ข่าว

มก.-จุฬาฯ เร่งสำรวจค้างคาวมงกุฎไทยหาเชื้อ "โคโรนา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการ มก.-จุฬาฯ เร่งสำรวจค้างคาวมงกุฎไทยหาเชื้อ "โคโรนา" ไม่ห่วงค้างคาวแพร่เชื้อสู่คน ระบุให้โฟกัสคนป่วย ตัวกลางแพร่เชื้อมากกว่า

 

 

          จากกรณีพบรายงานค้างคาวสายพันธุ์มงกุฎเทาแดง ในประเทศจีน ที่พบว่าอาจเป็นต้นตอในการแพร่เชื้อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำให้เกิดความตื่นตระหนกว่าค้างคาวสายพันธุ์ต่างๆ ในไทยจะเป็นตัวแพร่เชื้อหรือไม่  

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

นักวิจัยชี้ค้างคาวคือพาหะไวรัสโคโรน่า เตือนอย่าจับซากค้างคาว

เฟกนิวส์ อ้างนั่งเครื่องพร้อมผู้ป่วยโคโรนา มีสิทธิติดเชื้อ

หมอบรรจบ คารวะแพทย์พยาบาลชาวจีน หาญกล้าต่อสู้ไวรัสโคโรน่า

 

มก.-จุฬาฯ เร่งสำรวจค้างคาวมงกุฎไทยหาเชื้อ \"โคโรนา\"

 

          เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2563 - รศ.ดร.ประทีป ด้วงแค อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า จากการศึกษาค้างคาวในไทยพบว่ามี 140 ชนิด และพบเชื้อไวรัสชนิดใหม่ในค้างค้าวไทยกว่า 400 ชนิด แต่ยังไม่มีรายงานการแพร่เชื้อสู่คน รวมทั้งยังไม่เจอเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ในค้างคาวไทย

 

          รศ.ดร.ประทีป กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมานักวิชาการมีการตรวจหาเชื้อโรคอุบัติใหม่จากค้างคาวทุกๆ ปี นับตั้งแต่การมีรายงานว่าค้างคาวสามารถแพร่โรคอุบัติใหม่ได้ เช่น โรคซาร์ส จากค้างคาว ไปสู่อีเห็น-ชะมด และคน ค้างคาวแม่ไก่ ที่มีเชื้อนิปาห์ มีการติดต่อโดยตรงจากค้างค้าวสู่คนในประเทศบังคลาเทศ หรือติดจากค้างคาว สู่หมู-สู่คน ที่มาเลเซีย รวมทั้งโรคอีโบลา ที่มาจากเชื้อไวรัสในค้างคาวบัวที่แอฟริกา ซึ่งกรณีโรคอีโบลา เจาะหาเชื้อมาแล้วกว่า 1 ปี และผลการศึกษาไม่พบเชื้ออีโบลาในค้างคาวบัวในไทย

 

          นักวิชาการภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ฯ ระบุว่า แต่เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และวางแผนรับมือไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คน ทีมนักวิจัยไทยที่ศึกษาไวรัส และโรคอุบัติใหม่ในค้างคาวทั้งจาก มก. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมลงพื้นที่เจาะเลือด และเก็บสารคัดหลั่งในค้างคาวสายพันธุ์มงกุฎ ซึ่งกระจายตัวและอาศัยอยู่ในถ้ำทั่วประเทศ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา คาดว่าจะเริ่มภายใน 1-2 เดือนนี้    

 

          “เวลานี้ในข้อมูลที่มีอยู่ ยังยืนยันไม่เจอไวรัสโคโรนาในไทย แต่หากไปสุ่มตรวจ แล้วเกิดเจอเชื้อขึ้นมา เช่น จากตัวอย่าง 100 ตัว เกิดเจอเชื้อ 1% กระบวนการควบคุมนโยบาย และมาตรการของไทยก็ต้องเปลี่ยนแล้ว”  รศ.ดร.ประทีป กล่าว

 

กินค้างคาวดิบเสี่ยงรับเชื้อโรคสู่คน

 

          นักวิชาการภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ฯ กล่าวอีกว่า ถ้าให้ประเมินการแพร่เชื้อโรคจากค้างคาว มาสู่คน โอกาสน้อยมาก ไม่น่าห่วง แต่ควรจะโฟกัสคนที่ป่วย และเป็นตัวกลางในการแพร่เชื้อจากคนสู่คนมากกว่า เป็นการจัดการจากคนสู่คน ซึ่งค้างคาวกับคนไทยอยู่ด้วยกันมานานแล้ว ตามบ้าน เพดาน ตามวัด อยู่ใกล้กับคนมานาน และทางคณะแพทย์ จุฬาฯเคยมีการตรวจคนที่มีความเสี่ยง ไม่พบเชื้อจากค้างคาวมาสู่คน แต่ไม่ใช่ว่าจะไปจับค้างคาวมาเล่นได้ ประมาทไม่ได้อย่าทำให้เสี่ยงไปจับค้างคาวมากิน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ