ข่าว

รู้จัก "ยุง" มัจจุราช รั้งอันดับ 1 ใน 15 คร่าชีวิตมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอันตรายที่สุดในโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คนส่วนใหญ่กลัวจระเข้ , ฉลาม ซึ่งไม่ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมากอย่างที่คิด กลับกลายเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก "ยุง" ที่พบเห็นได้ทั่วไปแทบทุกแห่ง รั้งตำแหน่งมัจจุราชอันดับ 1

จากสถิติของปี 2560 เผยให้เห็น สิ่งมีชีวิตที่อันตรายที่สุดในโลก "ยุง" สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก แต่น่ากลัวยิ่งกว่าฉลาม เพียงหนึ่งปีสามารถ คร่าชีวิต คนไปถึง 725,000 คน ขณะที่ จระเข้คร่าชีวิตคนไป 1,000 คน ส่วนฉลามนั้นคร่าชีวิตคนไปเพียง 10 คน ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่คนส่วนใหญ่กลัว เช่น จระเข้ ฉลาม ไม่ได้ฆ่าคนไปมากอย่างที่คิด กลับกลายเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบเห็นได้ทั่วไปแทบทุกแห่ง สามารถทำให้คนตายได้ปีละหลายแสนคน เมื่อฆาตกรอยู่ใกล้ตัวเราขนาดนี้ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีป้องกันและเตรียมตัวรับมือฆาตกรจิ๋วเหล่านี้

ยุง, คร่าชีวิต, ยุงลายบ้าน, ยุงลายเสือ, ยุงก้นปล่อง, ยุงรำคาญ, ยุงลายสวน

ภาพ : สถิติปี พ.ศ. 2560 แสดงจำนวนการเสียชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากสัตว์ชนิดต่างๆ ในระยะเวลาหนึ่งปี

1. ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)

- ยุงลายบ้าน ขนาดค่อนข้างเล็ก บินได้ว่องไว หนวดมีลายสีขาวรูปเคียว 2 อันอยู่ด้านข้าง มีขาลายชัดเจน พบบ่อยในเขตเมือง

- พาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก และเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสซิก้า , ไวรัสเดงกี่ , ไวรัสชิคุนกุนยา และ ไวรัสไข้เหลือง ในบางพื้นที่ของโลก

- เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขังทั้งในและนอกบ้าน ชอบกินเลือดคนมากกว่าเลือดสัตว์ มักหากินเวลากลางวัน ช่วงสายและบ่าย ชอบเข้ากัดคนทางด้านมืดหรือที่มีเงา โดยเฉพาะบริเวณขาและแขน ขณะที่กัดมักไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ คนถูกกัดจึงไม่รู้สึกตัว มักเกาะพักตามมุมมืดในห้อง โอ่ง ไห หรือตามพุ่มไม้ที่เย็นชื้น

ยุง, คร่าชีวิต, ยุงลายบ้าน, ยุงลายเสือ, ยุงก้นปล่อง, ยุงรำคาญ, ยุงลายสวน

ที่มาภาพ : ยุงลายบ้าน

 

2. ยุงลายสวน (Aedes albopictus)

- มีลวดลายที่หนวด แตกต่างจาก ยุงลายบ้าน คือ มีแถบยาวสีขาวพาดผ่านตรงกลางหัว ยาวไปตามความยาวของลำตัว พบได้ทั่วไปในเขตชานเมือง ชนบท และในป่า

- พาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออกเช่นกัน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทำการตั้งข้อสงสัยว่าสายพันธุ์ ยุงลายสวน ก็อาจจะส่งผ่านไวรัสได้เช่นเดียวกับ ยุงลายบ้าน

- เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง กระบอกไม้ โพรงไม้ กะลามะพร้าว ใบไม้ ฯลฯ มีอุปนิสัยคล้ายๆ กับ ยุงลายบ้าน แต่มีความว่องไวน้อยกว่า

ยุง, คร่าชีวิต, ยุงลายบ้าน, ยุงลายเสือ, ยุงก้นปล่อง, ยุงรำคาญ, ยุงลายสวน

ที่มาภาพ : ยุงลายสวน

 

3. ยุงรำคาญ (Culex)

- สีน้ำตาลอ่อน พบบ่อยในเขตเมือง เพาะพันธุ์ในน้ำเสีย ตามร่องระบายน้ำ คู และหลุมบ่อต่างๆ ส่วน ยุงรำคาญ ที่พบบ่อยในชนบท ได้แก่ ยุงชนิด Cx tritaeniorhynchus และชนิด Cx vishnu เนื่องจากมีท้องนาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หลัก โดยเฉพาะช่วงที่ไถนา และบริเวณหญ้าแฉะรกร้าง จะชุกชุมมากในฤดูฝน ยุงชนิดนี้ชอบกัดและดูดเลือดสัตว์มากกว่าคน

- พาหะที่สำคัญของไวรัสไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง

- นอกจากนี้ ยังมียุงชนิด Armigeres เป็นยุงก่อความรำคาญเช่นกัน มักกัดในเวลาพลบค่ำ มีขนาดใหญ่ บินช้าๆ และกัดเจ็บ

ยุง, คร่าชีวิต, ยุงลายบ้าน, ยุงลายเสือ, ยุงก้นปล่อง, ยุงรำคาญ, ยุงลายสวน

ที่มาภาพ : ยุงรำคาญ

 

4. ยุงก้นปล่อง (Anopheles)

- ประเทศไทยเท่าที่พบปัจจุบันมี ยุงก้นปล่อง อย่างน้อย 73 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิด เป็นพาหะสำคัญนำโรคมาลาเรีย

- การสังเกตยุงชนิดนี้ทำได้ง่าย คือ เวลามันเกาะพัก จะยกก้นชี้ขึ้นเป็นปล่องสูงจากพื้น ออกหากินเลือดในเวลากลางคืน พบได้บ่อยบริเวณป่าเขา เชิงเขา ป่าไร่ทั่วไป

- แหล่งเพาะพันธุ์ ได้แก่ ลำธารหรือลำห้วยที่น้ำไหลช้าๆ แหล่งน้ำซึม จะชุกชุมมากช่วงต้นฤดูฝน ในระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม และปลายฤดูฝนเดือนกันยายน - พฤศจิกายน

ยุง, คร่าชีวิต, ยุงลายบ้าน, ยุงลายเสือ, ยุงก้นปล่อง, ยุงรำคาญ, ยุงลายสวน

ที่มาภาพ : ยุงก้นปล่อง

 

5. ยุงเสือ หรือ ยุงลายเสือ (Mansonia)

- ยุงลายเสือ ลำตัวและขามีลวดลายค่อนข้างสวยงาม บางชนิดมีสีเหลืองขาวสลับดำ คล้ายลายของเสือโคร่ง บางชนิดมีลายออกเขียวคล้ายตุ๊กแก เส้นปีกจะมีเกล็ดใหญ่สีอ่อนสลับเข้ม ลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดเช่นกัน ทำให้ดูคล้ายมีฝุ่นผงเกาะติดทั่วตัว ขาลายเป็นปล้องๆ

- พาหะของโรคเท้าช้าง

- เพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ ที่มีพืชน้ำพวกจอกและผักตบชวา มักจะกินเลือดสัตว์มากกว่าคน ชุกชุมเวลาพลบค่ำหลังพระอาทิตย์ตกดิน พบมากในภาคใต้ของประเทศไทย บางชนิดพบมากบริเวณชายแดนไทย - เมียนมา

ยุง, คร่าชีวิต, ยุงลายบ้าน, ยุงลายเสือ, ยุงก้นปล่อง, ยุงรำคาญ, ยุงลายสวน

ที่มาภาพ : ยุงลายเสือ

อย่างไรก็ดี การป้องกันอันตรายจาก "ยุง" เหล่านี้ สามารถทำได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงไปในแหล่งที่ยุงชุกชุม ถ้าจำเป็นต้องไปบริเวณนั้น ก็ต้องสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายาหรือฉีดสเปรย์กันยุงเสมอ ส่วนรอบๆ บ้านเรือนที่พักอาศัยต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง คว่ำภาชนะทุกอย่างที่มีน้ำขัง และอาจนอนในมุ้ง เป็นต้น

อ่านต่อ : หน้าฝนควรรู้ ตะขาบ กัดรับมือปฐมพยาบาลอย่างไร แพ้พิษเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ข้อมูล : นิตยสาร สสวท. , คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , statista.com

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ