คอลัมนิสต์

สุดทางตำนาน 2 ป. ‘ประยุทธ์’ ลงสวย ‘ประวิตร’ ติดกับดักการเมืองเก่า

จบตำนาน 2 ป. ประวิตร ติดกับดักการเมืองเก่า ประยุทธ์ ในภารกิจใหม่สมเกียรติทหารเสือราชินี เมื่อถึงทางแยกสายบูรพา พี่น้องต้องแยกทาง

ทางแยกสายบูรพา ประวิตร หลงกลิ่นการเมือง ประยุทธ์ ในภารกิจใหม่สมเกียรติทหารเสือราชินี จบตำนานพี่น้อง 2 ป. 


พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ ประวิตร พาน้องรัก ประยุทธ์ มาได้ไกลกว่าที่คิด ในเกมอำนาจ 8 ปี พี่ 2 ป.แยกทางเดิน และเดินไปคนละทาง


ข่าวใหญ่ส่งท้ายปี 2566  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย มีภารกิจใหม่หลังประกาศวางมือทางการเมือง และลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพล.อ.ประยุทธ์ เป็นองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.2566 

ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ยังดำรงตำแหน่ง สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งคนใกล้ชิดพี่ใหญ่ ยืนยันว่า ลุงป้อมชอบการเมือง และจะไม่ลาออกจากหัวหน้าพรรค พปชร.


จากกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ฯ ค่ายพรหมโยธี ถึงทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2566 เป็นห้วงเวลาของการก่อเกิดคณะนายทหารที่ได้ฉายาว่า ‘บูรพาพยัคฆ์’  

 

เมื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ปี 2548 จึงถือว่าเป็นต้นขั้วบูรพาพยัคฆ์ ก่อนที่จะนำพาน้องรักอีก 2 คนคือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่ไลน์ผู้นำกองทัพบก

 

 

พล.อ.ประวิตร ยังทิ้งพลังประชารัฐไม่ได้

 

 

วันที่ 22 พ.ค. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ได้เข้าควบคุมอำนาจตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นนายกรัฐมนตรี

 

หลังการเลือกตั้งทั่วไป 22 มี.ค. 2562 พี่น้อง 2 ป. พล.อ.ประวิตร และพล.อ.ประยุทธ์ ได้เข้าสู่โหมดการเมืองปกติ และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ลุงป้อม-ลุงตู่ เริ่มเหินห่างจากกัน

 

ในที่สุด พี่น้อง 2 ป.ต้องมาต่อสู้กันเองในสมรภูมิเลือกตั้งปี 2566 พล.อ.ประวิตร นำทัพพลังประชารัฐ และ พล.อ.ประยุทธ์ นำทัพรวมไทยสร้างชาติ 

 

ความพ่ายแพ้ของ 2 ลุง ทำให้สมการการเมืองเปลี่ยน ไม่มีขั้วประชาธิป ไตย ไม่มีขั้วเผด็จการ เมื่อเพื่อไทยยอมจัดตั้งรัฐบาล ร่วมกับพรรค 2 ลุงเพื่อสกัดก้าวไกลเข้าสู่อำนาจ

ก้าวไกลรุก ‘อุ๊งอิ๊ง’ ดันนิรโทษกรรมแตะ ‘ชั้น 14’ จุดพลุอภิสิทธิ์ชน

เช็กขุมกำลัง ‘ประวิตร’ พึ่งพา ‘สันติ-วราเทพ’ บวกซุ้มใหญ่ซุ้มย่อย

ลุงตู่จบสวย
“อำนาจเก่ามีประสบการณ์ในการรักษาอำนาจนำมายาวนาน ฝ่าวิกฤตหนักมาครั้งแล้วครั้งเล่า ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา” สมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งกล่าวถึงกรณี สว.สายลุงตู่ พร้อมใจโหวตเห็นชอบ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ 22 ส.ค. 2566


ถัดมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้ประกาศลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ เปิดทางให้พรรคขั้วอนุรักษนิยม เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ


รวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองเฉพาะกิจ ที่มีเจ้าของพรรคตัวจริงเป็นผู้บริหารจัดการอยู่หลังม่าน โดย พล.อ.ประยุทธ์ รับบทผู้แสดงนำในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

 

เมื่อผลการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ลุงตู่ก็ยอมถอย เพื่อเปิดทางให้มีการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว โดยพรรค รทสช. ได้โควตาเก้าอี้ รมว.พลังงาน, รมว.อุตสาหกรรม ,รมช.คลัง และ รมช.เกษตรฯ
 


มีผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต่างจาก พล.อ.ประวิตร ตรงที่ ป.น้องเล็ก เล่นการเมืองเพื่อชาติบ้านเมือง ส่วน ป.พี่ใหญ่ เล่นการเมืองแบบเก่า หรือการเมืองอุปถัมภ์แบบนักเลือกตั้ง

 

ดังนั้น เมื่อบริบทการเมืองโดยภาพรวมเปลี่ยนอย่างรุนแรง ฝ่ายอนุรักษนิยมตกเป็นรองฝ่ายเสรีนิยมก้าวหน้า ลุงตู่ก็ยอมถอย เพื่อให้ฝ่ายจารีตเดินต่อไปได้

 

เส้นทางพี่ใหญ่ตีบตัน
หลังเลือกตั้ง 2566 แม้พรรคพลังประชารัฐ มี 40 เสียง แต่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ยังฝันจะเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยสูตรพิสดาร และกองกำลัง สว.ที่มีอยู่ในมือ

 

การตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เลือกแนวทางข้ามขั้ว ส่งสัญญาณให้ สว.สายลุงตู่ โหวตเลือกเศรษฐา เป็นนายกฯ ทำให้ พล.อ.ประวิตร ถึงกับเข่าทรุด นึกไม่ถึงว่าจะถูกน้องรักหักดิบอีกครั้ง


เหนืออื่นใด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ยังพา สส.พลังประชารัฐ 39 คน ไปเข้าร่วมรัฐบาลเพื่อไทย และได้รับโควต้าเก้าอี้ รมว.เกษตรและสหกรณ์, รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ และรมช.สาธารณสุข


ปัจจุบัน ลุงป้อม ยังอยู่โยงเฝ้าพรรค พปชร. ไม่คิดจะลาออกจาก สส.ตามที่มีข่าวลือก่อนหน้านี้ เพื่อรอเวลาส่งไม้ต่อให้น้องชาย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ดูแลพรรคต่อไป 


 

ข่าวยอดนิยม