โควิด-19

ผลวิจัยชี้ วัคซีน "ไฟเซอร์-แอสตร้าเซนเนก้า" สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดร.อนันต์ เผยผลทดลองจากมองโกเลีย พบ วัคซีน "ไฟเซอร์-แอสตร้าเซนเนก้า" มีประสิทธิภาพสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด ขณะที่ ซิโนฟาร์ม ภูมิตกฮวบ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนานักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยผลวิจัย จากประเทศมองโกเลีย ซึ่งมีวัคซีนหลักที่ใช้อยู่ 4 รูปแบบ คือ Pfizer, AZ, Sputnik V และ Sinopharm  โดยทีมวิจัยของสหรัฐอเมริการ่วมกับทีมของมองโกเลีย จึงนำตัวอย่างซีรั่ม ของผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ละประเภท มาเปรียบเทียบปริมาณ 
Neutralizing Ab ที่จับกับตำแหน่งสำคัญของโปรตีนหนามสไปค์ของไวรัสสายพันธุ์หลัก ๆ ถึง 10 สายพันธุ์ ซึ่งถือว่าเยอะมาก ในการศึกษาแนวนี้

 

ผลวิจัยชี้ วัคซีน "ไฟเซอร์-แอสตร้าเซนเนก้า" สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด
 

ผลการศึกษาน่าสนใจครับ ไม่ว่าจะเป็นสไปค์ของไวรัสสายพันธุ์ไหน อันดับหนึ่งที่มาสูงสุดคือ PZ 
ตามมาด้วย AZ และ ตามมาห่าง ๆ ด้วย Sputnik V และ รั้งท้ายด้วย Sinopharm ซึ่งผลที่แสดงออกมานี้ ค่อนข้างน่าแปลกใจ ในกรณีของ Sputnik V ที่ผลการทดสอบเฟส 3 ที่รัสเซียเคยตีพิมพ์ออกมาได้สูงกว่า AZ และ เทียบเท่ากับ PZ และ ตัวเลขของ Sinopharm เอง ก็ออกมาน่าตกใจเช่นเดียวกันเพราะตัวเลขดูต่ำกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ มากพอสมควรครับ

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ละชนิด และติดเชื้อโรคโควิด-19 ค่าแอนติบอดีจาก 
PZ, AZ, Sputnik V, Sinopharm ขึ้นมาสูงเกือบ 100% มีบางตัวอย่างใน AZ และ Sinopharm มีการกระตุ้นขึ้นมาไม่มากเท่าทั้ง 3 รูปแบบ

 

โดยผลการวิจัยของมองโกเลีย ได้เก็บตัวอย่างพลาสมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 จากผู้เข้าร่วมชาวมองโกเลีย 196 ราย ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วน 1 ใน 4 ชนิด ได้แก่ Pfizer/BioNTech, AstraZeneca, Sputnik V และ Sinopharm การทดสอบแอนติบอดีตามหน้าที่
ด้วยแผงโปรตีน RBD ของไวรัส SARS-CoV-2 จำนวน 9 รายการ เผยให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน
ในการตอบสนองของวัคซีน โดยมีระดับแอนติบอดีต่ำ และกิจกรรมการบล็อก RBD-ACE2 ที่กระตุ้น
โดยวัคซีน Sinopharm และ Sputnik V เมื่อเปรียบเทียบกับ AstraZeneca หรือ Pfizer /วัคซีนไบโอเอ็นเทค ซึ่งเป็นตัวแปรอัลฟ่า ทำให้เกิดการติดเชื้อ 97% ในมองโกเลียในเดือนมิถุนายน และต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 บุคคลที่ฟื้นตัวจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 หลังการฉีดวัคซีน จะมีระดับแอนติบอดีสูงในกรณีส่วนใหญ่ ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า อาจจำเป็นต้องมีการแทรกแซงด้านสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมวัคซีน ซึ่งอาจด้วยวัคซีนชนิดที่มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อควบคุมการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในมองโกเลียและทั่วโลก

 

ที่มา : Anan Jongkaewwattana

         https://www.medrxiv.org/

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ