เด่นโซเชียล

"ไม่รับปริญญา" เพจ กฎหมายแรงงาน มีคำตอบ บริษัทไม่รับเข้าทำงานได้จริงมั้ย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ไม่รับปริญญา" ติดเทรนด์มาแรงจนเป็นประเด็นถกเถียงบนโลกโซเชียล เนื่องจาก ปมบริษัทตั้งกฎไม่รับเข้าทำงานหากไม่รับยอมรับปริญญา จนหลายคนสงสัยว่า สามารถทำแบบนี้ได้จริงมั้ย ล่าสุด เพจกฎหมายแรงงานออกมาให้คำตอบแล้ว

 

"ไม่รับปริญญา" กลายเป็นประเด็น talk of the town หลังจากมีแพทย์หญิงคนหนึ่ง ออกมาแสดงความคิดว่า ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน ทำให้ชาวเน็ตออกมาแสดงความคิดเห็นจนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ #ไม่รับปริญญา พร้อมตั้งคำถามว่า หากไม่รับปริญญา แล้วบริษัทไม่รับเข้าทำงานเพราะเหตุผลแบบนี้ สามารถทำได้จริงมั้ย? 

 

 

 

 

ล่าสุด เพจ กฎหมายแรงงาน ออกมาให้คำตอบแล้ว โดยระบุว่า "เขา" ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  • ไม่มีเงิน เพราะ การรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร
  • หลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา
  • โควิด-19 ระบาด

 

โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

 

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

 

การวางกติกาว่าหากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

 

อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้ แต่ใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เข้าไปใช้บังคับได้

 

แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดู เราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฏิบัติ

  • ถิ่นกำเนิด
  • เชื้อชาติ
  • ภาษา
  • เพศ
  • อายุ
  • ความพิการ
  • สภาพทางกายหรือสุขภาพ
  • สถานะของบุคคล
  • ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
  • ความเชื่อทางศาสนา
  • การศึกษาอบรม
  • ความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

 

ซึ่งหลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

 

การเลือกปฏิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคม จริง ๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้จากการเลือกปฏิบัติในสังคมไทย มีหลายกรณี ดังนี้

 

 

 

 

  • การเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ

เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ 55 ลูกจ้างชายเกษียณ 60 ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติกรณีเกษียณ เพราะ เหตุความแตกต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ 2127/2555)

 

  • การเลือกปฏิบัติ เพราะ ความพิการทางร่างกาย

เคสนี้ น่าตกใจมาก เพราะ เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 142/2547) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 16/2545)

 

  • การเลือกปฏิบัติ เพราะ ผลการเรียน

เป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.158/2550)

 

และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฏิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา

 

 

ไม่รับปริญญา, ไม่รับเข้าทำงาน, กฎหมายแรงงาน, รัฐธรรมนูญ

 

 

ข้อมูล : กฎหมายแรงงาน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ