คอลัมนิสต์

ประชาธิปไตย89 ปี ประเทศไทย มี "รัฐธรรมนูญ" 20 ฉบับ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปลี่ยนแปลงการปกครอง 89 ปี ประเทศไทย มี "รัฐธรรมนูญ" 20 ฉบับ และยังสาละวนอยู่กับการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย89 ปี ประเทศไทย มี "รัฐธรรมนูญ"  20 ฉบับ

 

นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้เมื่อวันที่  6 เมษายน 2560
ที่ผ่านมามีรัฐธรรมนูญ  ซึ่งให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ทางหนึ่ง แม้ทำให้การแก้ปัญหาทำได้อย่างฉับไว แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจตาม มาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502ในยุค รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร มาตรา 21 ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2519 หลังพลเรือเอก สงัด ชะลออยู่ ทำรัฐประหารหลังเหตุการณ 6 ตุลา 19 และ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่ให้อำนาจหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเหนืออำนาจของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการละม้ายคล้ายกับอำนาจสมัย สฤษดิ์ – ถนอม 
 

รัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ มี 2ฉบับที่ กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้งคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 กำหนดให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนโดยตรง ส่วนสภาสูงซึ่งเรียกว่าพฤฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้ทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บังคับใช้มา 4 ปี ก็มีการแก้ไข  แต่การแก้ไขที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภา ถูกมองว่าเป็นการสมประโยชน์กันของฝ่ายการเมือง เพราะริเริ่มโดยพรรคพลังประชารัฐ แกนนำรัฐบาล เปลี่ยนจากการเลือกตั้ง แบบจัดสรรปันส่วนผสม
ที่ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคหลุดหายไป  
การคำนวณส.ส.พึงมี  เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทยที่ขานรับด้วยตั้งเป้าชนะแบบแลนด์สไลด์ ในรูปแบบการเลือกตั้งที่พวกเขาถนัด 
 

ความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ริเริ่มโดยภาคประชาชน 2 ครั้ง

 

ประชาธิปไตย89 ปี ประเทศไทย มี "รัฐธรรมนูญ"  20 ฉบับ

 

ครั้งแรกกลุ่มไอลอว์ หรือโครงการอินเตอร์เน็ตกฎหมายเพื่อประชาชน โดยการเข้าชื่อของประชาชนกว่าแสนรายชื่อ เสนอรื้อระบอบอำนาจของ คสช. สร้างหนทางกลับสู่ประชาธิปไตยและเปิดทางให้เกิดการร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากการมีส่วนร่วมของประชาชน  ครั้งที่2 เกิดจากประชาชนแสนห้าหมื่นรายชื่อเสนอแก้รัฐธรรมนูญในนามรีโซลูชั่น เพื่อให้ ยกเลิก ส.ว.  /โละศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ /ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ คสช.และเสนอกลไกต่อต้านการรัฐประหารเป็นต้น แน่นอนว่าทั้งสองร่างของภาคประชาชนถูกปฏิเสธโดยรัฐสภา
ส่วนการแก้ไขโดยฝ่ายนิติบัญญัติครั้งแรก ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตั้งสสร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งฉบับ จบลวที่การตีความของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่สามารถทำได้  ความพยายามครั้งที่สองของฝ่ายนิติบัญญัติจบลงที่ การแก้ระบบการเลือกตั้ง เป็นแบบบัตรสองใบ โดยไม่แตะโครงสร้างอื่น ทั้งอำนาจสว.ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ  และไม่ได้คืนอำนาจให้ประชาชน 

logoline