ข่าว

กคช.ใช้โมเดลดินแดงฟื้นฟูเคหะชุมชนรามอินทรา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การเคหะแห่งชาติใช้โมเดลโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง  ขยายผลโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทรา

             การเคหะแห่งชาติใช้โมเดลโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง  ขยายผลโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทราพื้นที่กว่า 50 ไร่ หลังจากใช้งานมานานกว่า 40 ปี จนมีสภาพทรุดโทรม หวังรองรับศักยภาพเมืองที่ขยายตัวล้ำหน้ารวดเร็ว  เผยผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากกว่า 90%


    ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยถึงการฟื้นฟูโครงการเคหะชุมชน
รามอินทราว่า การเคหะแห่งชาติได้เริ่มโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทรา  ตั้งแต่ปี 2558 เริ่มจากการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ  การจัดประชุมทำความเข้าใจกับชุมชน การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทรา  การให้ชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนฟื้นฟูเมืองฯ ด้วย รวมทั้งการใช้รูปแบบโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงมาถอดบทเรียนขยายผลในการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทรา 
    จากการสุ่มสำรวจกลุ่มตัวอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโครงการพบว่า มีแนวโน้มเห็นด้วยกับ
แผนฟื้นฟูเมืองรามอินทรา โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารแฟลต 5 ชั้น 8 อาคาร จำนวน 223 ราย จาก 490 หน่วย เห็นด้วย 203 ราย หรือ 91.4% ไม่เห็นด้วย 20 ราย คิดเป็น 8.6%
              ดร.ธัชพล กล่าวว่า ในปี 2561 การเคหะแห่งชาติได้จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้อยู่อาศัยในโครงการเคหะชุมชนรามอินทรา  ทั้งการถอดบทเรียนโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง  การค้นหาผู้นำตามธรรมชาติ การอยู่อาศัยในอาคารสูงของผู้สูงอายุ  การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การฟื้นฟูชุมชนเมืองรามอินทราท่ามกลางปัญหาที่ชุมชนประสบอยู่  การแจกคู่มือองค์ความรู้การฟื้นฟูเมือง การจัดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และการจัดตั้งกลุ่มไลน์ฟื้นฟูเมืองรามอินทรา NHA เป็นต้น
           “จากการจัดทำแบบสำรวจการยอมรับและความเชื่อมั่นของประชาชนในเคหะชุมชนรามอินทราที่มีต่อโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทราของเคหะแห่งชาติ  พบว่า มีระดับความเชื่อมั่นสูง  อาจยกเว้นกลุ่มที่ยังไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วมใดๆ เลย ซึ่งต้องดำเนินการกันต่อไป”
ทั้งนี้ โครงการเคหะชุมชนรามอินทราก่อสร้างในปี 2519 บนพื้นที่ 52.045 ไร่ มีจำนวนหน่วยอาศัย 812 หน่วย ประกอบด้วย อาคารชุดพักอาศัยสูง 5 ชั้น 490 หน่วย และบ้านแถวสองชั้น 322 หน่วย  รวมทั้งร้านค้าและบริการสาธารณะ


           การเคหะแห่งชาติวางแผนจัดทำโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทรา  เนื่องจากเห็นว่า มีสภาพทรุดโทรม ทั้งในส่วนของอาคารพักอาศัย สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคในโครงการ ทั้งจากการใช้งานมานานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ปี 2519 และความเสียหายจากมหาอุทกภัยปี 2554 ทำให้โครงสร้างอาคารเสียหายและมีปัญหาน้ำท่วมขังอันเนื่องมาจากการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ ประกอบกับพื้นที่โครงการมีระดับต่ำกว่าถนน 1.50 เมตร และการจัดการขยะภายในชุมชน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ซึ่งสวนทางกับศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบัน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ