Lifestyle

"ทำไมไข้ขึ้นตอนเย็น" เช็กด่วน ก่อนส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ ระยะยาว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไขข้อข้องใจ "ทำไมไข้ขึ้นตอนเย็น" กลางวันไม่เป็นอะไร ตกเย็น เป็นไข้ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง รีบเช็กก่อน ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ ระยะยาว

“ทำไมไข้ขึ้นตอนเย็น” เชื่อว่าหลายคนเคยเจอกับอาการเหล่านี้ ทั้งที่ตัวเองก็รู้สึกว่าปกติดี ไม่ได้เป็นอะไร ที่แปลกคือ ตอนเช้า และระหว่างวัน ไม่เป็นอะไรเลย แต่กลับเริ่มเป็นไข้ ตัวร้อน เฉพาะช่วงเย็น พอเช้าก็หายเป็นปลิดทิ้ง แล้วเป็นอยู่แบบนี้ 3-4 วัน จะเป็นอะไรหรือไม่ คมชัดลึกออนไลน์ หาคำตอบมาให้แล้ว เพื่อสุขภาพที่ดี

ภาพประกอบ เป็นไข้ตอนเย็น

  • ทำไมไข้ขึ้นตอนเย็น

 

เภสัชกรโกสินทร์ มหาสิทธิวัฒน์ เภสัชประจำบ้าน ให้ข้อมูล “ทำไมไข้ขึ้น (เฉพาะ) ตอนเย็น” ว่า ส่วนใหญ่สาเหตุหลักที่เจอบ่อย คือการติดเชื้อไวรัส ซึ่งหลายคนสงสัยอีกว่า ไม่ใช่ติดเชื้อแบคทีเรียเหรอ โดยปกติแล้วอาการตัวร้อน มีไข้ตอนเย็น มักเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากอาการของไข้ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย จะรุนแรงกว่า เวลากลืนน้ำลายจะเจ็บคอมาก น้ำมูกกับเสมหะจะเปลี่ยนสีจากสีใสๆ เป็นสีเขียวเหลือง มีแผลหนองที่คอ และมีไข้ขึ้นชัดเจนตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นอีก เช่น

 

 

  • ความเครียดระหว่างวัน (Stress)

 

หากมีความเครียดกับการทำงานสูง เป็นประจำทุกวัน รวมถึงนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออยู่เสมอ เป็นไปได้มากว่า อาการตัวร้อน มีไข้ต่ำๆ เฉพาะตอนเย็น ที่เกิดขึ้นนั้น มาจากความเครียด และนอนไม่เพียงพอนั่นเอง หรือเรียกว่า ไข้ไซโคเจนิก (psychogenic fever) ซึ่งไข้ชนิดนี้ พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว ที่มักจัดการกับอารมณ์ไม่ค่อยได้ มีความเครียดเรื้อรัง อ่อนเพลียเรื้อรัง อาจต้องเข้าพบจิตแพทย์ และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ นั่งสมาธิก่อนนอนสัก 5-10 นาที ก็ช่วยให้จิตใจสบายขึ้นได้

 

  • การติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory Infections)

 

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของไข้ต่ำอย่างต่อเนื่อง คือ การติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ในกรณีเช่นนี้ ร่างกายจะเพิ่มอุณหภูมิตามธรรมชาติ เพื่อต่อสู้กับสารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ (แบคทีเรียหรือไวรัส) โรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และเมื่อเป็นหวัด จะมีไข้อยู่สองสามวัน อาการอื่นๆ ของการติดเชื้อทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ จาม น้ำมูกไหล เจ็บคอ หนาวสั่น เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย เป็นต้น

          ภาพประกอบ ทำไมเป็นไข้ตอนเย็น

 

 

'อาบน้ำ' เวลาไหนดีที่สุด เช็ก '5 เวลา ไม่ควรอาบน้ำ' เสี่ยงตาย สูง

'ห้ามอาบน้ำหลังกินข้าว' จริงหรือไม่ เช็ก 6 สิ่ง ไม่ควรทำ 'หลังกินข้าว'

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection)

 

อาการมีไข้ต่ำ บางครั้งอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเพศหญิงจะเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชาย อาการของโรคนี้ คือ เจ็บที่บริเวณข้างลำตัว มีไข้ หรือ คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • วัณโรค Tuberculosis (TB)

 

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium tuberculosis เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงทีละน้อย เชื้อวัณโรคจะเริ่มทำงาน และมีอาการต่างๆ ได้แก่ ไอเป็นเลือด ไม่สบายตัว มีไข้ และเหงื่อออกตอนกลางคืน ใครที่มีไข้ และมีเหงื่อออกโดยเฉพาะตอนกลางคืน ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อวัณโรค โดยเฉพาะวัณโรคปอด แต่พบน้อยมาก

 

  • ไทรอยด์ (Thyroid)

 

การอักเสบของต่อมไทรอยด์ มักเชื่อมโยงกับไข้ต่ำ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ การฉายรังสี การบาดเจ็บ โรคแพ้ภูมิตัวเอง และยา อาการบางอย่าง ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยบริเวณต่อมไทรอยด์ และปวดคอ

          ภาพประกอบ ทำไมเป็นไข้ตอนเย็น

  • มะเร็ง (Cancer)

 

อาการไข้ต่ำๆ อาจเป็นอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ได้แก่ อ่อนเพลีย อ่อนแรง ปวดศีรษะ และปวดตามร่างกาย ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต และเหงื่อออกมากตอนกลางคืน แม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่มีลักษณะบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็ง แต่บุคคลที่มีอาการเหล่านี้ร่วมกับมีไข้ต่ำอย่างต่อเนื่อง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการประเมินเพิ่มเติม

 

  • การใช้ยา (Medications)

 

การใช้ยาบางชนิด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ได้ ซึ่งอาจรวมถึงการมีไข้ในช่วงเย็น หากยาเป็นสาเหตุ อาการไข้จะสงบลง เมื่อผู้ป่วยหยุดใช้ยา หรือขอคำแนะนำจากแพทย์

 

  • การอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation)

 

ความผิดปกติ หรือการอักเสบเรื้อรังหลายอย่าง อาจทำให้เกิดไข้ ซึ่งรวมถึงโรคข้ออักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคเกาต์ กลุ่มอาการเซโรโทนิน และกลุ่มอาการมะเร็งของระบบประสาท

 

 

  • อาการ มีไข้ต่ำ ๆ ตอนเย็น แบบไหนควรพบแพทย์

 

หากอาการมีไข้ไม่ดีขึ้น แม้จะปฏิบัติตามคำแนะนำไปแล้วก็ตาม เช่น มีอาการปวดเมื่อยง่าย มีไข้ต่ำอยู่ตลอดเวลา น้ำหนักตัวเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด สีน้ำมูก สีเสมหะเปลี่ยนไป ควรรีบเข้าพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงเป็นวัณโรค หรือโรคอื่นๆ ที่ต้องรีบรักษาก่อนสายเกินไป

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : gedgoodlife

ขอบคุณภาพ : pixabay

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ