คอลัมนิสต์

ผับ-บาร์ ปิดตี 4ความจริงที่ครม.ต้องรู้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์... อ๊อด เทอร์โบ..ดับเครื่องชน [email protected]

 

 


          ‘ดับเครื่องชน’ ขอยกมือเชียร์-สนับสนุนรัฐมนตรีการท่องเที่ยว-กีฬา ‘พิพัฒน์ รัชกิจประการ’ อย่างเต็มที่ กรณีเสนอให้ครม.ไฟเขียวให้ผับ-บาร์ ปิดตี 4

 

          กรณีนี้เราต้องมีความจริงที่เกิดขึ้นและอยากจะบอกพวกโลกสวยว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยกำลังเฉาตายอยู่แล้ว

 

 

          การอนุญาตให้ผับ-บาร์ปิดตี 4 ของรัฐมนตรีท่องเที่ยวนี้จะทำเฉพาะเขตหรือโซนที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยม เช่น สีลม-ข้าวสาร กทม., หาดป่าตอง ภูเก็ต เมืองพัทยา ฯลฯ

          เรื่องนี้จะต้องพิจารณาโซนนิ่งเป็นเฉพาะท้องที่ไปและปัญหามีอย่างเดียวคือว่าจะทำให้ถูกต้องเหมาะสมที่สุด

          ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยผู้ว่าการ ททท. ‘ยุทธศักดิ์ สุภสร’ กำลังศึกษาข้อมูลที่เหมาะสมอยู่ เฉพาะการปิดผับ-บาร์ ตี 4 จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่ใช่น้อย

          เอาเรื่องนี้เข้าครม.อีกที ต้องลุ้นกันละครับ ขอสนับสนุนรัฐมนตรีท่องเที่ยว อย่าถอดใจเสียก่อนล่ะ!
อ๊อด เทอร์โบ


 


 ท่องเที่ยวช่วยให้มีความสุข
 ผลวิจัยของมหาวิทยาลัย ‘เซอร์เรย์’

          ผมได้รับบทความทางไลน์จาก ‘ศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล’ ส่งต่อมาให้ น่าสนใจมากเกี่ยวกับผลวิจัยของมหาวิทยาลัย ‘เซอร์เรย์’ ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับประโยชน์ของการท่องเที่ยว

          จึงขออนุญาตเจ้าของข้อเขียนนี้มาเพื่อทุกท่านได้โปรดพิจารณา
อ๊อด เทอร์โบ


 

 

 เที่ยวไปกำไรชีวิต
 ลดเป็นโรคหัวใจ

          ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาเมื่อปี 2002 เปิดเผยว่าคนที่ไม่ค่อยได้ออกไปเที่ยวหรือไม่ค่อยได้เดินทางไปไหนมาไหน มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่เที่ยวบ่อยๆ มากถึง 30%

          ประโยชน์ของการท่องเที่ยว เมื่อได้รู้ว่าจะไปเที่ยวสมองจะมีการคาดสถานการณ์และเริ่มวางแผนล่วงหน้า หากทำสำเร็จในสิ่งที่ได้วางแผนไว้ในการไปท่องเที่ยว ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโดพามีนทุกครั้งที่เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น จะทำให้รู้สึกดีเหมือนประสบความสำเร็จบางอย่างในชีวิต ด้วยเหตุนี้พบว่าการไปเที่ยวบ่อยๆ จะทำให้มีความสุขมากยิ่งขึ้นและช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้จริง




          จากการสำรวจเพิ่มเติมพบว่า การออกเดินทางช่วยลดความเครียดได้ดีมากและคนที่ออกท่องเที่ยวในที่ต่างๆ แบบไม่ซ้ำกันหรือออกไปเปิดหูเปิดตาผจญภัยในสถานที่ใหม่ๆ มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนที่ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ส่วนผู้ที่ไม่ได้ท่องเที่ยวติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีมากกว่า 30% มีโอกาสเป็นโรคหัวใจ ต่างจากผู้ที่ออกเดินทางท่องเที่ยวบ่อยๆ กลับมีอัตราเป็นโรคหัวใจต่ำกว่ามาก

          เหตุผลที่ว่า ผู้ที่ท่องเที่ยวเป็นประจำจะต้องเดินทางไกล ยิ่งเดินทางท่องเที่ยวมากเท่าไรก็ไม่รู้สึกเหนื่อย เนื่องจากสิ่งตื่นเต้นรออยู่ข้างหน้าตลอดทาง โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบลุยๆ ก็ยิ่งทำให้สุขภาพแข็งแรงดีขึ้นไปอีก

          หากพูดง่ายๆ ก็คือเมื่อขยับร่างกายมากกว่าปกติแถมยังสนุกกับช่วงเวลาไปตลอดทาง ทำให้สุขภาพทางกายและจิตดีขึ้นมากกว่าคนที่อยู่แต่บ้าน หรือทำอะไรซ้ำๆ เป็นกิจวัตรประจำวันและในช่วงที่ยังมีกำลัง ยิ่งใช้ยิ่งแข็งแรง การไปท่องเที่ยวจึงได้อะไรมากกว่าที่คิด ออกไปเที่ยวซะบ้างแล้วจะได้อะไรมากกว่าที่คิดอย่างแน่นอน

          สถานที่ที่เหมาะกับการไปท่องเที่ยวเพื่อปรับสมดุลในร่างกายให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติคือทะเลและป่าเขา ในทางจิตวิทยานอกจากสีเขียวที่เรามักจะเห็นอยู่ในสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกสดชื่นและปลอดภัยแล้ว ขณะเดียวกันสีฟ้าของน้ำทะเลก็ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จากการวิจัยพบว่ายิ่งได้มองเห็นพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวมากเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นสีฟ้าของน้ำทะเล สีเขียวจากป่าเขา ธรรมชาติหรือสีฟ้าจากท้องฟ้า ก็จะยิ่งมีสุขภาพจิตที่ดีมากเท่านั้น

          บริเวณที่ชุ่มชื้นอย่างชายฝั่งทะเล แม่น้ำ ลำธารหรือน้ำตก จะมีประจุไฟฟ้าลบลอยอยู่ในอากาศ เมื่อกระทบกายจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารเซโรโทนิน ทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลายและสดชื่น โดยเสียงคลื่นกระทบชายหาด เสียงลมและเสียงสัตว์ป่าในธรรมชาติเป็นเสียงที่ไม่ได้มีการจัดวางแพทเทิร์นไว้แต่ถูกธรรมชาติสร้างสรรค์ออกมาบนความหลากหลายเกินคาดเดา เป็นเสียงเบาๆ ที่มีโทนเสียงปานกลางถึงต่ำทำให้เรารู้สึกสงบทุกครั้งที่ได้ยินได้ฟังเสียง

          ไม่แปลกเลยที่ร่างกายของเราจะเรียกร้องให้ออกห่างจากความวุ่นวายในตัวเมือง หลีกหนีจากป่าคอนกรีตแล้วเดินทางเข้าป่าเขาและทะเล เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย


 


 บุหรี่ไฟฟ้า (ผ่านไปยังรัฐมนตรีสาธารณสุข)
 ต้องชัดเจน-เป็นธรรม

          ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ส่งผ่านเรียนมายังรัฐมนตรีสาธารณสุขเพื่อสั่งการเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าว่าจะเอาอย่างไรกันแน่

          เวลานี้พวกผมเจ้าของร้านค้าต่างต้องการความชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ และทางกระทรวงต้องฟันธงไปเลยว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อผู้สูบหรือมีผลข้างเคียงไปถึงเด็กเยาวชนหรือผู้อยู่ใกล้ๆ หรือไม่

          บอกตามตรงว่าบุหรี่ไฟฟ้านี้มีขายในตลาดมืดกันมากและราคาแพงมากๆ ผู้สูบบอกว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และในทางกฎหมายจะเอาอย่างไรดีครับ?
ธนวัฒน์ (กทม.)


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-วิษณุ ป้องบิ๊กตู่คล้ายจะหนีสภาแต่ไม่ใช่
-อเมริกา เตรียมส่งออท.สหรัฐประจำไทย หลังว่างเว้น 1 ปี
-โผทหารเรียบร้อย นายกฯเตรียมทูลเกล้าฯ
-5 รมต.ต้องไปสภาทุกนัด
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ