คอลัมนิสต์

การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น? สมชัย ชี้ทหารควรส่งเสริมประชาธิปไตยไม่ใช่มาเป็นผู้เล่นเองและไม่เชื่อว่าจะไม่มีการยึดอำนาจอีกในวันข้างหน้า

          เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม มหาวิทยาลัยรังสิต จัดเสวนา “การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น?”

การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น?

         “สุรชาติ บำรุงสุข" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้ามองว่าการเปลี่ยนผ่านในประเทศไทยจะเสนอทฤษฎีว่าจะต้องมีการเปลี่ยนผ่านใน 2 จังหวะ คือ 1.การเปลี่ยนผ่านทำให้ตัวระบบเดิมลดความเข้มข้น ลดอำนาจนิยมลง 2.การเปลี่ยนผ่านการสร้างประชาธิปไตย ฉะนั้นการเปลี่ยนผ่าน 2 จังหวะ เราจะหวนกลับมาโจทย์เดิมคือคิดถึงเรื่องทหารอย่างไร วันนี้เวลาเราพูดถึงอำนาจนิยมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นระบอบไฮบริดที่เป็นตัวแทนอำนาจนิยมในศตวรรษที่ 21 ที่ระบอบไฮบริดนี้ยังต้องการกองทัพในการเมือง และไม่ต้องการกองทัพที่ออกจากการเมือง ดังนั้นเราจะคิดถึงโจทย์ชุดนี้ในประเทศไทยอย่างไร จึงขอเสนอ 3 ข้อ ต่อการปฏิรูปกองทัพ ว่าหากจะปฏิรูปกองทัพให้สำเร็จจะต้องปฏิรูปการเมืองให้ได้ก่อนรวมถึงต้องสร้างฐานประชาธิปไตยให้แข็งแรงและต้องสร้างทหารอาชีพไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

     มีคนบอกว่าสังคมล้าหลังทหารจึงก้าวหน้า ขอถามว่าหากทหารก้าวหน้า สังคมจะล้าหลังไหม การวิเคราะห์กองทัพนั้นต้องดูผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและเกี่ยวพันกับผลประโยชน์กับสื่อมวลชนด้วยหรือไม่ เพราะหลักของทหารนั้นคือเจ้านายเลี้ยงลูกน้อง ต้องหารายได้มาดูแลและใช้สื่อคุมประชาชนหรือไม่

           การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น?

     "สุจิต บุญบงการ” อธิการวิทยาลัยรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และโลกาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การพูดครั้งนี้เป็นทางวิชาการ ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง ตั้งแต่ที่มาในอดีตและในขณะนี้ และจะมีต่อไป การพูดครั้งนี้มาจากบันทึกที่เขียนไว้ในปี 2561 จากการประมวลข้อมูลที่หารือกับทหารนานพอควรพบว่า ทหารจำเป็นต้องทำเพราะการยึดอำนาจทุกครั้งมีเหตุผลต่างกรรมต่างวาระ

 

          "ช่วงหลังนั้นการยึดอำนาจไม่ใช่ของง่ายๆ เพราะทำแล้วจะเจอกระแสต้านและคนที่ดำเนินการไม่มีความสุข เพราะนายทหารชั้นสูงที่เกษียณอายุของไทยพบว่าก็มีสิ่งตอบแทนพอควร หลังเกษียณบางคนกล้าที่จะลงมือยึดอำนาจเพราะหลายคนไม่กล้า อุดมการณ์การยึดอำนาจและกบฏมีความแตกต่างในแต่ละครั้ง ในไทยนั้นพบว่าตั้งแต่ปี 2475 คณะราษฎรฝ่ายทหารที่เป็นคนหนุ่มที่เข้ามาอภิวัตน์การปกครองเพราะคนกลุ่มนี้ไปเรียนต่างประเทศและพบคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนที่ไปเรียนต่างประเทศเช่นกัน และรับแรงกระตุ้นนักศึกษาประเทศเมืองขึ้นของตะวันตกที่อยากมีเอกราช คณะราษฎรสายทหารก็อยากมีรัฐธรรมนูญแบบตะวันตก"

        การมีอำนาจและอยู่ต่อนั้น สมัยก่อนยึดอำนาจแล้วจะอยู่ไม่นานเพราะไม่รู้ว่าจะปกครองอย่างไร และที่เจอยกเว้นบางยุค แต่ยุคนี้มีกระแสว่า เมื่อยึดอำนาจแล้วควรบริหารต่อ เพราะผู้นำหลายชาติในย่านนี้บอกว่าต้องอยู่นานเพื่อบริหารประเทศ ดังนั้นวิธีการของทหารต้องปรับให้เข้ากับโลกาภิวัตน์

       เลือกตั้งครั้งนี้มีประชามติและบางคนอยากให้รัฐบาลที่แล้วอยู่ต่อในวันนี้แม้มีไม่ชอบก็ตาม แต่เมื่อประชามติแล้วก็มีการขอเสนอแก้รัฐธรรมนูญ นักวิชาการตะวันตกมองว่าหลายสิบปีที่แล้ว ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองในประเทศกำลังพัฒนาเพราะพลเรือนบริหารประเทศ อาจมีปัญหา ทหารก็เข้ามามีบทบาททางการเมืองและความมั่นคงด้วยในหลายประเทศ เช่น ทวีปอเมริกาใต้ เอเชีย แอฟริกา พบว่าสิ่งเร้าที่ทหารยึดอำนาจคืออุดมการณ์ชาตินิยม ต้องการให้ประเทศทันสมัยและชาติมั่นคง ผลประโยชน์ขององค์กรทหาร ผลประโยชน์ของผู้นำทหาร

        สำหรับการหวนกลับมาของกองทัพไม่อยากจะพูดว่าเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแดง หรือความขัดแย้งในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับกลุ่ม กกปส. ซึ่งการเข้ามาของกองทัพไม่ว่าในปี 2549 หรือปี 2557 การคัดค้านมีน้อย เมื่อเทียบกับกระแสประชาธิปไตยที่พัดมากว่า 20 ปี แต่ทำไมจึงไม่พัดรุนแรงจนสามารถทำให้ทหารหยุดการเข้ามามีบทบาททางการเมือง

       มองว่าเป็นเพราะวัฒนธรรมการเมืองของคนไทยส่วนใหญ่ยังมีฐานบนวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีรากฐานบนความเป็นอนุรักษ์นิยม ชาตินิยม และปฏิบัตินิยม โดยคนไทยมีความเป็นปฏิบัตินิยมสูง เชื่อในประชาธิปไตยถ้าเวิร์ก หรือถ้าไม่เวิร์กยินดีหาระบอบอย่างอื่นที่ดีกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป การยอมรับมีการใช้อำนาจทหารคล้ายกับเข้ามาได้ แก้ปัญหาให้พวกเรา

        ถามว่าคนเหล่านั้นเป็นประชาธิปไตยไหม คำตอบคือเป็น แต่เป็นแบบปฏิบัตินิยม คือถ้าเวิร์กและใช้ได้ก็เอาด้วย ถ้าประชาธิปไตยไม่ดีก็จะไปหาแนวทางอื่น อย่างไรก็ตามคนที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ก็มี แต่ไม่มากพอจะเป็นตัวเคลื่อนไหวหลักทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอแต่จะเคลื่อนไหวเฉพาะครั้งคราวเท่านั้น

       นอกจากนี้การยึดอำนาจของกองทัพก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน แม้จะมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีรากฐานบนอนุรักษนิยม ชาตินิยม และปฏิบัตินิยมอยู่ แต่การยึดอำนาจอาจจะไม่ชอบธรรมเสมอ เช่น ประชาชนอาจมองว่าการยึดอำนาจในปี 2557 ชอบธรรมกว่าปี 2549 เนื่องจากปี 2557 มีความชัดเจน มีเหตุการณ์ความรุนแรงไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นจากผลกระทบทางการเมืองแต่ขัดแย้งสูงของฝ่ายขวาจัด/ฝ่ายซ้ายจัด จนเกิดเหตุปะทะของสองฝ่าย

      “การที่กองทัพเข้ามาจะชอบธรรมหรือไม่ต้องดูที่ว่าพอยึดอำนาจแล้วจะทำอะไร เช่น รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ก็บอกว่าจะมาเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตย และ พล.อ.ประยุทธ์ พูดชัดเจนว่าจะมาปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีโครงการมากมาย ผมพูดมานานแล้วว่าในการสร้างประชาธิปไตยที่มั่นคงต้องมีความสมดุลระหว่างเสรีภาพและเสถียรภาพ และต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยความสมดุลระหว่างสองสิ่งนี้ไม่มีสูตรตายตัว หาทางออกไม่ได้ต้องขึ้นอยู่ว่าจะสร้างแบบใด ผู้ที่สร้างเป็นใครทหารก็บอกว่าเป็นคนของรัฐ เป็นองค์กรของรัฐ พวกเขายังคิดว่าน่าจะมีบทบาทในการสร้างความสมดุลในกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ”

           การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น?

     “ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์" นักวิชาการรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า นิยามประชาธิปไตยของทหารกับนิยามประชาธิปไตยของประชาชน นิยามนี้ตรงกันไหม ตอบว่าแตกต่างกัน นิยามการเลือกตั้งของทหารคือมีการเลือกตั้งและมีตัวแทนประชาชนแล้วทุกอย่างควรมีระเบียบ การพัฒนาประชาธิปไตยนั้น หากจะเปลี่ยนผ่านจากอำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยจะเน้นเลือกตั้งแต่ไม่สนใจเสรีภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนแม้วันนี้นักวิชาการบางคนมองว่าเป็นประชาธิปไตยแต่มองว่าเป็นเผด็จการรูปแบบหนึ่งทฤษฎีต่างประเทศระบุว่าผู้นำใช้กองทัพเป็นเครื่องมือ และกองทัพก็ใช้ผู้นำเป็นเครื่องมือ มันเกิดขึ้นเหมือนกันทั้งโลก   

     การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น?

      “กษิต ภิรมย์" อดีตนักการทูตและอดีต รมว.ต่างประเทศ ระบุว่า เดือนพฤษภาคม 2557 นายพลคนหนึ่งบอกว่าไม่ประสงค์ยึดอำนาจหากปฏิวัติก็เป็นครั้งสุดท้าย และรัฐธรรมนูญ 2560 เขียนให้กองทัพอยู่ในการเมืองนับเป็นปรัชญาอันคม เป็นเสถียรภาพและตีกรอบ ฝ่ายชนชั้นนำและกลางยินดีให้กองทัพอยู่ในการเมือง แต่ฝ่ายหัวก้าวหน้าจะอยู่ตรงไหน คำถามคือตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ประชาธิปไตยของเราจะยังอยู่กับที่หรือจะถอยหลัง เพื่อเสถียรภาพทางการเมืองที่กองทัพใช้ยันฝ่ายการเมืองไม่ให้เกิดการทุจริตแบบนี้หรือ

          การเมืองกับทหารไทย เหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็น?

      “เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง" อดีต ส.ว.กทม.และสื่อมวลชนอิสระ กล่าวว่า หากถามว่าประชาธิปไตยไทยที่ใช้หลักปฏิบัตินิยมคืออะไร คำตอบคือสิ่งที่ได้ประโยชน์เฉพาะหน้าไม่ว่าเป็นระบอบใดก็เอานั้น การเมืองไทยก็เป็นแบบนี้ ตอนนี้ทหารอยู่ในส.ว. คือพรรคทหารที่ซ่อนไว้ สังคมบางฝ่ายชอบ บางฝ่ายไม่ชอบ แต่แบบนี้ยั่งยืนหรือไม่ เพราะจะโดนวิจารณ์ในอนาคต

      “หากมีข่าวยึดอำนาจในสหรัฐคงไม่มีใครเชื่อ แต่หากมีการยึดอำนาจซ้อนในไทย คนจะเชื่อมากกว่า นักวิชาการอธิบายเรื่องนี้ได้ไหม"

      “สมชัย ศรีสุทธิยากร" อดีตกกต.กล่าวว่า มองว่าเจตนาทางการเมืองและความมั่นคงของทหารตอนนี้ค่อนไปในทางที่ดี แม้บางเรื่องมีคำถามว่าทหารต้องการอำนาจหรือไม่ ส่วนวิธีการนั้น วิธีการที่ทหารใช้วันนี้ไม่ดีนัก ทหารควรส่งเสริมประชาธิปไตยไม่ใช่มาเป็นผู้เล่นเองและไม่เชื่อว่าจะไม่มีการยึดอำนาจอีกในวันข้างหน้า แม้เจตนาของทหารนั้นดี แต่ทหารควรทบทวนวิธีการส่งเสริมประชาธิปไตย หากประสงค์ทำงานการเมืองควรถอดเครื่องแบบก่อน

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ