ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ "หมอดื้อ" ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็น "ยาฆ่าพยาธิ" ได้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า
ถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่ผู้ออกกฎในประเทศไทยจะต้องดูรอบด้านและสำนึกในความยากจนของประเทศ โดยดูตัวอย่างจากประเทศอินเดีย ในเรื่อง "ยาฆ่าพยาธิ"
อินเดียท่ามกลางกระแสโจมตีจากนักวิชาการ องค์กรตะวันตกและคนที่ชื่นชอบปฏิบัติตามฝรั่ง และคำห้ามปรามขององค์การอนามัยโลกห้ามใช้ ยาฆ่าพยาธิไอเวอร์เมคติน (ivermectin)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "หมอธีระวัฒน์" เปิดเหตุผล ทำไมเด็กเล็ก-เด็กโต ควรได้รับ วัคซีนเชื้อตาย
- "หมอธีระ" ชี้ คลายล็อก เร็วเท่ากับเติม เชื้อไฟ แนะจับตาเห็นชัดปลายเดือนนี้
- "ฉีดวัคซีน" ศูนย์ฯบางซื่อ เช็กด่วนยังทัน รับวัคซีนเข็ม 1 - Walk-in มีเงื่อนไข
ประเทศอินเดียประสบเคราะห์กรรม ติดเชื้อมหาศาลเสียชีวิตมโหฬาร แต่เมื่อเริ่มมีการใช้ ยาฆ่าพยาธิไอเวอร์เมคติน (ivermectin) เต็มรูปแบบตั้งแต่มีการสัมผัสผู้ติดเชื้อและให้ทั้งบ้านแม้มีผู้ติดเชื้อเพียงคนเดียว รวมทั้งให้เป็นการรักษาเมื่อมีการติดเชื้อตั้งแต่เริ่มต้นแม้ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยนิด
ปรากฏว่าอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงอย่างถล่มทลายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 จนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคมและต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
ทั้งนี้รัฐ Kerala และทามิล นาดู ที่ปฏิเสธการใช้ยาฆ่าพยาธินี้โดยไม่เชื่อตามคำแนะนำของสถาบันทางการแพทย์และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของอินเดีย
โดยที่ยึดถือวัคซีนเป็นหลักและมีการฉีดวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มใน56% และอายุมากกว่า 40 ปีได้ถึง 70% รวมทั้งใช้ยาเรมเดซิเวีนร์ฉีดในการรักษา ตามฝรั่ง
กลับมีอัตราผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูงสุด ทั้งๆ ที่มีประชากรน้อยกว่ามากมายเมื่อเทียบกับรัฐอื่นๆที่มีประชากรมากกว่าและ ฉีดวัคซีนเพียงห้า%กลับติดและเสียชีวิตน้อยมาก
ยาฆ่าพยาธิ "Ivermectin" ใช้ได้ทั้ง การรักษาโควิด ตั้งแต่เริ่มต้นรวมกระทั่งเมื่อติดเชื้อและมีอาการไปแล้วและสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นได้ (early และ late treatment)
ประการสำคัญก็คือโควิดมีการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ และจะเห็นได้ว่ายามาตรฐานที่ใช้รักษาอย่าง "ฟาวิพิราเวียร์" เริ่มเห็นว่าได้ผลช้าลงหรือไม่ทันการณ์
หมอธีระวัฒน์ กล่าว
ที่มา เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
ข่าวที่เกี่ยวข้อง