โควิด-19

รู้จัก ภาวะลองโควิด "Long COVID" ที่คนหายป่วยจากโควิด-19 ต้องรู้

รู้จัก ภาวะลองโควิด "Long COVID" ที่คนหายป่วยจากโควิด-19 ต้องรู้

18 ก.ย. 2564

ทำความรู้จัก ภาวะลองโควิด "Long COVID" หรืออาการหลงเหลือของเชื้อโควิด-19 ระยะยาว ที่คนหายป่วยจากโควิดต้องรู้

วันที่ 18 กันยายน 2564 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในร่างกายแล้ว อาจมีอาการหลงเหลืออยู่ ซึ่ง องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกอาการนี้ว่า ภาวะลองโควิด "Long COVID" หรืออาการหลงเหลือของเชื้อ โควิด-19 ระยะยาว 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากหายป่วยในช่วง 1 - 3 เดือนแรก พบได้ร้อยละ 30 - 50 ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มที่ป่วยรุนแรง ซึ่งแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย เป็นต้น 

 

หากผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้วยังมีอาการที่กล่าวมา แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น กรณีมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 

 

Long COVID คืออะไร 

 

Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เนื่องจากในขณะที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมา และไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ 

 

 

อาการ Long COVID เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งผลกระทบของ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว 

 

กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพบอาการ Long COVID ได้แก่ 

 

-ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง 

-ผู้ที่มีโรคประจำตัว

-ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 

-ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน

-เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย