คอลัมนิสต์

ลอกคราบ "ทักษิณ" นักเล่นเกมเสี่ยง ไพร่พลรับกรรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทักษิณ ได้ชื่อว่าเป็นนักเล่นเกมเสี่ยง High Risk Hig Return เสี่ยงสูงย่อมได้ผลตอบแทนสูงกลับมา แต่บางทีผลก็ตรงกันข้าม

          ในรอบ 2 ทศวรรษ การเมืองไทยต้องบันทึกไว้ว่า “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นนักการเมืองคนเดียวที่สร้าง “ปรากฏการณ์” ทั้งบวกและลบ ไม่ว่าจะเป็นชัยชนะแลนด์สไลด์, สงครามเหลือง-แดง, ยุทธการชัตดาวน์ของ กปปส. และรัฐประหาร 2 ครั้ง

 

ลอกคราบ "ทักษิณ"  นักเล่นเกมเสี่ยง  ไพร่พลรับกรรม

          เลือกตั้ง 2544 และ 2548 “ทักษิณ” ทำสงครามเลือกตั้ง ด้วยนโยบายประชานิยม มัดใจคนรากหญ้า

          อย่างไรก็ตาม ทักษิณ ชินวัตร ได้ชื่อว่าเป็นนักเล่นเกมเสี่ยง High Risk Hig Return เสี่ยงสูงย่อมได้ผลตอบแทนสูงกลับมา ทักษิณมิคิดว่า Low Risk High Return เสี่ยงต่ำแต่ได้ผลตอบแทนสูงก็มี

          เมื่อชอบเล่นเกมเสี่ยงก็ต้องเผชิญความเสี่ยง ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาไพร่พลของทักษิณบาดเจ็บและล้มตายทางการเมืองไปมากมาย

 

ย้อนรอย 3 เกมพลาด

          ใครจะคิดว่าทักษิณกำชัยชนะแบบถล่มทลาย ได้ยึดครองสภาเพียงปีเศษก็เผชิญหน้าการต่อต้านอย่างกว้างขวางเมื่อเกิดปรากฏการณ์ “คนเสื้อเหลือง” 

          จุดเริ่มต้นของ “เกมพลาด” ครั้งแรกของทักษิณคือขายหุ้นให้เทมาเส็ก

          23 มกราคม 2549 ตระกูลชินวัตร และดามาพงศ์ เทขายหุ้นในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487 ล้านหุ้น รวมเป็นเงิน 73,271 ล้านบาท โดยไม่เสียภาษี 

 

ลอกคราบ "ทักษิณ"  นักเล่นเกมเสี่ยง  ไพร่พลรับกรรม

http://www.komchadluek.net/news/scoop/265306

 

          การขายหุ้นให้เทมาเส็กได้จุดประกายไฟการลุกฮือต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” และนำไปสู่การเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจบด้วยการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549

          เกมพลาดครั้งที่ 2 คือร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง หรือ “นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย” ดูเหมือนว่า “ทักษิณ” จะได้รับสัญญาณไฟเขียวพิเศษ จึงเดินหน้าทั้งพรรคเพื่อไทย

          การเดินเกมสุดซอยส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์คัดค้านเต็มที่ แม้แต่ฝ่ายผู้สนับสนุนทักษิณเองก็สับสน เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะทำให้ผู้รับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 พ้นจากความผิด

          “สุเทพ เทือกสุบรรณ” นำอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ นำมวลชนลงสู่ท้องถนน และจัดตั้งองค์กร “กปปส.” ดำเนินยุทธวิธีรุกไล่ฝ่ายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อาทิ เข้ายึดสถานที่ราชการหลายแห่ง เปิดปฏิบัติการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ไปจนถึงการปิดล้อมคูหาเลือกตั้ง ซึ่งทำให้การเลือกตั้งปี 2557 เป็นโมฆะ สุดท้ายก็จบที่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

          “8 กุมภา เอฟเฟกต์” เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ เมื่อคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคไทยรักษาชาติ

          วันเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า “การนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม ...ถือเป็นการกระทำที่มิบังควร ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง” 

 

ลอกคราบ "ทักษิณ"  นักเล่นเกมเสี่ยง  ไพร่พลรับกรรม

http://www.komchadluek.net/news/politic/362643

 

          ตามมาด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์ 13 กุมภาพันธ์ ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ โดยเห็นว่า “กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับคำร้องพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรค ทษช. ตามที่กกต.ยื่นคำร้องให้วินิจฉัยยุบพรรค ทษช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 92

 

2 สงครามไพร่

          หลังการยุบพรรคพลังประชาชน ปลายปี 2551 “เนวิน ชิดชอบ” ได้นำอดีต ส.ส.พรรคพลังประชาชน ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และเข้าร่วมรัฐบาลอภิสิทธิ์ 

          “ทักษิณ” บัญชาเกมอยู่ต่างแดน สั่งการให้แกนนำ นปก.(ตอนหลังเปลี่ยนเป็นนปช.) จัดการชุมนุมใหญ่ภายใต้ชื่อ “ยุทธการโค่นอำมาตย์” ช่วงเดือนเมษายน 2552 และยุทธการโค่นอำมาตย์ภาค 2 จนเกิดการสลายการชุมนุมเดือน พฤษภาคม 2553 

 

ลอกคราบ "ทักษิณ"  นักเล่นเกมเสี่ยง  ไพร่พลรับกรรม

 

          หลังเหตุการณ์ พ.ศ.นั้น แกนนำ นปช. ที่อาสาพานายกลับบ้าน เรียกคนจากต่างจังหวัดมาชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการจลาจลในเมืองใหญ่ทั้ง วีระกานต์ มุสิกพงศ์, จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ก่อแก้ว พิกุลทอง และนพ.เหวง โตจิราการ พร้อมกับแกนนำอีกหลายร้อยคน มีคดีติดตัวเพียบ 

          นอกจากนี้แกนนำคนเสื้อแดงต้องหนีภัยไปอยู่ต่างประเทศหลายสิบคน บางส่วนกลับมาแล้ว แต่หลายคนถูกอุ้มหายในประเทศเพื่อนบ้าน

          มาถึงวันนี้แกนนำ นปช. อย่าง จตุพร พรหมพันธุ์ รู้ซึ้งถึงสัจธรรมชีวิตและสรุปบทเรียนสำคัญของการอาสารับใช้ “นายใหญ่” จนติดคุกติดตะราง 

 

 

3 แฮตทริกยุบพรรค

          บรรดาแกนนำพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ และพรรคเพื่อชาติ พร้อมกองเชียร์คนเสื้อแดง คงลุ้นระทึกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยยุบพรรค ทษช. หรือไม่? และจะเป็นแฮตทริกของทักษิณหรือไม่?

          30 พฤษภาคม 2550 พรรคไทยรักไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเนื่องจากมีการว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง 2549 (เลือกตั้งโมฆะ) ปิดฉากพรรคไทยรักไทย ที่กุมเสียงข้างมากในสภาเกือบ 5 ปี

 

ลอกคราบ "ทักษิณ"  นักเล่นเกมเสี่ยง  ไพร่พลรับกรรม

 

          “ทักษิณ” บงการเกมอยู่ต่างแดน ไม่ถอยเดินหน้าตั้ง “พรรคพลังประชาชน” ลงสู่สนามเลือกตั้ง 2550 และได้รับชัยชนะ จึงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสมัคร แต่เดือนธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชน หลังพบทุจริตในการเลือกตั้งของ ยงยุทธ ติยะไพรัช กรรมการบริหารพรรคขณะนั้น

          ทั้งหมดนี้เป็นเกมอำนาจที่ถูกออกแบบมาจากนักการเมืองผู้ไม่ยอมรับชะตากรรม และ “ทักษิณ” ยังชักธงรบไม่จบสิ้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ