ไลฟ์สไตล์

“กุยช่าย” สรรพคุณมากล้นต่อสุขภาพ เสริมความฟิตพิชิตโรค

04 ก.ย. 2564

แม้จะเป็นพืชผักกลิ่นฉุน แต่ “กุยช่าย” ก็อุดมด้วย "สรรพคุณ" มากล้นคุณค่าตั้งแต่หัวจรดเท้า แถมเพิ่มความฟิตปั๋งได้ด้วย

     คนไทยเราจะเรียกผักชนิดนี้ว่า “กุยช่าย” มีชื่อที่เรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่นในภาคกลางเรียกว่า ผักไม้กวาด ภาคอีสานเรียก ผักแป้น แต่ถ้าเป็นคนเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จะเรียกว่า กูไฉ่ (Kow Choi) (มีชื่อสามัญว่า Garlic chives, Leek, Chinese chives, Oriental garlic, Chinese leek ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ได้แก่ ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng  

 

     กุยช่าย ที่เรากินกันประจำ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กุยช่ายเขียวและกุยช่ายขาว ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันเพียงแต่มีสีของใบที่แตกต่างกันเท่านั้น ส่วนสรรพคุณที่ดีนั้นเรียกว่ามีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกาย และออกฤทธิ์เป็นยาต่อระบบร่างกายได้หลายด้าน นั่นคือ

 

“กุยช่าย” สรรพคุณมากล้นต่อสุขภาพ เสริมความฟิตพิชิตโรค

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

สรรพคุณของกุยช่าย

ใบและต้น    

  • ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากใบกุยช่ายมีธาตุฟอสฟอรัสสูง 
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพราะมีฤทธิ์ร้อน เพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายได้
  • ช่วยลดระดับความดัน บรรเทาอาการหวัด
  • ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม
  • ช่วยรักษาแผลที่หนองเรื้อรัง ด้วยการใช้ใบสดล้างสะอาดมาพอกบริเวณที่เป็นแผล
  • ช่วยแก้แมลงหรือตัวเห็บ ตัวหมัดเข้าหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบกุยช่ายนำมาหยอดเข้าไปในรูหู จะช่วยทำให้แมลงหรือเห็บไต่ออกมาเอง
  • ช่วยบำรุงน้ำนมและขับน้ำนมสำหรับคุณแม่หลังคลอด
  • ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการนำต้นกุยช่ายมาคั้นน้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือน้ำขิง อุ่นให้ร้อนแล้วนำมาดื่มได้
  • นำใบมาสูดดมแก้อาการวิงเวียนได้
  • ต้นและใบมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และช่วยลดการอักเสบ
  • ช่วยกระตุ้นหรือเสริมความรู้สึกทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เพราะมีวิตามินเอที่ช่วยในการมองเห็น
  • ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง
  • ช่วยในการไหลเวียนและเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากกุยช่ายมีธาตุเหล็กสูง

 

เมล็ด    

  • ใช้เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ในที่ปิดให้ตายได้ ด้วยการนำเมล็ดไปเผาไฟเอาควันรมเข้าในรู
  • กินเพื่อช่วยขับพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิแส้ม้าได้
  • นำเมล็ดแห้งมาต้มกิน ช่วยแก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย

ราก

  • ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด หรือขัดเบา
  • กินเมล็ดร่วมกับเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ช่วยขับโลหิตประจำเดือน
  • ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล ด้วยการนำใบกุยช่ายมาขยำแล้วอุดจมูก จะช่วยให้เลือดหยุดไหล
  • มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ

 

ข้อควรรู้ : อย่างไรก็ตามด้วยความที่กุยช่ายเป็นอาหารฤทธิ์ร้อน หากกินมากไปหรือกินหลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   อาจทำให้ร่างกายร้อนเกินไปหรือเป็นร้อนในได้ รวมถึงคนที่มีระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงกุยช่าย เพราะมีเส้นใยสูง จนทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวมากอาจมีอาการท้องเสีย  รวมทั้งก่อนนำกุยช่ายมาปรุงอาหารต้องล้างทำความสะอาดให้ดี ด้วยการคลี่ใบล้างผ่านน้ำไหลและใช้มือถูเบาๆ เพื่อป้องกันยาฆ่าแมลง ไข่พยาธิ หรือสารเคมีสะสม

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก  https://www.opsmoac.go.th, https://www.technologychaoban.com