Program Online

(คลิปข่าว) อินเดีย-ปากีสถาน รากเหง้าปัญหาพิพาท

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) อินเดีย-ปากีสถาน รากเหง้าปัญหาพิพาท

เมื่อวาน เครื่องบินรบอินเดียและปากีสถานต่างก็โจมตีซึ่งกันและกันจนตกไปฝ่ายละ 1 ลำ หลังจากที่ฝ่ายอินเดียเป็นฝ่ายเริ่มก่อนเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โดยการโจมตีค่ายฝึกกลุ่มติดอาวุธในปากีสถาน เรื่องนี้ทำให้หลายฝ่ายวิตกว่าอาจจะนำไปสู่สงครามใหญ่ เพราะปัญหาระหว่าง 2 ชาตินั้นมีรากฐานที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี

ดินแดนทางเหนือสุดของอนุทวีปอินเดียที่ชื่อว่ากัษมีระ หรือแคชเมียร์ เป็นดินแดนที่เป็นปัญหาระหว่างฮินดูและมุสลิมมาตั้งแต่ก่อนการแบ่งแยกประเทศเป็นอินเดียและปากีสถานในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2490 แล้ว ในสมัยโบราณที่นี่เป็นศูนย์กลางของศาสนาฮินดู พุทธ และต่อมาศาสนาอิสลามก็เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากที่นี่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง อังกฤษมีแนวคิดเรื่องการให้เอกราชกับอาณานิคมอินเดีย โดยให้แบ่งเป็น 2 ประเทศคืออินเดียและปากีสถานด้วยเหตุผลทางศาสนา โดยอินเดียให้เป็นถิ่นของชาวฮินดู ปากีสถานจะเป็นถิ่นของชาวมุสลิม แต่เพราะคนทั้งสองศาสนา ต่างก็อยู่ปักหลักอยู่อาศัยผสมปนเปกัน เมื่อแบ่งแยกประเทศ คนทั้งสองกลุ่มต่างก็รบราฆ่าฟันกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 5 แสนถึง 1 ล้านรายในส่วนของดินแดนแคชเมียร์นั้น มีการให้สิทธิมหาราชา ผู้ปกครองท้องถิ่นตัดสินใจว่าจะอยู่กับประเทศใด ซึ่งมหาราชา ฮารี ซิงห์ ก็ตัดสินใจให้แคชเมียร์เป็นรัฐอิสระ แต่ท่าทีของพระองค์ถูกตีความผิดไปว่าต้องการให้แคชเมียร์ ซึ่งมีชาวมุสลิมอยู่มาก ไปอยู่กับอินเดีย และก็นำไปสู่กรณีพิพาท ในท้ายที่สุด ดินแดนแถบนี้ก็ถูกแบ่งระหว่าง 3 ชาติ โดยอินเดียได้ดินแดนไป 43 เปอร์เซนต์ และประชากร 70 เปอร์เซ็นต์ ปากีสถานได้ดินแดน 37 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นของจีนแต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในฝั่งของอินเดีย ที่เรียกว่าแคว้นจัมมู - แคชเมียร์ เป็นมุสลิมถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ไม่อยากถูกปกครองโดยอินเดียที่นับถือฮินดู นอกจากนั้น การที่ผู้คนที่นี่มีปัญหาเรื่องการว่างงานสูง การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยฝ่ายความมั่นคงที่ต้องปราบปรามผู้ที่ออกมาประท้วง และกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ ที่ลักลอบเข้ามาก่อการจากฝั่งปากีสถาน ที่นี่จึงมีความตึงเครียดสููงตลอดมาที่นี่ถือเป็นเขตที่มีการวางกำลังทหารไว้มากที่สุดในโลก พื้นที่แถบนี้เคยเจอสงครามใหญ่ระหว่างอินเดียและปากีสถานมาแล้ว 3 ครั้ง สงครามย่อยระหว่างอินเดียกับจีน1 ครั้ง การปะทะตามแนวชายแดน การสู้รบบนภูเขาสูง การปะทะกับกลุ่มติดอาวุธ และการประท้วงของประชาชน นับครั้งไม่ถ้วน

(คลิปข่าว) อินเดีย-ปากีสถาน รากเหง้าปัญหาพิพาท

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ