ข่าว

เร่งตรวจสอบอนาคตยางพาราไทยตีบตัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กฤษฏา"สั่งด่วนปลัดกษ.-กยท.เร่งตรวจสอบอนาคตยางพาราไทยตีบตันรับมือผลกระทบวงการยางไทยหลังอียูบังคับรถใช้ยางสังเคราะห์มากขึ้นเหตุยางพาราไม่ตอบโจทย์

 

 

                  21 พฤศจิกายน 2561  นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าสั่งการปลัดกระทรวงเกษตรฯผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)และทูตเกษตร เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง  

 

 

                  ตามที่มีสภาปฏิรูปวงการยางไทย โพสต์เฟสบุ๊กในเรื่องอนาคตยางไทยกำลังตีบตัน เนื่องจากสหภาพยุโรป(อียู) กำลังออกมาตรฐานบังคับใช้ยางรถยนต์แบบใหม่ ที่กำหนดตัวเลขสมรรถนะยางรถยนต์เพิ่มอีก3 ตัว คือ ความสามารถในการประหยัดเชื้อเพลิง ความสามารถในการเกาะถนน และลดเสียงรบกวน พร้อมกับมีการพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติมากขึ้น ทดแทนยางพารา ซึ่งเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบกับยางพาราให้ดูด้วยว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรแล้วขอทราบผลส่งมาให้ตนโดยด่วน


                  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสภาปฏิรูปวงการยางไทย ได้โพสต์ข้อความว่า เตรียมรับมือ มาตรฐานยางใหม่ของอียู กำลังจะบังคับใช้มาตรฐานยางรถยนต์แบบใหม่ที่จะต้องมีการรายงานตัวเลข(Label)พิเศษเพิ่มอีก3 ตัวคือ ความสามารถในการประหยัดเชื้อเพลิง ความสามารถในการเกาะถนน และความสามารถในการลดเสียงรบกวน ซึ่งจะเห็นว่าผู้ผลิตยางรถยนต์จะต้องเพิ่มนวัตกรรมเข้าไปในยางรถยนต์รุ่นใหม่ ราคายางรถยนต์ในยุโรปจะแพงขึ้นโดยจะใช้ยางสังเคราะห์มากขึ้น หรือแม้แต่ยางธรรมชาติที่ใช้ทดแทนยางพารา อย่างเช่นยางจากดอกแดนดิไลน์ ซึงบริษัทยางรถยนต์ในยุโรปกำลังพัฒนาอยู่ ก็จะมีความสามารถแข่งขันมากขึ้น

 

                  เรื่องนี้ผู้เกี่ยวข้องกับยางพาราในประเทศไทย ควรติดตามอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับอดีตรมว.คลัง ได้เตือนอนาคตยางพาราไทยกำลังตีบตัน หลังยุโรปเตรียมกำหนดมาตรฐานยางรถยนต์รุ่นใหม่ที่ยางพาราธรรมชาติไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรจะต้องกระทำคือ ลดพื้นที่ปลูกลงตามแนวทางที่ มหาวิทยาลัยหอการค้า เสนอพร้อมทั้งเร่งรัดการวิจัยเพื่อหาวิธีการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้น แต่อนาคตยางพาราที่เดิมสดใสวันนี้เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ต่างจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งยุโรปกำลังยกเลิกการใช้โดยสิ้นเชิง ผลกระทบทั้งสองเรื่องนี้ต่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย จะมีไม่น้อย

 

                 ในส่วนมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลวิจัยการผลิตยางพาราไทยกับมาเลเซีย พบว่าไทยขยายพื้นที่เพาะปลูกแต่มาเลเซียลดพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ไทยมีการใช้ยางพาราในประเทศเพียง 14.2% หรือประมาณ 6 แสนตัน เท่านั้น จากกำลังการผลิต4.5 ล้านตัน ส่วนมาเลเซียใช้ยางพาราในประเทศ35%และส่งออก65%ทำให้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำไม่รุนแรงเท่ากับไทย ทางรอดของยางพาราไทยคือจะต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้นและลดพื้นปลูกยางพาราลงอย่างน้อย30%ซึ่งจะทำให้ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศสมดุลกับการผลิตมากขึ้น 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ