เกาะติดวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ระลอกใหม่ (เมษายน 2564) ในประเทศ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานพบผู้ป่วยใหม่พุ่งสูงทำนิวไฮท์รายวันเกือบหมื่นคน ผู้เสียชีวิตขยับใกล้หลักร้อยไปทุกที ขณะที่สถานการณ์เตียงผู้ป่วยสุดวิกฤติมีผู้ป่วยรอเตียงจำนวนมาก จนเกิดปรากฏการณ์ความเชื่อในโลกออนไลน์ ประชาชนจำนวนหนึ่งแห่ไปใช้สมุนไพรกับผู้ป่วยติดเชื้อรอเตียงพยุงอาการไม่ให้ทรุดป้องกันเชื้อลงปอด โดยแชร์ต่อกันไปเป็นจำนวนมาก
ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์รูปพร้อมบอกเล่าประสบการณ์การใช้สมุนไพรดังกล่าวว่า วันนี้ วันที่ 7 ล่ะ ที่ได้รู้ข่าวมาว่าสามีติดเชื้อ ขอบอกว่าสามีดีขึ้นตามลำดับนะค่ะ และขอแชร์วิธีการดูแลคนติดเชื้อ แนะนำ เพื่อไม่ให้เชื้อลงปอด คนไหนอ่านจนจบมีประโยชน์แน่นอน บอกอีกอย่างได้ผลค่ะ มากน้อยก็คือได้ผล
ทั้งนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าวยังได้บอก วิธีทำ โดยใช้ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ลูกมะกรูด กระชาย หอมแดง เป็นส่วนประกอบ โดยเจ้าตัวยืนยันว่าทำให้เชื้อไม่ลงปอด ไม่อยากใช้คำว่าเชื้อมันตายแต่มันอ่อนแอ "อย่ามัวรอหาเตียงโดยที่เราไม่ดิ้นรนนะค่ะ เราต้องดิ้นรนไม่นอนรอ รอ รอ รอ ทุก ๆ ๆ อย่างที่ยังไม่สามารถมาถึงเราได้ในตอนนี้"
1.5 พันไลก์ 289 ความคิดเห็น 5.6 พันแชร์ หลังเผยแพร่มาตั้งแต่เมื่อวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.41 น. ด้านคอมเมนต์ชาวเน็ตมีทั้ง ขอบคุณ ขอแชร์ ขอให้หายไว ๆ และ ข่าวปลอมอย่าแชร์
เมื่อตรวจสอบไปที่ Anti-Fake News Center Thailand พบว่ามีการแจ้งเตือน ข่าวปลอม อย่าแชร์ ต้มน้ำสมุนไพร และใช้ผ้าคลุมศีรษะเพื่อสูดไอน้ำ ช่วยฆ่าเชื้อ โควิด-19 ซึ่งปรากฏวัตถุดิบ ส่วนประกอบที่ใช้ และวิธีการไม่ให้เชื้อลงปอด เกือบเหมือนตามที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์
ตามที่ได้มีคำแนะนำในประเด็นเรื่อง ต้มน้ำ "สมุนไพร" และใช้ผ้าคลุมศีรษะเพื่อสูดไอน้ำ ช่วยฆ่าเชื้อ โควิด-19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการส่งต่อข้อมูลแนะนำ ที่ระบุถึงการฆ่าเชื้อ โควิด-19 ด้วยวิธีการใช้หม้อดินหรือหม้อหุงข้าวไฟฟ้าขนาดเล็กต้มน้ำสมุนไพร และใช้ผ้าคลุมศีรษะเพื่อสูดไอน้ำดังกล่าวนั้น ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ชี้แจงว่า วิธีดังกล่าว คือ การสูดไอน้ำร้อน ซึ่งยังไม่พบหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าการดูแลสุขภาพตามคำแนะนำข้างต้นสามารถฆ่าเชื้อ โควิด-19 ได้ อีกทั้งวิธีการสูดไอน้ำร้อนอาจเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โควิด-19 จากการแพร่กระจายของไอความร้อนได้
ขณะเดียวกันจากประกาศกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เรื่อง แนวทางการให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เพื่อป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้ขอให้งดกิจกรรมการให้บริการอบไอน้ำสมุนไพร หรือกิจกรรมอื่นที่คล้ายกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการกระจายเชื้อโรคในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว
ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ หรือ โทร. 02 5917007
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่พบหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าการสูดไอน้ำสมุนไพร สามารถฆ่าเชื้อ โควิด-19 ได้ อีกทั้งวิธีการสูดไอน้ำร้อนอาจเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โควิด-19 จากการแพร่กระจายของไอความร้อนได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ประกันสังคม" www.so.go.th เปิดลงทะเบียน เยียวยาโควิด มาตรา 33 เช็กที่นี่
- เคาะแล้ว "Pfizer" 1.5 ล้าน "AstraZenaca" 1.05 ล้าน บูสเตอร์ โดส ใครได้บ้าง
- สาปแช่ง "วัคซีน" 2 เข็ม RIP "โดนัท" พยาบาลด่านหน้า ติดเชื้อแค่ 7 วัน เสียชีวิต
- รายแรก "Sinovac" 2 เข็ม พยาบาล "อ้วน" ติดเชื้อโควิดดับ ไม่ทัน "บูสเตอร์ โดส"
- "Moderna" เช็กล่าสุดที่นี่ "จองวัคซีนทางเลือก" โมเดอร์นา ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์
- "เช็กจุดตรวจโควิดฟรี" ในพื้นที่ กทม. วันนี้ - 31 ก.ค. อัปเดต ครบจบที่นี่
- ไฟเซอร์ "Pfizer" กระตุ้นเข็มสาม "หมอนิธิ" ค้านตรงๆ บุคลากรด่านหน้าเห็นแก่ตัว
- 'หมอธีระ' หวั่น "โควิด-19" ระลอกนี้ "ล็อกดาวน์" ระยะสั้นอาจไม่ได้ผล อนาคตอาจปิด รพ.
- "ศิริราช" เปิดลงทะเบียนจองคิวนัด "ฉีดวัคซีน" โควิด-19 "แอสตร้าเซนเนก้า" เพิ่มเติม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง