คอลัมนิสต์

วาระพลังประชารัฐ 2ป. "แย่งชิงอำนาจ" ช่วงชิงการนำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการ ชี้ ประวิตร-ประยุทธ์ "แย่งชิงอำนาจ" ช่วงชิงการนำพรรคพลังประชารัฐ จัดสรรผลประโยชน์ลงตัว ยุบสภาต้นปีหน้า

วาระพลังประชารัฐ 2ป. "แย่งชิงอำนาจ" ช่วงชิงการนำ

 

รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สัมภาษณ์ คมชัดลึก ถึงการลงพื้นที่ของ พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับการไปตรวจราชการจังหวัดเพชรบุรีของ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า เป็นการช่วงชิงการนำ แย่งชิงอำนาจภายในพรรคพลังประชารัฐ มูลเหตุมาจากการเล่นเกมการเมืองในสภา  ช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา แม้พลเอกประวิตร จะพยายามสื่อสารว่าพรรคยังมีเอกภาพ แต่พลเอกประยุทธ์ ไม่มั่นใจ จึงพยายามสร้างพันธมิตร กับแกนนำภายในพรรค เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่ถูกกระทำเหมือนเช่นที่ผ่านมาอีก
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-แบ่งแยกแล้วปกครอง พรรคพลังประชารัฐ ยุทธศาสตร์ลงจากอำนาจของ "3ป"

-รัฐบาลเตรียมขยายเพดาน "กู้เงิน" โปะงบประมาณขาดดุล ลุ้นฟื้นเศรษฐกิจ

-พลเอก "ประยุทธ์" เข้าสู่วงโคจรทางการเมืองแล้ว

วาระพลังประชารัฐ 2ป. "แย่งชิงอำนาจ" ช่วงชิงการนำ

 

สิ่งที่น่าจับตาคือ การลงพื้นที่ครั้งนี้ จะเผยโฉมหน้าผู้ให้การสนับสนุนของแต่ละฝ่ายหากมีลักษณะแบ่งแยกชัดเจน  ก็คาดการณ์ได้ว่าอนาคตพรรคพลังประชารัฐจะ ขึ้นอยู่กับการต่อรอง เพราะไม่มีการนำที่ชัดเจน ไม่เหมือนพรรคไทยรักไทย ที่มีคนคุมพรรค ปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่การปรับคณะรัฐมนตรีที่มีเก้าอี้ ว่างอยู่สองเก้าอี้ เป็นธรรมชาติของพรรคการเมืองที่ไม่มีอุดมการณ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นนั่งร้านให้เผด็จการ ไม่ต่างจากพรรคสามัคคีธรรม ในยุครสช. 

วาระพลังประชารัฐ 2ป. "แย่งชิงอำนาจ" ช่วงชิงการนำ

 

ส่วนการเลือกตั้งบัตร2ใบ มองยังไงพรรคพลังประชารัฐ ก็ไม่ได้เปรียบ ทางเข้าสู่อำนาจครั้งใหม่ จึงต้องซื้อใจพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้ร่วมมือกันในครั้งต่อไป ระหว่างนี้ต้องเขย่าให้ทุกอย่างลงตัว เพื่อยุบสภาเมื่อพร้อมเลือกตั้งครั้งใหม่ราวต้นปีหน้า ทำนายว่าอย่างไรก็อยู่ไม่ครบวาระ ยิ่งลากยาวยิ่งเปลืองตัว และทำให้คะแนนนิยมยิ่งตกต่ำ เว้นแต่อาศัยเครื่องมือทางการเงิน จากการขยายเพดานหนี้สาธารณะไว้ล่วงหน้า มาสร้างคะแนนนิยม  อีกครั้ง  โดยมีเงื่อนไขสำคัญ อยู่ที่การจัดสรรผลประโยชน์ภายในพรรคให้ลงตัว 
อนึ่ง หากมีการยุบสภา รัฐธรรมนูญมาตรา 97 กำหนดคุณสมบัติส.ส.ไว้ว่า ต้องสังกัดพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองเดียว เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และหากมีการยุบสภา ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน60วัน แต่ไม่ต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน 
`

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ