คอลัมนิสต์

เยียวยาให้ยั่งยืน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562

 

 

          มีรายงานข่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้คิกออฟการจ่ายเงินค่าบทบรรณาธิการ  หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันให้แก่ชาวนาสำหรับงวดแรกตามนโยบายรัฐบาลไปเรียบร้อยแล้ว โดยจ่ายให้แก่ผู้ปลูกข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 2,469.64 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 783.45 บาท ส่วนข้าวที่ราคาสูงกว่าราคาประกันไม่ได้จ่าย ทั้งนี้ราคาอ้างอิงที่กำหนดโดยคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวคือ ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 7,530.369 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,216.55 บาท

 

 

          นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังเห็นชอบแผนฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งฝนทิ้งช่วงและน้ำท่วมปี 2562 ก่อนนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในวงเงิน 3,120 ล้านบาท โครงการนี้ประกอบด้วย การส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวนาปี 2563/64 การพัฒนาเสริมอาชีพด้านการประมง สร้างรายได้อาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก สำหรับนโยบายทั้งสองเรื่องดังกล่าวมานั้น ถือว่าสอดรับกับสภาพปัญหาของเกษตรกรพอสมควร โดยเฉพาะควรรองรับสำหรับฤดูกาลผลิตต่อไปด้วย ซึ่งคาดหมายว่า ชาวนาและเกษตรกรอื่นจะต้องประสบภัยแล้งในเวลาอันใกล้นี้


          อุตุนิยมวิทยาคาดหมายว่า อีกไม่กี่วันข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูหนาว นั่นก็หมายความว่า การสิ้นสุดลงของหน้าฝนก็สิ้นสุดความคาดหวังว่าจะมีพายุมาเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ยังมีน้ำในอ่างน้อยถึงขั้นวิกฤติ ที่สำคัญก็คือ การทำนาในพื้นที่นี้ล้วนอยู่ในเขตชลประทานซึ่งต้องอาศัยการจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึงเป็นธรรม แต่ที่ผ่านมานั้นมักพบว่า ทุกๆ หน้าแล้ง จะมีประกาศให้ชาวนาในเขตชลประทานงดทำนาปรัง ฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงนี่ก็เช่นกัน เชื่อว่าเกษตรกรจะต้องแย่งชิงน้ำกันอย่างดุเดือดค่อนข้างแน่ การประกันรายได้ และมาตรการเยียวยาจะสามารถครอบคลุมโอบอุ้มผู้เพาะปลูกได้สมน้ำสมเนื้อหรือไม่ก็ต้องรอลุ้นกันไปตลอด 8 เดือนที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ

 



          ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรส่วนไหน หรือชาวบ้านทั่วไป ในยามนี้สิ่งที่พวกเขากำลังรอคอยก็คือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้พวกเขามีรายได้เพียงพอกับการจับจ่ายใช้สอย ไม่ปล่อยให้หนี้ครัวเรือนที่ไม่ใช่หนี้คุณภาพหรือการกู้มาเพื่อบริโภคเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ลำพังการกระตุ้นการจับจ่ายด้วยโครงการประชานิยม 300,000 ล้านบาทนั้น ก็คงไม่ได้ยั่งยืนอะไร เมื่อหมดเงินก็จบกันไป และไม่แน่ว่า ประโยชน์จะตกกับคนฐานรากสักเท่าไร แต่สิ่งน่าจะเป็นน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรด้านการเกษตรได้ก็คือ ยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะภัยธรรมชาติ ซึ่งต้องขึ้นกับการบริหารจัดการอย่างดีเยี่ยม ประสานสอดคล้องกับมาตรการเยียวยา การประกันราคา ซึ่งถือว่าน่าจะเป็นเม็ดเงินที่ตกถึงมือประชาชนได้ทั่วถึงกว่ามาตรการระยะสั้น แต่ถึงกระนั้น การจัดการที่ดีก็ควรทำให้อาชีพคนฐานรากมั่นคงยั่งยืน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-หลังน้ำลดปีนี้ขอให้มีข้าวกินเสียงสะท้อนชาวนาลุ่มน้ำชี
-ชาวนาอีสานขานรับนโยบายประกันรายได้
-ชาวนาสุโขทัย เฮ ได้ที่ดินบรรพบุรุษคืน
-กดปุ่มจ่ายเงินชาวนาผู้ปลูกข้าวรับเงินส่วนต่างลอตแรก 15 ต.ค.

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ