ชีวิตดีสังคมดี

เช็กพื้นที่ 'ค่าดัชนีความร้อน' 12 เม.ย. 66 พุ่งปรอทแตก สูงสุด 53.9 องศาฯ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดพื้นที่ 'ค่าดัชนีความร้อน' ประจำวันที่ 12 เม.ย. 66 พุ่งปรอทแตก อยู่ในเกณฑ์อันตรายหมด สูงสุด 53.9 องศาเซลเซียส

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ประจำวันที่ 12 เม.ย. 2566 ซึ่งพบว่า ค่าดัชนีความร้อน อยู่ในระดับอันตราย ทั้ง 5 จังหวัด 5 พื้นที่ ซึ่งค่าคาดหมายดัชนีความร้อนสูงสุด อยู่ที่ 53.9 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 43.2 องศาเซลเซียส มีพื้นที่ใดบ้าง ตรวจสอบได้ที่นี่

 

 

ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน วันที่ 12 เม.ย. 2566

  • เพชรบูรณ์ ค่าดัชนีความร้อน 46.8 องศาเซลเซียส
  • โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ค่าดัชนีความร้อน 43.2 องศาเซลเซียส
  • บางนา กทม. ค่าดัชนีความร้อน 53.9 องศาเซลเซียส
  • ชลบุรี ค่าดัชนีความร้อน 52.3 องศาเซลเซียส
  • ภูเก็ต ค่าดัชนีความร้อน 49.0 องศาเซลเซียส

 

ทั้งนี้ ค่าดัชนีความร้อน คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่า อากาศร้อนเป็นอย่างไร หรือ อุณหภูมิที่ปรากฏขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยการนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์ หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น (ไม่ใช่อุณหภูมิที่เครื่องวัดหรือโทรศัพท์แสดง)

 

ค่าดัชนีความร้อน

โดยกรมอนามัย อธิบายเกี่ยวกับดัชนีความร้อนในแต่ละระดับ ว่าระดับไหนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ระดับ 27 -32 องศาเซลเซียส (เฝ้าระวัง)

 

  • ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อนออกกำลังกาย หรือ ใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน

 

ระดับ 32 -41 องศาเซลเซียส (เตือนภัย)

 

  • ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดอาการตะคริวจากความร้อนและอาจเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

 

ระดับ 14-54 องศาเซลเซียส (อันตราย)

 

  • ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดท้องเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดดได้หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

 

ระดับมากกว่า 54 องศาเซลเซียส (อันตรายมาก)

 

  • ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke)

 

วิธีรับมือภาวะอากาศร้อน

 

  1. ดื่มน้ำมาก ๆ : อากาศร้อนอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและสูญเสียน้ำได้ง่าย ดังนั้นควรดื่มน้ำเป็นประจำเพื่อรักษาความชื้นของร่างกาย และลดการเกิดอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้
  2. เน้นรับประทานอาหารที่ปรุงสุก เเละปรุงใหม่ : การปรุงอาหารอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการสะสมของพิษในร่างกาย เพราะอาหารที่ไม่ได้รับการปรุงสุก หรือปรุงใหม่ อาจมีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย และไวรัส ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  3. รักษาอุณหภูมิร่างกาย : อากาศร้อนอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และมีเหงื่อออกมากขึ้น ควรรักษาอุณหภูมิร่างกายด้วยการอาบน้ำเย็น หรือใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า และตามร่างกาย
  4. ลดการออกกำลังกาย : ลดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก เพราะอากาศร้อนอาจทำให้ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน และออกซิเจนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย แนะนำให้เลือกกิจกรรมเบาๆ เช่น วิ่ง หรือโยคะยามเย็น
  5. รักษาอุณหภูมิของร่างกาย : การรักษาอุณหภูมิของร่างกายในช่วงอากาศร้อนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อต้องรับมือกับอันตรายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายได้ เช่น หากอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนมาก ควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบา และปลอดโปร่ง ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายให้เกิดความสมดุล

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ