คอลัมนิสต์

มาแล้ว คนชรามาร์เกตติ้ง ค่ายการเมืองจัดให้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แต่ก่อนแต่ไรไม่เคยอุ่นใจ มาวันนี้ ช่างอุ่นใจจริงๆ ที่พรรคการเมืองดาหน้าหาเสียงด้วยการนำเสนอทางเลือกดีๆ สำหรับคนชรา

          เห็นพรรคการเมืองป่าวประกาศหาเสียงเลือกตั้งในประเด็น “เบี้ยคนชรา” ตอนนี้แล้ว หลายคนอาจมองว่านี่คือการเอา “ปลา” มาแจกประชาชนแทนที่จะแจก “เบ็ด!” อีกแล้ว!

          แต่ที่จริงแล้ว นี่คือสวัสดิการที่ประชาชนควรได้ เพราะตั้งแต่วัยทำงานจนถึงวัยเกษียน แต่ละคนต้องเสียภาษีเพื่อใช้ในการช่วยพัฒนาประเทศชาติ

          จนเมื่อถึงจุดหนึ่งที่เข้าสู่วัยพักผ่อน พวกเขาจึงควรต้องได้รับการตอบจากรัฐบาลบ้างตามสมควร

          แน่นอน เราคนไทยหลายคนก็อดหมั่นไส้ในลีลาของนักการเมืองไม่ได้ เพราะภาพของการเกทัพบลัฟแหลกในประเด็นเบี้ยคนชราเวลานี้ ทำให้คนไทยรู้สึกไม่อยากคาดหวังกับน้ำคำของนักการเมือง

           หากแท้จริงแล้ว เรื่องเบี้ยผู้สูงอายุไม่ว่าพรรคไหนได้เข้ามาเป็นรัฐบาล สิ่งนี้ก็จะเกิดขึ้นต่อไปตามกฎหมาย โดยหากย้อนกลับไปดูในอดีต ตลอดมา ทุกๆ รัฐบาลต่างให้ความสำคัญและดำเนินการให้เดินหน้าอยู่ตลอด

 

 ย้อนรอยตลาดนัดเบี้ยคนชรา

          เมืองไทยเรามีการพูดถึงสังคมสูงวัยมาระยะหนึ่งแล้ว และพูดกันหนาหูมากขึ้น ถึงการตั้งรับและปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ต่อปรากฏการณ์นี้ ทั้งในแวดวงการตลาด แวดวงสุขภาพ ประกันชีวิต ไปจนถึงแวดวงการเมือง ฯลฯ

          สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุเมื่อปี 2557 คือมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 15% (ใน 100 คนมี 15 คน) และจะเพิ่มเป็น 20% ในปี 2564 และ 28% ในปี 2574 เรียกว่าเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

          และแนวโน้มเช่นนี้เองที่พรรคการเมืองย่อมเห็นเป็นโอกาสที่จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดกันน้ำไหลไฟดับ ดังเช่นเวลานี้

          อย่างไรก็ดี นโยบายเพื่อผู้สูงอายุนี้เกิดขึ้นตามแนวคิดของกรมประชาสงเคราะห์ ในรัฐบาลสมัย ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี โดยเรียกว่า "โครงการกองทุนสงเสริมสวัสดิการผูสูงอายุและครอบครัวในชุมชนโครงการนี้ไดรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ 3 มีนาคม 2535 และไดเริ่มดําเนินการมาตั้งแตป พ..2536

          โดยเป็นสวัสดิการสังคมประเภทหนึ่ง ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ได้แก่ องค์กรภาครัฐที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          ทั้งนี้ เพื่อให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนเดือนละ “200 บาท” ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ ว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนส่งเสริม สวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชน จนกระทั่งมีการขยับเป็น 300 บาท ต่อเดือนในสมัยชวน

          กระทั่งในปี 2544–2545 ยุคสมัยของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้มีนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ภารกิจเรื่องนี้จึงถูกถ่ายโอนไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร

          โดยต่อมามีคำสั่งยกเลิกระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ และให้ใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2548 หากแต่ยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพเดือนละ “300 บาท” ต่อเดือนเหมือนเดิม

          จนเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลในปี 2549 รัฐบาล พล..สุรยุทธ์ จุลานนท์ มติคณะรัฐมนตรีได้ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุอนุมัติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุเป็นคนละ “500 บาท” ต่อเดือน

           อีกทั้งในทางปฏิบัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพทางการคลังสามารถเพิ่มจำนวนเงินต่อเดือน แต่รวมแล้วไม่เกิน “1,000 บาท” เพื่อให้เพียงพอต่อสภาวการณ์ดำรงชีพในปัจจุบัน หรืออาจเพิ่มจำนวนผู้รับเบี้ยยังชีพได้โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง

          ต่อมาในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังคงไว้ ซึ่งเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุเป็นคนละ 500 บาทต่อเดือน หากแต่ได้​พัฒนา​กระจาย​เบี้ย​ผู้​สูงอายุ​ให้​​ครอบคลุมไม่​มี​แบ่ง​ว่า​คน​แก่​มาก​แก่​น้อย โดย​ให้​ผู้​สูงอายุ​ที่​มีอายุ​ครบ 60 ปี​บริบูรณ์​ขึ้น​ไป

          จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีการปรับเปลี่ยนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นแบบขั้นบันได คือ อายุ 60-69 ปี ได้รับคนละ 600 บาท/เดือน

          อายุ 70-79 ได้รับคนละ 700 บาท/เดือน, อายุ 80-89 ได้รับคนละ 800 บาท/เดือน และผู้สูงอายุ ซึ่งมีอายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพคนละ 1,000/เดือน

          อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงยุคสมัยที่คนไทยมีรัฐบาลนายกฯ ลุงตู่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา การจัดเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ยังคงไว้ซึ่งแบบขั้นบันไดอยู่

 

มาแล้ว คนชรามาร์เกตติ้ง ค่ายการเมืองจัดให้

 

          หากแต่ช่วงปลายปี 2560 รัฐบาลมีการปรับเล็กน้อย จนทำให้เกิดข่าวลือว่า รัฐบาลจะเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุให้ทุกคนอีกคนละ 100 บาท

            จนรัฐบาลต้องออกมาแจงว่า ไม่จริง แต่ให้เพิ่มขึ้นในส่วนของผู้สูงอายุที่ “ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อย จำนวนกว่า 4 ล้านคน รัฐบาล จะได้จัดสรรเงินเพิ่มให้คนละ 50-100 บาท/เดือน

          โดยเป็นผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ได้เพิ่มเดือนละ 100 บาท และผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จะได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 50 บาท

 

สงคราม คนชรามาร์เกตติ้ง

          แต่ก็แน่นอนที่เมื่อบ้านเมืองมาถึงยุคสมัยของการเปิดฉากหาเสียงเลือกตั้ง เรื่องนี้จึงหนีไม่พ้นที่พรรคการเมืองจะหยิบมาพูดอย่างน้ำลายแตกฟอง คร่าวๆ แล้วปรากฏในหน้าข่าวอยู่ 3-4 พรรค 

          ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า กลุ่มชนชรานั้น ในบ้านเรามีน้อยเสียที่ไหน รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุด ผลสำรวจประชากรไทยปี 2560 พบว่า คนไทยจำนวน 67.6 ล้านคน มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป 11.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมด

          และเมื่อแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 3 ช่วงวัย คือ ผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) ผู้สูงอายุวัยกลาง (อายุ 70-79 ปี) และผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เมืองไทยพบผู้สูงอายุวัยต้นสูงถึงร้อยละ 57.4

 

มาแล้ว คนชรามาร์เกตติ้ง ค่ายการเมืองจัดให้

 

          ขณะที่เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มอัตราของผู้สูงอายุ หมายถึง อัตราส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งสิ้น 100 คน จะพบว่า เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (จากร้อยละ 6.8 ในปี 2537 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 10.7 ในปี 2550 ร้อยละ 12.2 ในปี 2554 ร้อยละ 14.9 ในปี 2557 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.7 ในปี 2560)

          แน่นอนกลุ่มผู้สูงอายุในจำนวนที่มีอยู่ในขณะนี้ คือกลุ่มที่มีสิทธิ์เลือกตั้งตามเกณฑ์อายุ หากแต่ถ้ารัฐบาลวางระบบเกี่ยวกับสวัสดิการแห่งรัฐในเรื่องนี้ได้ดี ยังมีกลุ่มบุคคลเป้าหมายที่เป็นอีกกลุ่มที่สำคัญ คือ กลุ่มคนอายุ 40-50 ปีในปัจจุบัน เพราะพวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต หรือคนที่จะได้รับสวัสดิการเบี้ยผู้สูงอายุของรัฐในอนาคตนั่นเอง

          ทีนี้มาดูกันว่า พรรคต่างๆ เขาพูดเรื่องเบี้ยคนชรากันยังไงบ้าง 

          เวลานี้ ถ้าไม่นับ “พรรคประชาธิปัตย์” ที่หาเสียงประกาศจะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาทต่อเดือนไม่แตกต่างจากของเดิม แต่ก็ยังมีเบี้ยอื่นๆ อย่างเบี้ยผู้ยากไร้ 800 บาทต่อเดือน, เบี้ยเด็ก 0- 8 ขวบ 1,000 บาทต่อเดือน อีกด้วย

 

มาแล้ว คนชรามาร์เกตติ้ง ค่ายการเมืองจัดให้

 

           ที่เหลือก็ไม่ยอมน้อยหน้า เช่น "พรรคเพื่อชาติ" โดย ตู่ จตุพร พรหมพันธุ์ ประกาศนโยบายว่าจะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเริ่มต้น 2,000 บาททันทีตั้งแต่อายุ 60 ปี ว่า วงเงินดังกล่าวเป็นเพียงระยะเริ่มต้น หากเศรษฐกิจเดินหน้าได้ดีประเทศมีรายได้เพิ่ม วงเงินจะปรับเพิ่มเป็น 3,000 หรือ 4,000 บาท งบประมาณเหล่านี้พรรคคาดการณ์ว่าเมื่อประเทศเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย บรรยากาศการลงทุนจะมีมากขึ้น

 

มาแล้ว คนชรามาร์เกตติ้ง ค่ายการเมืองจัดให้

 

          อีกพรรคคือ “พรรคประชาชาติ” ที่เพิ่งประเดิมปราศรัยครั้งแรกในกรุงเทพ เมื่อวันที่ 27 .. ที่ผ่านมา งานนี้ พ...ทวี สอดส่อง เลขาฯพรรค ถึงกับประกาศว่าจะเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเป็น 3,000 บาทต่อเดือนโดยแบ่งมาจากงบประมาณกลางที่มีอยู่จำนวนมาก!

 

มาแล้ว คนชรามาร์เกตติ้ง ค่ายการเมืองจัดให้

...ทวี สอดส่อง เลขาฯพรรค ประชาชาติ

 

          งานนี้หลายคนได้ยินแล้วถึงกับครางฮือ...ว่ามันจะทำได้จริงหรือ ซึ่งเราคงต้องดูกันต่อไป 

           แต่ที่แน่ๆ ลมปาก ราคาคุย ถ้าจำกันได้ขนาดบางคนเคยคุยว่า ถ้ามีประชาธิปไตยเต็มใบจะให้เบี้ยคนแก่สูงถึงเดือนละ 15,000 ก็ยังเคยมีคนพูดมาก่อนเลย...เอ้อ!!

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ