Lifestyle

ระวัง 4 ภัยร้ายของลูก"วัยเตาะแตะ" ป้องกันไว้ก่อนสายเกิน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จากสถิติเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับลูกวัยเตาะแตะ มีอยู่ 4 เรื่องนี้ที่พ่อแม่ต้องระวังให้ลูกโดยไม่คลาดสายตา เพราะเกิดบ่อย เกิดง่ายและเป็นอันตรายถึงชีวิต

อุบัติภัยยอดฮิตทั้ง 4 เรื่องที่เกิดกับลูกน้อยวัย 1-2 ขวบมากที่สุด (เพราะเจ้าตัวเล็กเริ่มเดิน วิ่งและปีนได้ แถมยังชอบสำรวจสิ่งใหม่ๆ ) จนต้องออกมาเตือนพ่อแม่นี้ ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำให้ลูกบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตได้ ฉะนั้นพ่อแม่ต้องตระหนักป้องกันและระวังไม่ให้พลาดแม้ชั่วเสี้ยวนาที นั่นคือ

1. พลัดตกหกล้ม  

พลัดตกหกล้มคืออุบัติเหตุยอดฮิตของลูกเตาะแตะเพราะแม้ลูกจะเริ่มเดิน เริ่มวิ่งได้ ปีนได้ แต่ก็ยังควบคุมร่างกายได้ไม่ดีหรือยังไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตก็จะเห็นว่าเจ้าตัวน้อยยังเดินไม่คล่อง มีเซไปมา ทรงตัวไม่ดี  จึงเป็นสาเหตุพลัดตกเวลาปีน และเกิดการหกล้มได้ง่าย ทำให้เกิดบาดแผลได้ตั้งแต่ฟกช้ำ แผลแตก บวม แดง ไปจนถึงหากตกลงมาจากที่สูงมาก หรือกระแทกกับของแข็งอาจเป็นอันตรายจนกระทบกระเทือนทางสมองได้   

ป้องกันก่อนลูกบาดเจ็บ

ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมและพื้นที่ให้ปลอดภัยต่อการเล่นและเรียนรู้ของลูก  เช่น ให้ลูกเดินบนพื้นที่ปูยางกันลื่นหรือกันกระแทก  ให้ลูกวิ่งเล่นบนพื้นหญ้าแทนพื้นปูน  ปูวัสดุกันกระแทกบริเวณที่ลูกอยู่บ้าน ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ที่ลูกอาจจะปีนป่ายเล่นจนตกลงมาได้  จัดหาหรือทำราวกั้นไม่ให้ลูกขึ้นไปเล่นในที่สูง  ที่สำคัญคือการคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาเสมอ

 

ระวัง 4 ภัยร้ายของลูก"วัยเตาะแตะ" ป้องกันไว้ก่อนสายเกิน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ระวัง 4 ภัยร้ายของลูก"วัยเตาะแตะ" ป้องกันไว้ก่อนสายเกิน

 

2. การจมน้ำ 

การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กก่อนวัยเรียน ยิ่งในช่วงที่ลูกกำลังเดินเตาะแตะไม่รู้เดียงสา ยิ่งต้องระวังให้มาก เพราะแม้แต่น้ำในถังเล็กๆ ก็ทำให้ลูกมุดศีรษะลงไปจนเสียชีวิตได้  ที่สำคัญคือสถานที่ที่ลูกวัยนี้จมน้ำก็มักจะเป็นบริเวณในบ้าน เช่น ห้องน้ำ แหล่งน้ำใต้ถุนบ้าน น้ำคลองหลังบ้าน อ่างปลา กะละมังหรือถังซักผ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะห่างจากตัวบ้านไม่มากนัก  

ป้องกันลูกจมน้ำ

การป้องกันลูกจมน้ำ คือการไม่ให้มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ลูกเลย ร่วมกับป้องกันไม่ให้ลูกไปถึงแหล่งน้ำได้  นั่นคือ การปิดประตูลงกลอนห้องน้ำ คว่ำถังน้ำ คว่ำกะละมังน้ำ เทน้ำทิ้งให้เรียบร้อยเมื่อไม่ใช้งาน ทำรั้วกั้นบริเวณที่ลูกอยู่ไม่ให้เดินไปที่แหล่งน้ำ กำจัดอ่างน้ำที่ใส่ปลาและใส่ต้นไม้ออกจากพื้นที่ที่ใกล้กับลูกเล่น หรือนำออกไปอยู่นอกตัวบ้าน ไม่ให้ลูกเข้าถึงได้ง่าย  พร้อมกับต้องมีพ่อแม่หรือคนดูแลอยู่ใกล้ชิดลูกตลอดเวลา ห้ามคลาดสายตาเด็ดขาด

 

 

3. การได้รับสารพิษ สารเคมีอันตราย  ถือเป็นภัยร้ายที่ลูกวัยนี้พบเจอได้บ่อย ด้วยความไร้เดียงสาไม่รู้ว่าเป็นอันตราย จึงอาจหยิบสารเคมีมากิน เล่น จนสัมผัสโดนร่างกาย หรือกลืนเข้าไปจนทำลายระบบทางเดินอาหารได้   โดยลูกวัย 1-2 ปี จะเสี่ยงกับการได้รับสารพิษจากนอกบ้าน เช่น สีหรือสารเคมีจากของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐาน สีทาเครื่องเล่นสนาม  ทั้งยังรวมถึงสารพิษในบ้าน เช่น น้ำยาถูพื้น ขัดพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ ปุ๋ย สารเคมีใส่ต้นไม้ แอลกอฮอล์ล้างแผล รวมถึงน้ำยาต่างๆ ไม่ว่าจะมีลวดลายหรือมีกลิ่นหอมแค่ไหนก็ล้วนมีสารเคมีอันตรายทั้งสิ้น  ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารพิษทั้งในบ้านและนอกบ้านก็ล้วนเป็นอันตรายต่อลูกวัย 1-2 ขวบ และแม้กระทั่งลูกวัยที่โตขึ้นก็ยังต้องระวังด้วยเช่นกัน   

ป้องกันสารพิษให้ห่างลูก

สิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันได้ คือ ต้องเก็บของใช้ที่มีสารพิษต่างๆ ให้มิดชิด  ตรวจสภาพของเล่นของใช้ ไม่ให้มีสีหลุดลอก ล่อน หรือมีสารอันตราย ตรวจสอบว่ามีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เครื่องเล่นสนามนอกบ้านต้องไม่มีสีหลุดร่อนมาติดมือลูก  ส่วนอุปกรณ์น้ำยาต่างๆ หลังใช้แล้วต้องปิดฝาให้แน่น เก็บในที่มิดชิดให้พ้นจากมือเด็ก ไม่ถ่ายเทน้ำยาสารเคมีใส่ในขวดน้ำหรือขวดเครื่องดื่มต่างๆ เพราะไม่ใช่แค่เด็กที่หยิบผิด ผู้ใหญ่เองก็อาจเข้าใจผิดและหยิบมากินจนเป็นอันตรายได้ด้วย  

 

ระวัง 4 ภัยร้ายของลูก"วัยเตาะแตะ" ป้องกันไว้ก่อนสายเกิน

 

4. บาดเจ็บจากการเดินทาง

การบาดเจ็บลักษณะนี้ไม่ได้เกิดจากตัวเด็กเอง เพราะลูกเตาะแตะจะยังขับขี่ยานพาหนะไม่ได้ แต่มักเกิดจากเวลาที่ลูกเดินทางแล้วคนดูแลไม่ทันระมัดระวัง เช่น การนั่งในรถยนต์ การเดินหรือเข็นรถริมถนน คืออาจมีรถมาเฉี่ยวชน รถเข็นของลูกสะดุดล้ม ลูกไม่ได้นั่งในคาร์ซีท  ลูกไม่ได้ใส่หมวกกันน็อกเมื่อนั่งรถจักรยานยนต์แล้วพลิกคว่ำหรือล้มทับ ลูกกระเด็นตกจากรถ หรือเดินจูงมือลูกอยู่แต่ลูกสะบัดมือเพื่อวิ่งไปเล่น  ทุกสาเหตุล้วนทำให้ลูกได้รับบาดเจ็บรุนแรง

ระวังป้องกันก่อนบาดเจ็บ

วิธีที่ดีที่สุดคือการดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คิดเผื่อล่วงหน้าไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันตราย  ปิดพื้นที่เสี่ยงและป้องกัน  ที่สำคัญคือการใส่ใจใช้อุปกรณ์นิรภัยให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก เช่น ให้ลูกนั่งคาร์ซีท  สวมหมวกกันน็อกเสมอไม่ว่าจะนั่งจักรยานหรือจักรยานยนต์ ไม่ให้ลูกนั่งตักด้านหน้าเวลาเดินทางในรถยนต์  ไม่เดินจูงมือลูกริมถนนที่อันตราย ตรวจสอบสภาพรถเข็น หรืออุปกรณ์การเดินทางให้สามารถใช้ได้ปลอดภัยอยู่เสมอ  เท่านี้ก็จะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บ และอุบัติเหตุรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ