Lifestyle

ชวนลูก "อ่านหนังสือ" เพิ่มทักษะ Theory of mind

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลายครอบครัวอาจไม่รู้ว่าการอ่านหนังสือของเด็กๆ นอกจากจะดีต่อ "สมอง" การเรียนรู้ พัฒนาจินตนาการแล้ว ยังมีข้อมูลที่พบว่าเมื่อลูกอ่านหนังสือ เขายังได้"พัฒนาทักษะ"เรื่องความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่นอีกด้วย

การอ่านหนังสือไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนหรือนิทานที่มีตัวละคร หรือเรื่องสนุกสนานที่ลูกรักโปรดปรานต่างๆ จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะจินตภาพการใช้ชีวิตในมุมต่างๆของละครไ ม่ว่าจะเป็น ความเห็นอกเห็นใจ และการทความเข้าใจความรู้สึกและมุมมองของบุคคลอื่น ซึ่งนั่นเองจะช่วยพัฒนาการสิ่งที่เรียกว่า Theory of mind” ให้เด็กได้

Theory of mind หมายถึงความสามารถในการรับรู้ว่าคนเรา ทั้งตัวเองและคนอื่น มีความคิด ความเชื่อ ความต้องการ ความตั้งใจ ความรู้ การรับรู้ และการแสดงออกที่เฉพาะในคนๆ หนึ่ง และในแต่ละคน มุมมองเหล่านั้นก็อาจมีความแตกต่างกันไป” ซึ่งโดยทั่วไป เด็กจะมีเริ่มมีพัฒนาการในเรื่อง Theory of mind ตั้งแต่อายุประมาณ 4 ปี

 

ชวนลูก "อ่านหนังสือ" เพิ่มทักษะ Theory of mind

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

โดยมีนักวิชาการเคยศึกษาไว้ว่า หนังสืออ่านเล่นของเด็กเล็กมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับความคิดจิตใจ การเข้าสังคม และความคิดที่ต่างกันของตัวละคร และสิ่งสำคัญที่เราเห็นบ่อยๆ คือตัวละครในหนังสือมักมีความเชื่อผิดๆ ที่ไม่ตรงกับคนอื่น  ซึ่งนักวิชาการเรย์มอนด์ มาร์ และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์ว่าการอ่านหนังสือช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่อง ใจเขาใจเรา ได้จริงหรือไม่ ด้วยการศึกษาเปรียบเทียบผลของสื่อต่างๆ ได้แก่ หนังสือ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ที่มีต่อการพัฒนาทักษะ Theory of Mind ของเด็ก โดยศึกษาในเด็กอายุ 4-5 ปี จำนวน 55 คน และผู้ปกครองของเด็ก  ในเบื้องต้น ผู้วิจัยจะทำการวัดว่าเด็กได้รับสื่อต่างๆ มากน้อยเพียงใด   

จากนั้นได้วิจัยทดสอบทักษะในเรื่อง Theory of mind โดยให้เด็กตอบคำถามสถานการณ์สมมติ เพื่อทดสอบว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ว่าตัวละครสมมติมี ความคิด ความต้องการ ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึกต่างจากตนเองอย่างไร  

 

ชวนลูก "อ่านหนังสือ" เพิ่มทักษะ Theory of mind

 

 

ซึ่งผลการวิจัยก็ได้พบเรื่องที่น่าสนใจ นั่นคือมีผลที่แสดงว่าเด็กที่คุ้นเคยกับการอ่านหนังสือร่วมกับพ่อแม่จะมีผลทดสอบทักษะเรื่อง Theory of mind ที่ดีกว่าเด็กที่คุ้นเคยกับสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มที่คุ้นเคยกับการดูโทรทัศน์ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ว่าการอ่านหนังสือมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะ Theory of mind ของเด็ก  ซึ่งช่วยทำให้คุณหนูๆ มีความละเอียดอ่อนกับความรู้สึกและความต้องการของคนอื่น รู้จักใจเขาใจเรา มากขึ้น

 

ชวนลูก "อ่านหนังสือ" เพิ่มทักษะ Theory of mind

 

นอกจากนี้คุณหนูๆ คนไหนที่เริ่มมีการพัฒนาทักษะเรื่อง Theory of mind เขาจะเปลี่ยนมุมมองความคิดจากที่เคยมองโลกในมุมมองของตนเองเพียงอย่างเดียวยึดความคิดและความรู้สึกของตนเองเป็นหลัก (Egocentrism) มาลองมองในมุมมองของคนอื่นดูบ้าง จนเกิดเป็นความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนอื่น   แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาทักษะนี้ในคุณหนูๆ จำเป็นจะต้องอาศัยเวลา ประกอบกับการสร้างเสริมจากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม ร่วมกับการอ่านหนังสือสม่ำเสมอ และยิ่งมีพ่อแม่ดูแลช่วยแนะนำเป็นที่ปรึกษาเวลาลูกมีข้อสงสัย ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาทักษะดังกล่าว ช่วยให้ลูกรักได้เรียนรู้ความคิดและจิตใจของบุคคลอื่นได้ดียิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก คู่มืออ่านสร้างสมอง พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย  / ภาพจาก https://pixabay.com/

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ