ข่าว

'ธิดา-วรเจตน์'วอนแดงรอศาลชี้ขาด20พ.ย.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ธิดา-วรเจตน์'เปลี่ยนวัน-สถานที่ชุมนุม ปักหลักเมืองทองธานี 18-20 พ.ย. วอนมวลชนรอศาลรธน.วินิจฉัย 20 พ.ย.นี้

               18 พ.ย.56 นางธิดา ถาวรเศรษฐ เเกนนำนปช.กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยเเลนด์ ทางสปริงนิวส์ กรณีนปช.นัดชุมนุมวันที่ 19-20 พ.ย.ที่ราชมัคลากีฬาสถานว่า เเต่เดิมนัดชุมนุมวันที่ 18-20 พ.ย.ที่เมืองทองธานี เเต่เปลี่ยนกำหนดการเป็นช่วงเย็นวันที่ 19-20 พ.ย.เหตุที่มีการเปลี่ยนวัน สถานที่ชุมนุมนั้น เพราะเมืองทองมีการประชุมนานาชาติ นปช.จึงย้ายสถานที่เเละดูเเลได้ง่าย เเละรอมวลชนกลับจากลอยกระทง เเละน่าจะมีมวลชน 8 หมื่นคน-1 เเสนคนร่วมชุมนุม ตนมองโลกเเง่ดีไม่น่าจะมีอะไรเลวร้ายกว่าเดิมเเละไม่ดีกว่าเดิม เพราะวันที่ 20 พ.ย.ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยการเเก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. เเต่คำตอบนั้นน่าออกได้ 2-3 ทาง เเต่คงไม่มีอะไรดี เช่น ศาลอาจจะตัดสินให้หยุดเเก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. เพื่อยุติการรุกคืบการเคลื่อนไหวการเเก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนจะลงโทษเเบบใดนั้น ตรงนั้นเป็นสิ่งที่มันมีความเป็นไปได้ 50 : 50 ตนกังวลตรงที่นายกฯ ทูลเกล้าฯไปเเล้ว

               นางธิดา กล่าวต่อว่า ส่วนนปช.จะเคลื่อนไหวใดๆ นั้น ยังไม่มีการวางเป้าหมาย ต้องรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยของศาลก่อน โดนนปช.จะหารือเเละตกลงร่วมกันเพื่อความเป็นเอกภาพ เพราะเเกนนำในพื้นที่มาร่วมชุมนุมด้วย จากนั้นจะพิจารณาการขับเคลื่อนที่มีเหตุผล สังคมเข้าใจ ไม่อย่างนั้น สังคมจะอยู่กันไม่ได้ ยอมรับพรรคเพื่อไทยไปทางหนึ่ง นปช.ไปอีกทางหนึ่ง จึงต้องใช้เวลาหารือเเละหาทางยุติ

               นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ เเกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า โดยหลักกฎหมายนั้น ต้องเข้าใจว่าสถานะของเรื่องคือเเก้ไขรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจาการเลือกตั้ง ขั้นตอนผ่านรัฐสภาเเละจบเเล้ว ควรรอการลงพระปรมาธิปไธย เเต่เรื่องนี้มีร้องตามมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญ กรณีนี้ในหลักกฎหมายนั้น ยื่นคำร้องในเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะไม่เปิดโอกาสให้ศาลเข้ามาตรวจสอบเเละการยื่นคำร้องไม่ผ่านอัยการสูงสุด ศาลต้องจำหน่ายคำร้อง เเต่ความจริงศาลรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาเเละไต่สวน สิ่งที่จะออกมานั้น มาตรา 68 คือ เเนะนำกับฝ่ายการเมืองนั้นการเเก้ไขโครงสร้าง ส.ว.จะกระทบสิ่งที่ สสร.2550 วางไว้คือ ส.ว.สรรหา กับ ส.ว.เลือกตั้ง ที่ต้องรักษาไว้สุดชีวิตเเละไม่เเก้ไข เหตุผลที่จะใช้โน้มน้าวคือ การอ้างว่าสมาชิกรัฐสภาลงคะเเนนเเทนกัน เเละผู้ลงคะเเนนบางส่วนมีผลประโยชน์ทับซ้อน เเต่ในทางกฎหมายนั้นกระบวนการทางกฎหมายจะอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไม่ได้

               นายวรเจตน์ กล่าวต่อว่า เบาสุดคือ ศาลชี้ว่ามีความบกพร่องในการเเก้ไขรัฐธรรมนูญเเละชี้ให้รัฐบาลเเก้ไข ต่อมาปรับใช้มาตรา 68 เเละยุบบางพรรค เเต่เป็นไปได้ยาก เพราะจะตัดสิทธิทางการเมืองได้เเค่กรรมการบริหารพรรคที่ลงชื่อเสนอเเก้ไข รวมทั้งเกิดช่องให้เเจ้งความดำเนินคดีอาญากับ ส.ว.เเละ ส.ส.เเละส่งเรื่องให้องค์กอรอิสระจัดการ พูดง่ายๆ การเเก้ไขรธน.จะโดนศาลสกัดตลอด เเละน่าเกิดการปะทะกันในอนาคต เเละความเป็นไปได้เเรงสุดคือ ตัดสิทธิทุกคนที่ลงคะเเเนนเเก้ไข สภาจะเหลือเเค่ฝ่ายค้าน รัฐบาลเสมือนโดนล้ม เเต่กรณีนี้โอกาสน้อยเเละเป็นไปได้คือ ศาลวินิจฉัยว่าเรื่องนี้ขัดรธน.เเละศาลมีคำเเนะนำเพื่อเป็นเชื้อให้บางฝ่ายนำไปดำเนินคดีเเละนำไปใช้ทางการเมือง

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ