ชีวิตดีสังคมดี

เปิดร่างกฎหมายคุ้มครอง 'แรงงาน' พรรค 'ก้าวไกล' ให้สิทธิลูกจ้างเพียบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดรับฟังความเห็นร่างกฎหมาย คุ้มครอง 'แรงงาน' พรรค 'ก้าวไกล' 100 % เห็นด้วย ให้สิทธิลูกจ้างเพิ่ม ทั้งวันลา และ วันหยุด

ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เสนอโดย เซีย จำปาทอง และ สส. พรรคก้าวไกล มีเนื้อหาขยายความคุ้มครองแรงงานโดยนิยามนายจ้าง ลูกจ้าง และ วันลา ให้กว้างขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลุ่มแรงงานที่ทำงานในระบบจ้างงานรูปแบบใหม่ เช่น งานพาร์ทไทม์ งานฟรีแลนซ์ และงานที่บ้านมีการจ้างงานรายเดือน สำหรับงานประจำ-รายเดือน ให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม รวมวันหยุดประจำและวันลาป่วยตามที่กฎหมายกำหนด

สาระสำคัญเรื่องการคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้ นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติโดยเหตุความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมือง เพิ่มสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างด้วยการกำหนด เวลาทำงานไม่เกิน 40 ชม./สัปดาห์ ถ้างานที่อาจอันตรายต่อสุขภาพต้องไม่เกิน 35 ชม./สัปดาห์

 

สำหรับผู้ทำงานเป็นรายวัน-รายชิ้น (ในระบบที่มีทั้งรายวัน-รายเดือน) ต้องมีสัญญาจ้างงาน เมื่อคิดหน่วยทำงานต้องได้รับผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าพนักงานรายเดือนและมีสวัสดิการ ประกอบด้วย

  • นายจ้างจัดวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 2 วัน วันหยุดประจำสัปดาห์ต้องห่างกันไม่เกิน 5 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อครบ 120 วัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้อย่างน้อย 10 วัน และปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดให้เพิ่มมากกว่า 10 วันก็ได้ และอาจกำหนดให้ลูกจ้างที่ยังทำงานไม่ครบ 120 วันโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้
  • ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาไปดูแลบุคคลในครอบครัว/บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่พำนักอยู่ในโรงพยาบาล/ผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลทางร่างกายและจิตใจ ปีละไม่เกิน 15 วันทำงานได้
  • ให้มีสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นเหมาะสมให้ลูกจ้างสามารถให้นมบุตร-บีบเก็บน้ำนมในที่ทำงานได้อย่างน้อย 1 ปีหลังคลอด
  • อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต้องปรับเพิ่มทุกปีในอัตราไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรืออัตราเงินเฟ้อ (ยกเว้นเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ) และกำหนดให้ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มต่ออายุงานหนึ่งปีของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

 

ปัจจุบันสถานะของร่างกฎหมายฉบับนี้ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรับฟังความเห็นของประชาชนตามมาตรา77 ของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ 28 กันยายนที่ผ่านมา มีผู้เข้าไปแสดงความเห็น เห็นด้วย100 % ร่วมแสดงความเห็นได้ที่ 
ร่วมแสดงความเห็นร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯได้ ที่นี่

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ