ข่าว

อุทาหรณ์ "ฟ้าทะลายโจร" หนุ่มเล่าเจอผลข้างเคียงหวิดตับวาย อย.ย้ำ ต้อง "G"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อุทาหรณ์ "ฟ้าทะลายโจร" หนุ่มโพสต์เตือนอุทาหรณ์ หลังกิน "ฟ้าทะลายโจร" ปรากฏว่าเจอผลข้างเคียงจนต้องเข้าโรงพยาบาลหมดเงินรักษาเกือบหลักแสนบาท

หนุ่มโพสต์เตือนอุทาหรณ์ หลังกิน "ฟ้าทะลายโจร" ปรากฏว่าเจอผลข้างเคียงจนต้องเข้าโรงพยาบาลหมดเงินรักษาเกือบหลักแสนบาท แนะผู้ใดที่ยังไม่ป่วยอย่าเพิ่งกินเข้าไป 

 

 

เฟซบุ๊ก Nantapong Panmas - นันทพงศ์ ปานมาศ ได้โพสต์เล่าประสบการณ์ที่เจอกับตัวเองเกี่ยวกับ "ฟ้าทะลายโจร" โดยเจ้าตัวเล่าว่า หมดเงินไปเกือบแสนบาทกับการรักษาตัวจากผลข้างเคียงของฟ้าทะลายโจร

 

ซึ่งตนเองโชคดีมากๆ ที่รอดจากภาวะตับวายมาได้ และทุกวันนี้ยังไม่หายดี​จากภาวะค่าตับสูง แม้อาการล่าสุดในช่วงนี้จะดีขึ้นมากแล้วแต่ค่าตับก็ยังไม่ปกติ เตือน "ฟ้าทะลายโจร" ท่านใดที่ไม่ป่วยอะไร อย่ากินเข้าไปเยอะ ทุกอย่างมี 2 ด้าน ฟังข้อมูลรอบด้านกินแต่พอดีและปรึกษาแพทย์อย่างรอบด้านในทุกๆมุม ยามีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีก็มากแต่ข้อเสียก็มี

 

อุทาหรณ์ \"ฟ้าทะลายโจร\" หนุ่มเล่าเจอผลข้างเคียงหวิดตับวาย อย.ย้ำ ต้อง \"G\"

 

ทั้งนี้ จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (27 ก.ค.2564) มีการเห็นชอบหลักการส่งเสริมการใช้ "ฟ้าทะลายโจร" ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่มีอาการเพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาและลดภาระระบบสาธารณสุขตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

 

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้กำชับถึงการส่งเสริมใช้ฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่มีอาการ จะต้องชี้แจงแนวทางให้ชัดเจน เช่น แนวทางการรักษา ปริมาณยาที่เหมาะสมต่ออาการของผู้ป่วย ข้อควรระวัง อาการข้างเคียง แนวทางการผลิตและจัดจำหน่าย เป็นต้น

 

ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าปริมาณฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสม จะต้องมีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ที่ผู้ป่วยควรได้รับปริมาณ 180 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็น 60 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร จึงจะได้ผลชัดเจน

 

 

ด้าน อย. ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟ้าทะลายโจร ในช่วงที่มีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจซื้อมาตุนเก็บไว้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ขาดตลาดอย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสนำผลิตภัณฑ์ปลอมหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานมาจำหน่าย

 

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉลากต้องมีเลขทะเบียนตำรับสมุนไพร ขึ้นต้นด้วยอักษร "G" แนะนำว่า ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ ขอให้ตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ปลอม 

 

โดยสามารถตรวจสอบได้ ที่ระบบตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์ www.fda.moph.go.thหรือ Oryor Smart Application และหากพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะผิดกฎหมาย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรืออีเมล์ [email protected]

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ