ชีวิตดีสังคมดี

ถอดบทเรียน เด็กก่อความรุนแรง ทำยังไงไม่ให้เกิดซ้ำ ไม่โดนโทษอาญาแต่ไม่รอด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ถอดบทเรียนแก้ปัญหา 'เด็กก่อความรุนแรง' นักกฎหมาย-นักจิตวิทยา วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ก่อเหตุอาชญากรรมมีหลายปัจจัย แนะวิธีป้องกันไม่ให้ก่อเหตุซ้ำๆ ไม่โดนโทษทางอาญาแต่สุดท้ายก็ยังต้องรับโทษ

เหตุการณ์สยามพารากอนที่สั่นไหวความรู้สึกของประชาชนอีกทั้งยังมีเด็กเยาวชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นการดูแลจะต้องมองทั้งในมิติกฎหมาย และมิติจิตวิทยาด้วย  เวลาที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้มีการตั้งคำถามว่าความหนักเบาอยู่จุดไหน จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มโทษให้เท่าผู้ใหญ่หรือไม่ นอกเหนือไม่จากกฎหมายจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องดูแลด้ายจิตวิทยาไปพร้อมๆ กันเพื่อเป็นการถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกันเพื่อไม่ให้เหตุซ้ำอีกในอนาคตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัด เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 20 “รู้ลึกกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน”   เพื่อสะท้อนมุมมองและแนวทางตอบคำถามที่สังคมกำลังสงสัยอยู่ โดยเฉพาะกรณีที่มีการตั้งคำถามว่าเยาวชนจะต้องรอดเสมอไปหรือไม่

อาจารย์ณัฏพร รอดเจริญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเด็กและเยาวชน  อธิบายถึงหลักกฎหมายในการดำเนินคดีอาญากับเด็ก และหลักในการคุ้มครองผู้กระทำความผิดที่เป็นเยาวชน ว่า โดยปกติแล้วบุคคลที่กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษ ประมวลกฎหมายอาญากำหนดหลักเกณฑ์ถ้าเป็นผู้เยาว์ ซึ่งมีการระบุอายุไว้ชัดเจน มีข้อจำกัดด้านความคิด อาญากำหนดยกเว้นโทษ และลดหย่อนโทษ ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากลที่ทุกประเทศทั่วโลกกำหนด

 

 

ซึ่งบทลงโทษของเยาวชนมีความแตกต่างจากผู้กระทำความที่เป็นผู้ใหญ่ แต่สิ่งที่ตามมาคือการตั้งคำถามว่า แล้วทำไมถึงต้องแตกต่าง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเด็กและเยาวชน อธิบายต่อว่า เพราะว่าเป้าประสงค์ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาความแตกต่าง เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของโลก เด็กมีความพึ่งพิงกับครอบครัว และปัจจัยหลายด้านของสังคม กระบวนการตัดสินใจมีปัจจัยหลายอย่างประกอบ ต่างจากอาชญากรที่เป็นผู้ใหญ่ที่ผู้กระทำความผิดเด็กอาจจะเกิดจากกระบวนคิด วิจารณญาณกระบวนยุติธรรมต้องแยกจากผู้ใหญ่

 

 

 

เนื่องจากเยาวชนหรือเด็กจะต้องได้รับการเยียวยาและฟื้นฟู ได้รับการคุ้มครองจากครอบครัวและสังคมกระบวนการลงโทษจะให้วิธีการสำหรับเด็ก ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ช่วยแก้ไขฟื้นฟูด้านร่างกาย สังคม เพื่อให้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างเป็นคนดี และท้ายที่สุดเขาจะได้ไม่กลับมากระทำความผิดอีก

ดังนั้นกระบวนการและหลักการในการพิจารณาโทษ จะมีการแยกการดำเนินคดีอาญาต้องแยกขัดเจนระหว่างเด็กเยาวชน และผู้ใหญ่ โดยคดีเด็กและเยาชนให้หลักการไม่ควบคุมโดยไม่จำเป็น มีระยะเวลาที่สั้นมากแค่ 24 ชม. สำหรับการจับกุม ต้องแจ้งไปที่สถานพินิจ จากนั้นนำตัวไปศาลเยาวชนและครอบครัวตรวจสอบการจับว่าเด็กได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องหรรือไม่ 30 วันในการควบคุมตัว ศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เช่น บำบัดรักษา ตรวจสภาพร่างกายและจิตใจ ตรามพรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัว  หลักการที่สำคัญคือเบี่ยงเบนคดีไม่ให้เด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น ดังนั้นจะมีการดำเนินคดีพิเศษ ศาลสามารถทำแผนฟื้นฟู และดูว่าเด็กรู้สำนึกผิดหรือไม่ เพื่อไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญา

 

 

อาจารย์ณัฏพร รอดเจริญ

 

 

อาจารย์ณัฏพร กล่าวอีกว่า หลังฟ้องในคดีเด็กและเยาวชนกระบวนการยื่นฟ้องจะมีการสืบพยานและนำข้อมูลเข้าสู่ศาล และศาลเอกมีการสั่งเจ้าหน้าที่สืบเสาะอย่างรอบด้าน สภาพครอบครัวสังคม สภาพนิสัยใจคอ ว่ามูลเหตุจูงใจคืออะไร ในกะบวนพิจารณาอาจจะมีมาตรการพิเศษแทนที่จะดำเนินคดีอาญา อาจจะมีข้อจำกัดว่าความผิดอัตราโทษไม่เกิน 20 ปี เท่านั้นหากเป็นโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตจะไม่สามารถใช้มาตรการพิเศษได้ 

 

 

ทั้งนี้หากเป็นวิธีการสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี มี 3 มาตรการที่ศาลต้องใช้ดุลยพินิจคือ ศาลเห็นควรว่าควรทำเด็กและพ่อแม่มาว่ากล่าวตักเตือน ส่งมอบตัวเด็กให้ครอบครัวและเพิ่มมาตรการไม่ให้ก่อเหตุร้ายขึ้นแต่ไม่เกิน 3 ปี หากก่อเหตุซ้ำผู้ปกครองจะต้องจ่ายเงิน 10,000 บาททุกครั้ง  ถ้าเด็กมีพ่อแม่ แต่ปฏิเสธที่จะไม่รับเด็กคืน ปฏิเสธที่จะยอกรับข้อกำหนดศาลจะต้องส่งเด็กไปโรงเรียน สถานฝึกอบรม ฝึกวิชาชีพ จะทำจนเด็กอายุครบ 18 ปี

 

 

ส่วนกรณีก่อเหตุอุกฉกรรณ์ มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา จะมีการกำหนดเงื่อนไขเด็กสำนึกผิด ส่งผลร้ายกับคนอื่นแค่ไหน  จะต้องใช้นักบำบัด นักจิตวิทยา สหวิชาชีพ เข้าอบรมเพื่อให้เด็กปรับปรุงตัวและคืนกลับเข้าสู่สังคมได้  ทั้งนี้คดีอาญาเด็กและเยาวชนมีหลักการคือ การไม่ตีตราเด็กห้ามถ่ายภาพ อัดเสียง โดยเฉพาะคนที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าฟังคดี หากเราไม่ตีตราเขาเขาจะสามารถกลับเนื้อกลับตัวได้ ไม่ให้แสงว่าการที่เค้ากระทำความผิดไม่ได้รับการสนใจจากทางสังคม

 

 

เด็กที่กระทำความผิดควรได้รับโทษควรเท่ากับผู้ใหญ่ มุมมองของนักกฎหมาย อธิบายว่า  เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดถ้าในลักษณะของเด็กทางกายภาพและจิตใจ ในมุมของเด็กที่ไม่เกิน 12 ปี ยังมีข้อจำกัดและไม่รู้ความเลยด้วยซ้ำว่าเขาสร้างความเจ็บปวด เข้าจะรู้ก็ต่อเมื่อพ่อแม่มาบอกเขา ถ้าเด็กมัธยม วัยรุ่น แน่นอนว่าพัฒนาการทางสมองค่อนข้งมีส่วนของกระบวนการคิดตัดสินใจแต่สมองยังไม่สมบูรณ์ คนทั่วไปจะวุฒิภาวะประมาณ 25 ปี สมองและอารมณ์มีผลต่อการตัดสินใจอย่างมาก ดังนั้นหากเทียบเด็กยังไม่ต้องรับโทษ และให้กระบวนการฟื้นฟูและมาตรการพิเศษไป

 

 

ด้านผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณะบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ด้านจิตวิทยาทำไมเด็กและเยาวชนต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ อายุ 15 ปี 15-18 ปี มีวิวัฒนาการขอกระบวนการคิด พัฒนาด้านจริยธรรมคือการเข้าใจว่าอะไรถูกหรือผิด การแยะแยะถูกหรือปิดเป็นพัฒนาการ อายุต่ำกว่า 15 ปี จะทำตามอารมณ์ ทำตามเพื่อน พัฒนาการด้านจิตวิทยาเป็นอย่างไร กวาจะรู้ว่าอะไรถูกหรือผิดจะต้องผ่านกระบวนการคิดในช่วงพัฒนาการ  ช่วงอายุที่ถูกขึ้นจะรู้ว่าถูกหรือผิด ซึ่งขึ้นอยู่กับพัฒนาการของแต่ละคน เด็กจะรู้สึกผิดหรือถูกตามที่เพื่อนบอกว่าดีหรือไม่ดี

 

 

ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์

 

 

อย่างไรก็ตามมุมจิตวิทยาในคดีร้ายแรงในมติของจิตวิทยา ในกรณีเด็กที่กระทำความผิดจะมีการแสดงออกและสื่อสารป็นเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ เช่น การพูด อารมณ์ ความรู้สึกจะไม่สื่อสารได้ ดังนั้นกระบวนจิตวิทยาจะช่วยให้เกิดการวาดรูป สื่อสารออกมา กระบวนการทางจิตวิทยาจะดูแลแผลในใจ ความรุนแรง เมื่อเข้าไปอยู่ในห้องที่สืบคดีคนที่บาดแผลจะไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ในกรณีที่รู้สึกไม่ปลอดภัย การทำให้เข้ารู้สึกว่าเค้าปลอดภัยเขาจะสามารถสื่อสารออกมาได้ ซึ่งเป็นปลดีต่อรูปคดี

 

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การวินิจฉัยว่าความรุนแรงที่ก่อโดยเด็กเกิดจากกอะไรนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วิเคราะห์ ดังนั้นการที่จะบอกว่าใครหนึ่งคนเป็นอะไรจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในเรื่องที่ละเอียดอ่อน แน่นอนว่าไม่สามารถโกหกได้ ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ

 

 

‘ส่วนที่สังคมเกิดคำถามว่าเกม ครอบครัว มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ แนะนำวิธีการสังเกตุเพื่อให้เกิดแนวโน้มความรุนแรงอย่ารู้สึกว่าทำไม่ได้ กลับมาดูก่อนว่าครอบครัวสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะความรุนแรงไม่ได้อยู่ดีๆ ก็เกิด มันมีที่มาที่ไป หลายคนพยายามหาคำตอบถถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีหลายปัจจัย เริ่มสังเกตการใช้ความรุนแรง สิ่งทีเกิดขึ้นเป็นความรุนแรงทาง physical ถ้าไม่อยากให้ความรุนแรงยกระดับจะต้องไม่ส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงขึ้น’ คำแนะนำจากผส.ดร.ณัฐสุดา

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ