Lifestyle

"ผ่าตัดส่องกล้อง" รักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด เจ็บและเสียเลือดน้อย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จากข่าว “ป้อง ณวัฒน์” ผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าเข่า หลายคนจึงอยากรู้ว่าเอ็นไขว้หน้าคืออะไร และการ"ผ่าตัดส่องกล้อง"แบบนี้เป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่...ไปดูกันเลย

นพ.กษิดิศ ศรีจงใจ  ศัลยกรรมข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม แพทย์ประจำสาขาศูนย์ข้อเทียม ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ  ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเอ็นเข่าไขว้หน้าและปัญหาการฉีกขาดไว้ว่า

เอ็นเข่าไขว้หน้า คือส่วนหนึ่งของหัวเข่าที่มีความสำคัญในการช่วยให้ความมั่นคงกับข้อเข่า ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวเข่าและหน้าแข้งให้ทำได้สะดวก โดยในข้อเข่าของเราจะมีเส้นเอ็นใหญ่อยู่ 4 เส้น แต่จะมีส่วนที่วางตัวไขว้กันเป็นรูปกากบาท ที่เรียกว่าเอ็นเข่าไขว้ (Cruciate ligaments) อยู่ตรงส่วนที่ไขว้อยู่ด้านหน้าเรียกว่าเอ็นเข่าไขว้หน้า และส่วนที่ไขว้อยู่ด้านหลัง โดยเส้นเอ็นทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ความมั่นคงกับเข่าในการบิดหรือหมุนข้อเข่าไปในมุมต่างๆ

 

"ผ่าตัดส่องกล้อง" รักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด เจ็บและเสียเลือดน้อย

 

เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด ต้องรีบรักษา

ปัญหาเกี่ยวกับการบาดเจ็บหรือเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด เป็นเรื่องน่าหนักใจเพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย จากอุบัติเหตุหรือหลังจากเล่นกีฬา ซึ่งเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า อยู่บริเวณจุดกึ่งกลางข้อเข่า ยาวไปตามแนวเฉียงจากด้านหลังของกระดูกต้นขาไปจนถึงกระดูกหน้าแข้ง เป็นเส้นเอ็นที่คอยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งหากเกิดปัญหาฉีกขาด จะทำให้การลงน้ำหนักและเคลื่อนไหวไม่ได้ ยิ่งหากปล่อยไว้จะเกิดอันตรายมากขึ้น  ฉะนั้นหากใครที่พบเจอปัญหานี้อยู่หรือกำลังมองข้อมูลเพื่อทำการรักษา ปัจจุบันสามารถ ผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งใช้เวลาไม่นานมากและเสียเลือดน้อย 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นเข่าและไหล่ เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก

เมื่อพูดถึงเรื่องการบาดเจ็บของเส้นเอ็นส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มคนอายุน้อยและเกิดการบาดเจ็บหลังได้รับอุบัติเหตุหรือหลังจากเล่นกีฬาส่วนมากการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดคือการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าเข่าและการฉีกขาดของเอ็นไหล่ซึ่งการบาดเจ็บดังกล่าวจะส่งผลให้มีการปวดเรื้อรังรู้สึกข้อเข่าหลวมไม่มั่นคงหรือไหล่หลุดง่ายซึ่งหากปล่อยไว้นานอาการปวดจะรบกวนชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทนไม่ไหว

 

สาเหตุ 

1. การบาดเจ็บของเอ็นเข่า  ส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ได้แก่กีฬาจำพวก Contact Sport หรือกีฬาที่ต้องเกิดการปะทะกันเช่น บาสเกตบอล  วอลเลย์บอล  เบสบอล   ฟุตบอล รวมถึงเกิดจากการหมุนเข่าหรือเข่าพลิกอย่างฉับพลันทำให้เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด  และเกิดจากอุบัติเหตุการจราจร

2. การบาดเจ็บของเอ็นข้อไหล่ อาการบาดเจ็บของข้อไหล่เกิดจากการได้รับการกระแทกโดยตรงเช่นกัน อาทิ ล้มไหล่กระแทกกับพื้นหรือการล้มเอามือยันพื้นทำให้แรงดันพื้นส่งมากระทบที่ไหล่ หรือการเล่นกีฬาที่ผิดท่า โดยจะมีอาการปวดบวมช้ำหรือเดินลงน้ำหนักไม่ได้ และหากถึงขั้นเอ็นฉีกขาดก็จะมีเลือดออกในข้อซึ่งจะทำให้เข่าบวมมาก โดยส่วนใหญ่จะเดินลงน้ำหนักไม่ได้เลยใน 1-2 วันแรกหลังจากได้รับการบาดเจ็บ

 

"ผ่าตัดส่องกล้อง" รักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด เจ็บและเสียเลือดน้อย

 

 

ผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซ่อมเอ็นใหม่ 

การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง Minimally invasive surgery (MIS) มีข้อดีคือ ช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในทำให้มีความเจ็บน้อยปวดน้อยและลดการเสียเลือด รวมถึวขนาดของแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 1-2 เซนติเมตร ซึ่งเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดจะทำให้มีแผลกว้างถึง 12 ถึง 20 เซนติเมตร ดังนั้นการผ่าตัดแบบ MIS จะช่วยลดขนาดของแผลเป็นและการเสียเลือดได้ดี

นอกจากนี้หลังผ่าตัดจะพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน ซึ่งเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดที่ต้องเสียเวลาพักฟื้นนานประมาณ 5-7 วัน และยังช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ช่วยลดการเกิดพังผืดจากการผ่าตัดแบบเปิด ตลอดจนทำใหแพทย์ผู้ผ่าตัดเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่ต้องการผ่าตัดได้อย่างชัดเจนด้วยเทคโนโลยีกำลังขยายของกล้อง ซึ่งช่วยให้ผ่าตัดได้ตรงจุดจึงลดการกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ

 

  "ผ่าตัดส่องกล้อง" รักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด เจ็บและเสียเลือดน้อย

 

 

ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้อง

มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีนวัตกรรมพิเศษ รวมถึงการผ่าตัดด้วย Minimally invasive surgery (MIS) นั้นจำเป็นต้องทำโดยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษโดยเฉพาะ  สุดท้ายนี้หากไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาหรือคนทั่วไปที่เกิดอุบัติเหตุ มี เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด จนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บทันที และรู้สึกได้ถึงการฉีกขาดอย่างชัดเจน มีอาการปวดบวมบริเวณหัวเข่า ไม่สามารถลงน้ำหนักตัวได้เหมือนปกติ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ