มขึ้นบ้างไหม และพอวันอาทิตย์ มีคนแจ้งว่ามีเด็กป่วยเพิ่มอีกหนึ่งคน คือเด็กที่อยู่บ้านใกล้เคียงกัน จากการเล่นด้วยกันทุกวัน มีอาการป่วยด้วยการมีเม็ดขึ้น ที่มือ และเท้า โดยสั่งการให้คุณครูปิดห้องเรียนชั้นอนุบาล 1/1 และเช้าวันถัดมา สำหรับในนั้น ตั้งแต่ 7 โมงเช้า ให้คุณครูคัดกรองนักเรียนจากหน้าประตูโรงเรียน ให้สังเกตอาการนักเรียน เกี่ยวกับอาการ เม็ดขึ้นมาไหม และแจ้งให้ทราบหลังจากที่คัดกรองนักเรียนจากหน้าประตูโรงเรียนได้พบนักเรียนเพิ่มอีกหนึ่งคน และได้แยกนักเรียนเพื่อป้องกันการติดต่อกัน และสั่งให้คุณครูทุกคนตรวจสอบตาม เท้าและมือของนักเรียนทุกห้อง

 

จากนั้น ได้เจอเด็กนักเรียนมีอาการเพิ่มอีก 1 คน คือเด็กนักเรียนชั้น ป. 3/2 และได้เรียนที่ปรึกษาท่านผู้มีใบอนุญาต โดยให้สั่งปิดโรงเรียน และประสานผู้ปกครองเป็นรายบุคคล เพื่อให้เข้ามารับลูกหลานแจ้งให้ผู้ปกครองเข้าใจ ซึ่งทำหนังสือให้ผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร ทางโรงเรียนจะขอทำการปิดโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 24 -28 สิงหาคม 2563 หลังจากนั้นได้ประสานกับสาธารณะชุมชนอีกครั้ง เพื่อขอแผ่นพับและรายละเอียดเพื่อให้ผู้ปกครองได้ทราบและได้ดำเนินการส่งหนังสือให้กับผู้ปกครองทุกคน

 

โดยวิธีการการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก มีดังนี้

 

1. โรงเรียนหรือสถานศึกษา ควรมีการคัดกรองเด็กทุกเช้าก่อนเข้าเรียน สอนให้เด็กล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นประจำ หากพบเด็กป่วยให้แยกออกมา แจ้งผู้ปกครองให้มารับกลับและพักรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ

 

2. หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ เช่น ภาชนะใส่อาหาร ห้องน้ำ ห้องส้วม ของเล่นต่างๆ

 

3. ผู้ปกครองหมั่นสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และหลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กไปในสถานที่ที่มีคนแออัดเช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ สนามเด็กเล่น ตลาด ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้เด็กอื่นๆ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคมือ เท้า ปาก สามารถข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา โทร. 073-212008 ต่อ 306

 

 

 

ภาพ-ข่าว นายมาวันดี รามันห์สิริวงศ์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำ จ.ยะลา

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ