คอลัมนิสต์

ย้ำแค้น พท.เช็คบิล'บูรณุปกรณ์'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดน "ชินวัตร" รุกไล่ ตระกูล "บูรณุปกรณ์" เหลือเพียงเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นที่อยู่ที่ยืนสุดท้าย

ตระกูล "บูรณุปกรณ์" นับเป็นตระกูลเก่าแก่สายหนึ่งของเชียงใหม่ แม้จะมีประวัติความเป็นมาไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่า "ชินวัตร" 

“นายใช้” เดินทางจากเมืองจีนมาปักหลักอยู่เชียงใหม่ เปิดร้านขายของชำชื่อ “ซิมชุ่ยไช้” อยู่ย่านกาดหลวง กับนางจิตรา และมีลูกๆ 11 คน ช่วยเหลือกิจการของร้านเล็กๆ แห่งนั้นประกอบ ด้วย 1.ชัยทัศน์ บูรณุปกรณ์ 2.พรทัศน์ บูรณุปกรณ์ 3.สมจิตร บูรณุปกรณ์ 4.สมพร สุวรรณธนาทิพย์ 5.สมร พาณิชย์พิศาล 6.ประพันธ์ บูรณุปกรณ์ 7.อารีย์ อุดมศิริธำรง 8.วิชิต บูรณุปกรณ์ 9.วิไล บูรณุปกรณ์ 10.บุญเลิศ  บูรณุปกรณ์ 11.ปกรณ์ บูรณุปกรณ์

พ.ศ.นี้  อาณาจักรธุรกิจของตระกูล "บูรณุปกรณ์" ยิ่งใหญ่มากน้อยเพียงใด คนเชียงใหม่ทราบดี ห้วงเวลา 20 ปีมานี้ “บูรณุปกรณ์” เติบโตทางธุรกิจและการเมือง 

ปลายปีที่แล้ว บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ผู้นำกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม พ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความปราชัยที่ “บูรณุปกรณ์” รู้ดีว่า ลึกๆ พวกเขาสู้กับ “ทักษิณ ชินวัตร” พ่วงด้วยเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ต้นปีนี้ ในสังเวียนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม (บูรณุปกรณ์) บริหารเทศบาลแห่งนี้มา 5 สมัย ได้ส่ง “อัศนี บูรณุปกรณ์” ลูกชายของประพันธ์ บูรณุปกรณ์ ลงสู้ศึกป้องกันแชมป์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระบี่คู่ใจ "แม้ว-มิ้ง" ปั้น ทรท.ภาค 2 

ที่มั่นสุดท้าย

เทศบาลนครเชียงใหม่ มีพื้นที่ 40.216 ตารางกิโลเมตร ข้อมูลในปี 2551 มีประชากรในเขตเทศบาล 148,477 คน โดยยกฐานะเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2478

ในรอบ 20 ปีมานี้ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ในรอบ 16 ปี ประกอบด้วย ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ (ปี 2541-2543) ,บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ (ปี 2543-2550), เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ (ปี 2550 -2552) และทัศนัย บูรณุปกรณ์ (ปี 2552-2563)

การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ครั้งสุดท้าย (3 พ.ย.2556) ทัศนัย บูรณุปกรณ์ ลูกชายของพรทัศน์ บูรณปกรณ์ ชนะคู่แข่ง ธิดารัตน์ ศิริวิทยากร ได้เป็นนายกเล็กเชียงใหม่สมัยที่ 2 

ปลายปี 2561 “ทัศนัย” แถลงข่าววางมือทางการเมือง ไม่ขอลงสมัครนายกเล็กอีกสมัย พร้อมกันนั้น ประพันธ์ บูรณุปกรณ์ ประกาศจะลงสมัครนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่แทนหลานชาย

ระหว่างนั้น ประพันธ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกเทศมนตรีฯ ทำงานคู่กับ “อัศนี” ลูกชายที่มีตำแหน่งเลขานุการนายกเทศมนตรีฯ ในทำเนียบเจดีย์ขาวหรือเทศบาลนครเชียงใหม่ หลังการปราชัยของบุญเลิศ ตระกูล “บูรณุปกรณ์” จึงตัดสินใจส่ง “อัศนี” ลงสนามนายกเล็ก และเดินเกมหาเสียงแบบอนาล็อก เคาะประตูบ้าน ไม่ใช้สื่อโซเชียล

ย้ำแค้น พท.เช็คบิล'บูรณุปกรณ์'

ย้ำแค้น พท.เช็คบิล'บูรณุปกรณ์'

สองพ่อลูก สู้เพื่อศักดิ์ศรีตระกูล บูรณุปกรณ์

เพื่อไทยคึกคัก

หลัง พิชัย เลิศพงศ์อดิศร (ชื่อเดิม-ชูชัย) โค่นแชมป์เก่าได้เป็นนายก อบจ.เชียงใหม่ ทำให้พรรคเพื่อไทย มีความฮึกเหิมยิ่งในสนามเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ 

กลุ่มเพื่อไทยนครเชียงใหม่ เปิดตัว “เฮียหน้อย” ชาตรี เชื้อมโนชาญ ลงสมัครนายกเล็กเชียงใหม่ ด้วยความมั่นใจ เพราะเขาเดินหาเสียงคู่กับ “ทนายก้อง” พิชัย มาตั้งแต่ปี 2560 

“เฮียหน้อย” เริ่มเข้าสู่การทำงานการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2538 และเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ปี 2542 เป็นรองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ในสมัยของทัศนัย บูรณุปกรณ์ เป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ 

ศึกเจดีย์ขาว(เทศบาลนครเชียงใหม่) เป็นสนามเล็ก มีพื้นที่ 40 ตารางกิโลเมตร ต่างจากสนาม อบจ.เชียงใหม่ ที่กว้างใหญ่ไพศาล

ตระกูล “บูรณุปกรณ์” ย่อมได้เปรียบ “เฮียหน้อย” เพราะยึดครองทำเนียบเจดีย์ขาวมานาน แถมหนนี้ มีตัวแปร “คณะก้าวหน้า” มาชิงฐานเสียงคนรุ่นใหม่ ทำให้ค่ายเพื่อไทย ต้องทำงานหนักขึ้น

จะถึงขั้นขอเสียงจาก “คนแดนไกล” เหมือนตอนเลือกตั้ง อบจ.หรือไม่? น่าลุ้นมาก

ย้ำแค้น พท.เช็คบิล'บูรณุปกรณ์'

เฮียหน้อย มั่นใจสูง ชนะแน่ ย้ำแค้นตระกูล บูรณุปกรณ์

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ