ข่าว

"แพทย์-ผู้เชี่ยวชาญ" ชี้ WHO ควรปรับบทบาทใหม่ใช้นวัตกรรมบุหรี่ไฟฟ้าช่วยคนเลิกสูบบุหรี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"แพทย์-ผู้เชี่ยวชาญ" ชี้ WHO ควรปรับบทบาทใหม่ใช้นวัตกรรมบุหรี่ไฟฟ้าช่วยคนเลิกสูบบุหรี่ ไม่ยึดติดกับวิธีควบคุมยาสูบอันล้าหลัง ไม่เปิดรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่

องค์การอนามัยโลก(World Health Organization) หรือ WHO กำลังถูกท้าทายบทบาทในฐานะองค์กรอิสระที่มีบทบาทและหน้าที่หลักในการประสานความร่วมมือด้านสุขภาพอนามัยระดับโลก โดยถูกตั้งคำถาม ยกตัวอย่างเช่นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO ยื่นคำขาดให้ปฏิรูปองค์กรภายใน 30 วัน เพราะ“ทำงานล้มเหลว” ในการรับมือและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19  มิเช่นนั้นสหรัฐฯ จะยุติการให้เงินสนับสนุนและถอนตัวออกจากสมาชิก ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะได้ยินชื่อของ WHO ในการทำงานรณรงค์สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยเช่น การดูแลสุขภาพจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรณรงค์งดสูบบุหรี่ และที่เด่นชัดที่สุดคือการจัดการกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ เช่นกรณีการระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้

"เช่นเดียวกับกรณีของการรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ ที่ผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติต่างออกมาเตือนว่า WHO กำลังจะเสียโอกาสช่วยชีวิตคนอีกหลายล้านชีวิตเพียงเพราะยึดติดกับวิธีควบคุมยาสูบอันล้าหลัง ไม่เปิดรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่อย่างบุหรี่ไฟฟ้า ที่อาจจะส่งผลบวกต่อเป้าหมายการลดจำนวนผู้ป่วยโรคร้ายที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ อาทิ โรคมะเร็ง โรคปอดและโรคหัวใจได้

 ​นายทอม มิลเลอร์ ผู้มีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางในฐานะอัยการสูงสุดระดับรัฐของสหรัฐอมริกาที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานที่สุดในปัจจุบันและยังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญที่ฟ้องคดีผู้ประกอบการยาสูบมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า WHO เหมือนจะหลงลืมเป้าหมายและภารกิจของตนเองไปแล้วว่าต้องหาทางช่วยชีวิตผู้สูบบุหรี่และลดการเกิดโรคซึ่งสามารถทำได้โดยการสนับสนุนหรือกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่า

 ​ศาสตราจารย์เดวิด อบรัมส์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยสาธารณสุขสากลแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอมริกา กล่าวเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก (ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี) ว่ามีคนจำนวนมากที่สุขภาพดีขึ้นเพียงเพราะหันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าหรือผลิตภัณฑ์เสพนิโคตินแบบไร้ควันทดแทนบุหรี่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่นี้มีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไปอยู่มาก 

“ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเลยที่ WHO พยายามห้ามใช้หรือควบคุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้แบบสุดโต่ง ทั้งที่ยังปล่อยให้บุหรี่มีวางขายอยู่ทั่วไป” เช่นเดียวกับ นายไคล์ฟ เบทส์ อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ของประเทศอังกฤษ ที่แสดงความประหลาดใจว่าองค์การอนามัยโรคใช้ “วันงดสูบบุหรี่โรค” ในการโจมตีผลิตภัณฑ์ทางเลือกทดแทนบุหรี่ แถมยังใช้รูปเด็กในแคมเปญต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าด้วย

 ​นายเดวิด สวีเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์กฎหมาย นโยบายและจริยธรรมด้านสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยออตตาวา ชี้ว่า องค์การอนามัยโลกทำราวกับว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจบุหรี่ยักษ์ใหญ่ทั้งที่จริงแล้วบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดยอดขายบุหรี่และบั่นทอนธุรกิจบุหรี่ต่างหาก 

 ​เสียงสะท้อนถึงการดำเนินงานและจุดยืนของ WHO เหล่านี้กระตุ้นเตือนให้สาธารณชนอย่าได้รับฟังข้อมูลจาก WHO เพียงด้านเดียว รวมถึงตอกย้ำถึงความจำเป็นที่ WHO จะต้องปฏิรูปแนวคิดและการทำงานของตนเองเสียทีเพื่อให้การขับเคลื่อนด้านสาธารณสุขระดับโลกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ