คอลัมนิสต์

พิษโนอึล เขื่อนลาวระบายน้ำ หวั่นแตกซ้ำรอย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โนอึลมาแรง ฝนถล่มลาวใต้ เขื่อนเซกะหมาน 3 เร่งระบายน้ำ ชาวบ้านหวั่นเขื่อนแตกซ้ำรอยปี 2559

++
    ตั้งแต่เช้าวันที่ 18 ก.ค.2563 อิทธิพลพายุโนอึล ที่ขึ้นฝั่งตอนกลางของเวียดนาม ส่งผลให้มีฝนตกหนักทั่วภาคใต้ของ สปป.ลาว 
    สื่อโซเชียลลาวได้นำแพร่ภาพน้ำท่วมในตัวนครปากเซ แขวงจำปาสักและอีกหลายเมืองทางแขวงสาละวัน

ล่าสุด บริษัท ไฟฟ้าเซกะหมาน 3 จำกัด ออกหนังสือด่วนเรื่อง “เขื่อนไฟฟ้าเซกะหมาน 3” จะเพิ่มการระบายน้ำ ตั้งแต่เวลา 15.00 น. วันที่ 18 ก.ย.นี้ โดยเพิ่มจาก 30 ล้าน ลบ.ม. จนถึง 100 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เพื่อให้ประชาชนเตรียมรับมือภัยน้ำท่วม

                              พิษโนอึล เขื่อนลาวระบายน้ำ หวั่นแตกซ้ำรอย

                                      หนังสือแจ้งการระบายน้ำ


เขื่อนไฟฟ้าเซกะหมาน 3 ตั้งอยู่ที่บ้านดากยรัง เมืองดากจึง แขวงเซกอง ซึ่งเขื่อนแห่งนี้ลงมือก่อสร้างมาแต่ปี 2549 เป็นการร่วมทุนโดยรัฐบาลลาว กับรัฐวิสาหกิจเวียดนาม และเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อปี 2556 โดยมีสัญญาสัมปทาน 29 ปี 

บริษัท Song Da ของเวียดนาม เป็นผู้ก่อสร้างเขื่อนเซกะหมาน 3 มีกำลังผลิตไฟฟ้า 250 เมกะวัตต์ และไฟฟ้าที่ผลิตได้ 90% ส่งขายเวียดนามภาคใต้ 

                                  พิษโนอึล เขื่อนลาวระบายน้ำ หวั่นแตกซ้ำรอย

                               เขื่อนเซกะหมาน 3 (แฟ้มภาพ) 

ข่าวเซกะหมาน 3 เร่งระบายน้ำ ทำให้ชาวเมืองดากจึงขวัญผวา เนื่องจากเขื่อนแห่งนี้ เคยเกิดเหตุอุโมงค์ไฟฟ้าแตก ส่งผลให้มวลน้ำทะลักท่วมบ้านดากยรัง เมืองดากจึง แขวงเซกอง แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2559

    
                                     พิษโนอึล เขื่อนลาวระบายน้ำ หวั่นแตกซ้ำรอย

                                   อุโมงค์ไฟฟ้าของเขื่อนเซกะหมาน 3 ที่เคยแตก ปี 2559 
 

เหตุการณ์เขื่อนแตกครั้งนั้น ทางการลาวได้ปิดข่าว และไม่มีชาวบ้านลุกขึ้นมาร้องเรียนเรื่องความเสียหาย เนื่องจากประชากรชาวเมืองดากจึง เป็นชนกลุ่มน้อย ตั้งชุมชนกระจัดกระจายตามที่ราบสูง 
    

                                   พิษโนอึล เขื่อนลาวระบายน้ำ หวั่นแตกซ้ำรอย

                                 เขื่อนเซกะหมาน 3 (แฟ้มภาพ)

อนึ่ง เหตุการณ์เขื่อนแตกที่เมืองดากจึง แขวงเซกอง เกิดขึ้นก่อนกรณีคันดินของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย แตก มวลน้ำถล่ม 13 หมู่บ้าน เสียหายหนักกว่าเขื่อนเซกะหมาน 3

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ