ข่าว

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

 

 

                   วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ วัดบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ อันเป็นที่ตั้งของ องค์พระธาตุของบรรพบุรุษของชนเผ่า กูย หรือ เผ่าส่วย 1 ใน 4 ชนเผ่าของจังหวัดศรีสะเกษ อันได้แก่ ชนเผ่า ส่วย เขมร ลาว และเผ่าเยอ ซึ่ง ณ ที่แห่งนี้มีประวัติอันยาวนานของบรรพบุษที่สร้างบ้านให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยมาจนทุกวันนี้

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

พร้อมทิ้งมรดกอันเรืองรุ่งเอาไว้นั้นก็คือ พระธาตุ 3 องค์ และในทุกๆ ปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ลูกหลาน ไม่ว่าอยู่แห่งหน ตำบลใด ก็จะเดินทางมาเพื่อร่วมงานสืบสานตำนานพันปี ประเพณีไหว้พระธาตุ 15 ค่ำ เดือน 3 บูชาพระอรหันต์ 1,250 องค์ ซึ่งในปีนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท โดย นายชยามร บุญเต็ม นายก อบต. ปราสาท ได้ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน จัดขึ้น โดยมี นายพรชัย วงศ์งาม นายอำเภอห้วยทับทัน เดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน ชมขบวนแห่ข้าวจี่ จากทุกหมู่บ้าน มาร่วมกันถวายองค์พระธาตุ  พร้อมมีสาวงาม ที่แต่งชุดพื้นเมืองของชนเผ่าส่วย ด้วยเสื้อผ้าแส่ว มาร่ายรำถวายรอบองค์ปราสาท

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

นายชยามร บุญเต็ม นายก อบต. ปราสาท กล่าวว่า พระธาตุ หรือ ปราสาทบ้านปราสาท เป็นองค์ปราสาทสามยอด ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่16 สมัยพระเจ้าวรมันที่ 1 ปราสาทบ้านปราสาทเป็นโบราณสถาน ที่มีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ชาวตำบลปราสาท และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเชื่อว่า ปราสาท 3 องค์นี้ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เมื่อปี พ.ศ. 2551 กรมศิลปากร ได้ทำการขุดสำรวจบริเวณปราสาท และหลุดขุดค้นบริเวณด้านหลังองค์ปราสาท ในการขุดสำรวจได้พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย เช่น เทวรูป กำไลสำริด ลูกปะคำสีส้ม กระสุนดินปืน เม็ดพลอย โครงกระดูกมนุษย์โบราณ ที่มีอายุราว 1,500-3,000 ปี ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ที่มีความลึก 7 เมตร และทับหลัง จำนวน 4 ชิ้น ได้แก่ 1.ทับหลังบุคคลทรงโคนนทิ, 2.ทักหลังหน้ากาลคล้ายท่อนพวงมาลัย, 3.ทักหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์, 4.ทับหลังกวนเกษียรสมุทร โดยเฉพาะทับหลังกวนเกษียรสมุทร ที่ขุดพบที่นี่ จะเหมือนกับทับหลังทับหลังกวนเกษียรสมุทร ที่โคปุระ ชั้นที่ 3 ของเขาพระวิหาร คือ จะมีภาชนะคล้ายโอ่งน้ำอยู่บนหลังเต่า จากการศึกษาและสำรวจของกรมศิลปากร จากความเชื่อของชาวส่วย หรือ ชาวกูย ชนพื้นเมืองที่ได้อพยพย้านถิ่นฐานมาตั้งบริเวณนี้ ซึ่งมีความเชื่อทางศาสนา ลักษณะผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธ กับการนับถือผี มีความเชื่อว่า การกราบไหว้บูชาพระธาตุจะสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขให้กับชาวส่วยทุกคน หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดความเดือดร้อนต่าง ๆ นานา ยังเป็นผลให้สืบทอดการปฏิบัติการกราบไหว้บูชา ขององค์พระธาตุรุ่นต่อรุ่นสืบมา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นปีที่ 21 แล้ว

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

ลูกหลานร่วมสืบสานตำนานพันปี ไหว้พระธาตุ

ภาพ/ข่าว นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ผู้สื่อข่าว จ.ศรีสะเกษ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ